Talk of the Town รอบบ้านเรา l สวนมะพร้าว ลุงบูรณ์”กับการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านการเกษตร

Talk of the Town รอบบ้านเรา
.
วันนี้มาติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับ 1.ประเด็น ข่าวเรื่อง กรมการปกครอง เปิดตัวแอปพลิเคชัน D.DOPA บริการทะเบียนราษฎรในรูปแบบดิจิทัล (E-DOPA Digitalization) 2.คุณวิบูรณ์ บุญลบ หรือลุงบูรณ์ อายุ55 ปี เจ้าของ “สวนมะพร้าว ลุงบูรณ์” ตำบลทับสะแก อำเภอทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ กับการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 มาปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านการเกษตร
.
ดำเนินรายการโดย คุณ จีระสุข ฃินะโชติ
.
ออกอากาศ [3 พฤษภาคม 2565 ] ติดตามรับฟังได้ทาง #วิทยุราชมงคลธัญบุรี #RmuttRadio #รอบบ้านเรา
.
ตอนที่ 1 ประเด็น ข่าวเรื่อง กรมการปกครอง เปิดตัวแอปพลิเคชัน D.DOPA บริการทะเบียนราษฎรในรูปแบบดิจิทัล (E-DOPA Digitalization)
วันที่ 26 เมษายน 2565 ณ ที่ว่าการอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง พร้อมคณะผู้บริหาร ได้ร่วมแถลงข่าว เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ภายใต้ “10 โครงการสำคัญของกรมการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (10 Flagships to DOPA All Smart 2022) สำหรับจุดเน้นสำคัญในปีนี้ คือ การมุ่งเน้นและพัฒนางานบนฐานการทำงานในรูปแบบดิจิทัล (E-DOPA Digitalization) เพื่อนำเทคโนโลยีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ ในการให้บริการทะเบียนราษฎรและเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ถือเป็นการยกระดับงานบริการภาครัฐ โดยผู้ประสงค์ใช้บริการต้องขอลงทะเบียนเพื่อพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล DOPA – Digital ID ที่เป็นระบบการปฏิบัติงานการให้บริการงานทะเบียนราษฎร ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ โดยสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน D.DOPA ได้ทั้งระบบ IOS และ Android และนำบัตรประจำตัวประชาชน ติดต่อขอรับบริการได้ที่สำนักทะเบียนทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นศูนย์บริการร่วมอำเภอ..ยิ้ม) กำหนดรหัสลับประจำตัว และเมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สามารถขอรับบริการทะเบียนราษฎรดิจิทัล อาทิ การแจ้งย้ายที่อยู่ในสำนักทะเบียนเดียวกัน การแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทาง การคัดและรับรองรายการทะเบียนบ้าน ทะเบียนประวัติและทะเบียนคนเกิด เป็นต้น
.
นอกจากนี้ ยังมีการสาธิตการขอหนังสือผ่านแดนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Border Pass) “การให้บริการออกหนังสือผ่านแดน” (E-Border Pass SMART service) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการสัญจรข้ามแดนให้กับประชาชนชาวไทยที่เดินทางเข้า – ออก บริเวณพื้นที่ชายแดน ได้แก่ เมียนมา ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย โดยสามารถเข้าใช้บริการขอหนังสือผ่านแดนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Border Pass) ผ่านโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ก่อนเดินทางถึงด่าน ซึ่งทำให้ประหยัดเวลา ลดขั้นตอน ลดการพบปะ เป็นต้น
.
ประการสำคัญในการเลือกจังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ในการตรวจติดตามการขับเคลื่อนโครงการสำคัญของกรมการปกครอง ปี 2565 (Mid–term Follow–up: 10 Flagships to DOPA All Smart 2022) ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 2 เมษายน 2565 ซึ่ง “อำเภอสิรินธร” คือ 1 ใน 12 อำเภอที่ตั้งชื่อตามพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธยพระนาม และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ที่กรมการปกครองให้ความสำคัญ ในการส่งเสริมสถาบันหลักของชาติเพื่อความยั่งยืน (E – DOPA Heart )
ที่มา: https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=319633390294497&id=100067435143927
ขอบคุณข้อมูลและทีมผู้สื่อข่าว คุณภาวิณีย์ เจริญยิ่ง (พี่ดี้)
.
