Talk of the Town รอบบ้านเรา l ไร่จอมยุทธิ์ แนวคิดใหม่ของเกษตรกร

Talk of the Town รอบบ้านเรา
.
– นายแพทย์บุญ วนาสิน หรือ หมอบุญผู้มีคุณูปการต่อวงการแพทย์หลายด้าน โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
-“ไร่จอมยุทธิ์ แนวคิดใหม่ของเกษตรกร” จังหวัดสุพรรณบุรี คุณยุทธพงษ์ กอบกาญจนา
.
ดำเนินรายการโดย คุณ จีระสุข ฃินะโชติ
.
ออกอากาศ [16 สิงหาคม 2565 ] ติดตามรับฟังได้ทาง #วิทยุราชมงคลธัญบุรี #RmuttRadio #รอบบ้านเรา

.
สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับท่านผู้ฟังเข้าสู่รายการรอบบ้านเรา (Talk of the Town ) ออกอากาศทุกวันอังคาร 04:00 -04:30 น. คลื่น fm 89.5 MHz สถานีวิทยุราชมงคลธัญบุรี พบกับจีระสุข ชินะโชติ ดำเนินรายการ
.
1. วันนี้มาติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับ นายแพทย์บุญ วนาสิน หรือ หมอบุญผู้มีคุณูปการต่อวงการแพทย์หลายด้าน โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 นายแพทย์บุญ วนาสิน เป็นผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นแพทย์อยู่ตลอดเวลาและยังมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มองเห็นถึงแนวทางในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย
ด้วยการเสนอแนวคิดให้มีการเร่งฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งถือเป็นด่านหน้า ควรได้รับวัคซีนชนิด mRNA ก่อนเป็นกลุ่มแรก กลุ่มต่อมา คือ กลุ่มเสี่ยงต่างๆ และประชาชนทั่วไป แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ กลุ่มเด็ก ซึ่งมีจำนวนมาก และควรจะได้รับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุด หมอบุญ ยังเป็นผู้ขับเคลื่อนการนำเข้าวัคซีนชนิด mRNA และประกาศร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ เพื่อสั่งซื้อวัคซีนของไบออนเทค (BioNTech) จากประเทศเยอรมัน และโนวาแวกซ์ (Novavax)จากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
.
นอกจากนี้ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คุณหมอบุญ ได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนามที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์การรักษา จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสนาม มทบ.11 จำนวน 494 เตียง โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ 2 จำนวน 168 เตียง และโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน จำนวน 177 เตียง สร้าง Hospitel อีก 10 แห่ง สามารถรองรับผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียว เหลือง และแดง รวมกันได้มากกว่า 4,000 เตียง ควบคู่กับการดึงบุคลากรวิชาชีพอื่น เช่น สจ๊วต แอร์โฮสเตส แพทย์ พยาบาล จากคลินิกความงาม ฯลฯ ที่ได้รับผลกระทบในการประกอบอาชีพ เข้ามาช่วยทำงานในโรงพยาบาล และยังร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการเปิดศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ประชาชนอีกหลายแห่ง อาทิ ร่วมมือกับหอการค้าไทย ไทยพีบีเอส เปิดหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนผ่านระบบไทยร่วมใจ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นต้น หมอบุญ จึงถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประวัติ นายแพทย์บุญ วนาสิน เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2481 เป็นเป็นบุตรชาย 1 ใน 2 คน ในจำนวนบุตรธิดา 8 คน ของนายสวง และนางสำเริง วนาสิน ครอบครัวประกอบธุรกิจค้าขายข้าวและสินค้าเกษตร จึงทำให้มีทักษะด้านการค้ามาตั้งแต่เด็ก เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ (บางรัก) และสำเร็จการศึกษาจากแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
จากนั้นไปศึกษาต่อด้านวิชาชีพสาขาอายุรศาสตร์ และทางเดินอาหารที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษา ด้านชีวิตครอบครัว นายแพทย์บุญ วนาสิน สมรสกับนางจารุวรรณ วนาสิน มีบุตรธิดา จำนวน 2 คน คือ นายจอน วนาสิน และนางสาวนลิน วนาสิน
.
ด้านการทำงาน เริ่มงานในตำแหน่งผู้ช่วยแพทย์ที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และกลับมาทำงานที่ประเทศไทยในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และอาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จนขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนที่ในปี พ.ศ.2519 นายแพทย์บุญ วนาสิน // การศึกษา พ.ศ.2507 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ฯลฯ
.
