ENERGY SAVING l การสร้างกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (ชุมชนย่าโม่คี อุ้งผาง จ.ตาก)

ENERGY SAVING l การสร้างกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (ชุมชนย่าโม่คี อุ้งผาง จ.ตาก)
.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรชัย โรยนรินทร์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี และประธานที่ปรึกษาสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ทางสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย
.
ในโซนภาคเหนือ (โดยทางศูนย์วิจัยและบริการด้านพลังงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) นำเทคโนโลยีกังหันน้ำผลิตกระแสไฟฟ้า จากอดีต จะเป็นการนำน้ำไปเก็บกักในเขื่อน จากนั้นจึงปล่อยน้ำออกมาแล้วให้กังหันทำงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยรูปแบบนี้เป็นการผลิตไฟฟ้าเชิงสะอาด ปัจจุบัน พบว่า ชุมชนต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย 7,000 ตำบล 70,000 กว่าหมู่บ้าน แนวคิดของคณะทำงานเล็งเห็นถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในการทำงานจะต้องไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของท้องถิ่น จึงได้ออกแบบการสร้างเขื่อนในแม่น้ำลำคลอง แต่จะเป็นการสร้างในลักษณะฝายขนาดเล็ก โดยให้มีความเหมาะสมต่อบริบทของชุมชนซึ่งห่างไกลจากเดินสายไฟฟ้าเข้าไปในพื้นที่ ดังนั้น ทางสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย จึงได้ประชุมหารือกับเครือข่ายต่างๆ พิจารณากลุ่มเป้าหมายในชุมชนที่ห่างไกลจากกระแสไฟฟ้าหลัก ทั้งนี้ จึงมีการออกแบบกังหันน้ำให้เหมาะสมต่อแม่น้ำลำคลอง (กังหันน้ำ ชนิด low head mini flow turbine)
.
ผลจากการพิจารณาคัดเลือก ปรากฎว่า ได้คัดเลือก “ชุมชนย่าโม่คี ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก” โดยชุมชนนี้ มีประชาชนประมาณ 15-20 ครัวเรือน ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ไม่สูงมากนัก ในรูปแบบนี้จะมีความเหมาะสมกับพื้นที่กว่าการนำกังหันลมไปติดตั้ง เนื่องจากในพื้นที่สูง ในพื้นที่หุบเขา การผลิตกระแสไฟฟ้าจากลมจะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
.
การติดตั้งกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก วิศวกรจากทางสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชมชนแห่งประเทศไทย และสนับสนุนงบประมาณจากทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พร้อมกับความร่วมมือของเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ ประชาชนในพื้นที่ อำนวยความสะดวกและร่วมติดตั้งอุปกรณ์ จากการดำเนินการเข้าพื้นที่เลือกจุดติดตั้งใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากลักษณะของพื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวน จึงทำการเปลี่ยนจุดที่ 3 โดยพื้นที่ดังกล่าวนี้เป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ และมีความสอดคล้อง สะดวกต่อการใช้งานของชุมชนก็มีความต้องการไฟฟ้าเพื่อเป็นไฟของหมู่บ้าน เฉพาะจุดของส่วนกลางสำหรับสถานีสื่อสาร การใช้งานเพื่อเสียงตามสาย ณ​ ศาลาหมู่บ้าน ทั้งนี้ ได้ดำเนินการติดตั้งเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย อย่างไรก็ตาม ในอนาคตทุกๆ ชุมชนที่มีแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใกล้เคียงกับ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ก็สามารถพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคต
.
ดำเนินรายการโดย ปิยะพงษ์ เคนทวาย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรชัย โรยนรินทร์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและประธานที่ปรึกษาสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย
.
(ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2563)
ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM 89.5 Mhz