ตอนที่ 2 คุณวิบูรณ์ บุญลบ หรือลุงบูรณ์ อายุ55 ปี เจ้าของ “สวนมะพร้าว ลุงบูรณ์” ตำบลทับสะแก อำเภอทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ เกี่ยวกับ ที่มาของสวนมะพร้าว น้ำหวาน สายพันธุ์ “นกคุ่ม” ,ที่มาของชื่อมะพร้าว “นกคุ่ม” ,การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่10 มาปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านการเกษตร , เทคนิคสำคัญให้ทำสวนมะพร้าวนกคุ่มได้ประสบความสำเร็จ เช่น การปลูก การดูแลสวน การบำรุงดิน และด้านอื่นๆ ,การทำสวนมะพร้าวนกคุ่ม กับมิติ ของการสร้างอาชีพ และชุมชนเข้มแข็ง ,แผนพัฒนาสวนมะพร้าวนกคุ่ม ,ประโยชน์ของมะพร้าวและกรุณาแนะนำแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ในจังหวัด “ประจวบคีรีขันธ์”
.
คุณวิบูรณ์ บุญลบ อายุ55ปี เจ้าของ “สวนมะพร้าว ลุงบูรณ์” ตำบลทับสะแก อำเภอทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่สวนมะพร้าว 3ไร่ครึ่ง มีมะพร้าวกว่า120 ต้น ในเบื้องต้น ไถดิน เพื่อพวนดิน และนำตอหญ้าออก นำปุ๋ยมูลสัตว์โปรยจนทั่วแล้วไถกรบอีกทำแบบนี้ ไปมา สองรอบ เอาหญ้าแห้งคลุมเพื่อให้เกิดความชื้น มั่นรดน้ำให้ชื้น ตลอดสามเดือน จากนั้นก็ขุดหลุมเพื่อลงมะพร้าว ปรากฏว่าขุดไม่ลง ชั้นดินด้านล่างแข็งมากสุดท้ายต้องขุดลึกลงไปแล้วขังน้ำไว้หนึ่งคืนเพื่อให้ดินอ่อน เพื่อจะได้ขุดหลุม ขนาด 50×50ลึก50เซ็นติเมตร ลองก้นหลุมด้วยปุ๋ยมูลสัตว์พอประมาณลงมะพร้าว สายพันธุ์ นกคุ่ม ระยะห่างหลุมต่อหลุม 6เมตร 1ไร่ได้40ต้น
.
คุณวิบูรณ์เปิดเผยที่มาของสวนมะพร้าว น้ำหวาน สายพันธุ์ “นกคุ่ม” ว่า ในป็2559 เป็นปีที่ในหลวงรัชกาลที่9 เสด็จสวรรคต ในวันที่5 ฑันวาคม 2559 คุณ วิบูรณ์ จัดงานโรงทานเลี้ยงชาวบ้าน เพื่อถวายเปีนพระราชกุศล แด่ในหลวงรัชกาลที่9 เป็นประจำทุกปี ปี2559แม้ว่าพระองค์จะสวรรคตแล้วก็ตาม แต่คุณวิบูรณ์ก็ยังจัดโรงทานเฉลิมพระเกียรติ เป็นปกติ
.
แต่หลังจากนั้น คุณวิบูรณ์เริ่มมีแนวคิดจะน้อมนำคำสั่งสอนเรื่อง”ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”ของพระองค์ท่าน ทั้งที่คุณวิบูรณ์ประกอบอาชีพเป็นช่างภาพมีห้องแลบ ล้าง อัด ขยายรูปภาพ แต่ด้วยสภาพเทคโนโลยี่ ดิจิทอล ที่เจริญก้าวหน้ามาก ธุรกิจ ล้าง อัด ขยาย ภาพ ถ่าย ก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ จนได้หลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ต้องช่วยเหลือตนเองเป็นลำดับแรก ขณะเดียวกันก็มีที่ดินอยู่ ว่างเปล่า3ไร่ครึ่ง จึงมีความคิดว่าจะนำที่ดินนี้มาทำประโยชน์ด้วยการทำการเพาะปลูก ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ของในหลวงรัชกาลที่9 โดยคิดไว้ว่าจะปลูกมะพร้าวน้ำหวาน สายพันธุ์ “นกคุ่ม”ซึ่งเป็นสายพันธุ์พื้นเมืองมีมานานมากแล้ว
.
