CinemaCafe l Invisible Guest (ผู้กำกับ Oriol Paulo, 2017) และ Olympia (dir. Leni Riefenstahl, 1938)

#CinemaCafe l Invisible Guest (ผู้กำกับ Oriol Paulo, 2017) และ Olympia (dir. Leni Riefenstahl, 1938)
.
Invisible Guest (ผู้กำกับ Oriol Paulo, 2017) ภาพยนตร์เชื้อสายสเปนที่เล่าเรื่องลึกลับชวนติดตามของนักธุรกิจหนุ่ม Adrian Doria (รับบทโดย Mario Casas) ผู้ประสบความสำเร็จและมีความเพียบพร้อมไปทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงาน การเงิน ครอบครว หรือชื่อเสียงในสังคม แต่กลับโดนจับด้วยข้อหาฆาตกรรมสาวชู้รัก Laura Vidal (รับบทโดย Barbara Lennie) ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยังมีเหตุการณ์อันน่าพิศวงอีกมากมายที่เกิดขึ้นกับคู่รักนี้ การสืบสวนคดีจึงเกิดขึ้น สรุปแล้วการเสียชีวิตของสาวผู้เป็นชู้นี้จะนำไปสู่การฆาตกรรมและการสืบหาความจริงได้หรือไม่ การทำงานของตำรวจจะได้ผลและสามารถตามจับตัวผู้กระทำผิดได้หรือไม่ ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอการหักมุมที่ชวนติดตามเพราะทำให้คนดูคาดไม่ถึง
.
Olympia (dir. Leni Riefenstahl, 1938) หลังจาก Leni Riefenstahl ผู้กำกับหญิงชาวเยอรมันประสบความสำเร็จจากการกำกับภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อพรรคนาซีเรื่อง Triumph of the Will (1935) เธอก็ได้รับการติดต่อจากรัฐบาลเพื่อบันทึกงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิก โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ Leni ได้รับการสนับสนุนทีมงานเป็นจำนวนมากเพื่อบันทึกเหตุการณ์อย่างละเอียด และเธอขอใช้เวลาถึง 2 ปีเพื่อตัดต่อ โดยจุดมุ่งหมายของการสร้าง Olympia เพื่อเป็นการประกาศว่า เยอรมันภายใต้การปกครองของพรรคนาซีเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกและเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับพรรคนาซี Leni บันทึกการปรากฏตัวของ Hitler กับนายทหาร ในการเข้าชมพิธีเปิดในช่วงเวลาไม่มาก ภาพยนตร์ให้ความสำคัญกับมิตรภาพของนักกีฬา ความสวยงามของร่างกายที่สมบูรณ์แบบ และการแข่งขันกีฬา (Thomson and Bordwell, 1994 : 310) Olympia เป็นภาพยนตร์สารคดีโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) พรรคนาซีในรูปแบบการบันทึกงานมหกรรมกีฬา Berlin Summer Olympics ครั้งที่ 11 วันที่1-16 สิงหาคม 1936 ภาพยนตร์แบ่งเป็น 2 ภาค ภาคที่ 1 Festival of the Nation (126 นาที)ภาคที่ 2 Festival of Beauty (100 นาที) นับเป็นครั้งแรกที่มหกรรมกีฬาโอลิมปิกได้รับการบันทึกในรูปแบบภาพยนตร์ Olympia ได้ฉายรอบปฐมทัศน์ในงานวันเกิดครบ 49 ปี ของ Adolf Hitler ในวันที่ 20 เมษายน 1938 (http://www.silviamusa.it/kfc…/olympia-film-1936-74eaaa) หากเปรียบเทียบ Olympia กับ Triumph of the Will ทั้งสองเรื่องล้วนทำหน้าที่โฆษณาชวนเชื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของ เยอรมันภาพใต้การปกครองของ Hitler โดย Triumph of the Will จะนำเสนออย่างตรงไปตรงมา ให้ Hitler เป็นศูนย์กลางของเรื่อง และความยิ่งใหญ่ของกองทัพ แต่เรื่อง Olympia มีวิธีการนำเสนอในอีกรูปแบบที่ สะท้อนความยิ่งใหญ่และมีอารยะของเยอรมัน โดยภาพยนตร์ให้ความสำคัญกับความสมบูรณ์ของมนุษย์และมิตรภาพ โดยไม่เน้นไปที่นักกีฬาเยอรมัน ดังนั้น ในภาค 1 Festival of Nation ผู้ดูจะเห็นความโดดเด่นของ Jesse Owens นักกรีฑาผิวดำชาวอเมริกันที่ได้รับ 4 เหรียญทอง (จาก วิ่ง 100 เมตร กระโดดไกล วิ่ง 200 เมตร และ วิ่งผลัด 4×100 เมตร) การเสนอภาพในลักษณะนี้เพื่อเป็นการยืนยันว่า โอลิมปิกครั้งนี้เป็นเรื่องของกีฬาไม่เกี่ยวกับการเมืองและไม่เหยียดผิว หากแต่เหตุการณ์นอกเหนือจากภาพยนตร์เรื่องนี้ล้วนเป็นเรื่องตรงกันข้าม
.
ดำเนินรายการโดย ดร.ภัสสร สังข์ศรี และ พลอย ศรีสุโร
.
ออกอากาศ[ 28 มีนาคม 2564 ] ติดตามรับฟังได้ทาง #วิทยุราชมงคลธัญบุรี #RmuttRadio