คุณวิบูรณ์ป เผยที่มาของสวนมะพร้าว น้ำหวาน สายพันธุ์ “นกคุ่ม” ว่า ในป็2559 เป็นปีที่ในหลวงรัชกาลที่9 เสด็จสวรรคต ในวันที่5 ธันวาคม 2559 คุณ วิบูรณ์ จัดงานโรงทานเลี้ยงชาวบ้าน เพื่อถวายเปีนพระราชกุศล แด่ในหลวงรัชกาลที่9 เป็นประจำทุกปี แม้ว่าพระองค์จะสวรรคตแล้วก็ตาม แต่คุณวิบูรณ์ก็ยังจัดโรงทานเฉลิมพระเกียรติ เป็นปกติ
.
แต่หลังจากนั้น คุณวิบูรณ์ เริ่มมีแนวคิดจะน้อมนำคำสั่งสอนเรื่อง”ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ของพระองค์ท่าน ทั้งที่ คุณวิบูรณ์ประกอบอาชีพเป็นช่างภาพมีห้องแลบ ล้าง อัด ขยายรูปภาพ แต่ด้วยสภาพเทคโนโลยี่ ดิจิทอล ที่เจริญก้าวหน้ามาก ธุรกิจ ล้าง อัด ขยาย ภาพ ถ่าย ก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ จนได้หลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ต้องช่วยเหลือตนเองเป็นลำดับแรก ขณะเดียวกันก็มีที่ดินอยู่ ว่างเปล่า3ไร่ครึ่ง จึงมีความคิดว่าจะนำที่ดินนี้มาทำประโยชน์ด้วยการทำการเพาะปลูก ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ของในหลวงรัชกาลที่9 โดยคิดไว้ว่าจะปลูกมะพร้าวน้ำหวาน สายพันธุ์ “นกคุ่ม”ซึ่งเป็นสายพันธุ์พื้นเมืองมีมานานมากแล้ว
.
คุณ วิบูรณ์ ทำอยู่คนเดียว ช่วงขุดหลุมเพื่อลงมะพร้าว แต่บางครั้งก็ต้องจ้างรถขุด เพราะว่าบางส่วนของที่ดิน ดินแข็งมาก อย่างไรก็ตาม การขุดหลุมลงมะพร้าวน้ำหวานสายพันธุ์ “นกคุ่ม” รวมทั้งเดินท่อให้น้ำในพื้นสวนมะพร้าวจนทั่ว เมื่อลงมะพร้าวเต็มจำนวนแล้วจากนั้นก็ดูแลรักษา บำรุงต้นให้สมบูรณ์ ขณะเดียวกัน ก็ปลูกพืชผักสวนครัว และไม้ผลต่างๆไว้ใช้กิน และแจกเพื่อนบ้าน ตามที่ในหลวงรัชกาลที่9 ทรงแนะนำ น้ำตาลมะพร้าวเป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ คุณ วิบูรณ์ เคยผลิตจำหน่าย เนื่องจากมีสวนมะพร้าวคั้นกะทิอยู่จำนวนหนึ่ง พอเก็บน้ำหวานจากจั่นดอกมากวนทำน้ำตาล จำหน่ายได้ราคาดีด้วย แต่ด้วยอายุที่มากขึ้น การปีนไปเก็บน้ำหวานจากจั่นดอกลำบากมากขึ้นอีก เลยเกรงว่าจะเกิดอันตราย ปัจจุบันก็เลย ทำแค่การตลาด จัดจำหน่ายน้ำตาลให้กลุ่มที่ทำน้ำตาลเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง
.
ถึงตอนนี้ คุณวิบูรณ์ บุญลบ มีความเป็นอยู่พอเพียง สบาย สบาย ทำท่าจะเกินพอ และมีความสุข อยู่กับการทำสวนมะพร้าวของตนเอง รวมทั้งพืชผักสวนครัว และผลไม้ที่ปลูกแซมใข้กินเองในครอบครัว และแจกพรรคพวกเพื่อนฝูง ตามที่ในหลวงรัชกาลที่9ได้ทรงสั่งสอนไว้ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ว่าต้องช่วยเหลือตัวเองเป็นลำดับแรก นำภูมิปัญญามาใช้ ร่วมแรงร่วมใจกัน และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันและกันในกลุ่ม ซึ่งจะยังประโยชย์ให้แก่กันสุดท้ายเกิดความรัก ความสามัคคีต่อกัน ชุมชนก็เข้มแข็ง
เครดิตข้อมูล อาจารย์ทวีศักดิ์ เกษประทุม