2. สัมภาษณ์บุคคล เรื่อง “ไร่จอมยุทธิ์ แนวคิดใหม่ของเกษตรกร” ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี คุณยุทธพงษ์ กอบกาญจนา อายุ56ปี เจ้าของ ไร่จอมยุทธิ์ คุณยุทธพงษ์ มีแนวคิดต่างจากเกษตรกรรายอื่นๆ บริเวณรอบๆบ้านที่อยู่ปัจจุบัน ที่ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แนวคิดที่ต่างจากเกษตรกรด้วยกัน เริ่มจากประสบการณ์การทำงานภายหลังสำเร็จการศึกษา
.
คุณยุทธพงษ์ กอบกาญจนา จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน คณะเกษตรศาสตร์สาขาพืชไร่นา ภายหลังจบการศึกษาก็ไปทำงานบริษัทเอกชน ทำหน้าที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดสายพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตดีกว่าสายพันธุ์เดิม ทำได้4ปีก็เห็นปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ในวงจรเป็นหนี้สินเนื่องจากการปลูกพืชเชิงเดี๋ยว เพราะปัญหาและอุปสรรคระหว่างการเพาะปลูก และราคาผลผลิตไม่แน่นอน เมื่อคิดได้ดังนี้ ก็กลับบ้านเกิด ที่สองพี่น้อง สุพรรณบุรี มาทำการเกษตรที่บ้าน โดยเริ่มต้นจากที่บ้านทำไร่อ้อย
ส่งโรงงานน้ำตาลอยู่แล้ว 23 ไร่ ทั้งที่รู้ปัญหา แต่ก็ยังอยากหาทางออกกับการปลูกพืชเชิงเดี่ยว แต่ก็หาทางออกไม่ได้ การปลูกพืชเชิงเดี่ยวไม่อาจตอบโจทย์ ที่เกษตรกรมีปัญหา กล่าวคือ อ้อยโรงงานขายผลผลิตได้ปีละครั้ง แต่เกษตรกรต้องใช้จ่ายต่างๆทุกวัน ทำให้เกิดวงจรเป็นหนี้ขึ้นมาอีก ทั้งหนี้โรงงานน้ำตาล หนี้ธนาคาร เป็นวัฎจักรตลอดไป คุณยุทธพงษ์ ทำได้ 10 ปี จึงเลิกทำ ต่อมาจึงมีแนวคิดว่าจะปลูกพืชผสมผสาน เพื่อให้เกิดรายได้ใช้จ่ายได้ตลอดปีคุณยุทธพงษ์ เริ่มจาก ไปศึกษาหาความรู้ฝึกอบรม จากแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรผสมผสาน เกษตกรพอเพียงกับ อาจารย์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร และอีกหลายแห่งจนมั่นใจ แล้วจึงพลิกที่ทำกินที่เป็นไร่อ้อย
เป็นไร่นาสวนผสม
.
คุณยุทธพงษ์มีแนวคิดว่า ก่อนอื่นต้องมีของกินในบ้านก่อน ไม่ว่าจะเป็น ข้าวปลาอาหาร พืช ผัก ผลไม้ เป็นตัวหลัก จากนั้นก็หาอย่างอื่นมาเป็นส่วนประกอบ เริ่มต้นด้วยนาข้าว 2 ไร่ ปีหนึ่งทำ2 ครั้ง สลับกับสองสายพันธุ์ มี กข.43 และ หอมปทุม ทำให้มีข้าวไว้กินได้ทั้งปี ยังเหลือขายได้อีกจำนวนหนึ่ง ปลูกอ้อยคั้นน้ำ เพราะมีความรู้เรื่องอ้อยอยู่แล้ว อ้อยคั้นน้ำ นำมาคั้นน้ำและแปรรูปเป็นน้ำเขื่อมเข้มข้น หรือ (Syrub) จำหน่ายเป็นรายได้หลักรายวัน โดยจำหน่ายออนไลน์ มีตลาดอยู่ตลอดเวลา มีการปลูกล้วยสายพันธุ์ต่างๆ ทั้งกล้วยน้ำวัายักษ์ กล้วยน้ำว้าทั่วไป กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยหักมุก
กล้วยน้ำว้าตลาดดีมากมีเครือข่ายรับซื้อไปแปรรูปขายได้ทั้งปีปลูกผักสลัด มีรายได้เป็นรายเดือน ขุดบ่อเลี้ยงปลา ไว้บริโภคในครัวเรือน จับขายบ้าง และได้น้ำไว้ใช้ในไร่นาบางส่วน เลี้ยงเป็ดไข่ไว้ 15 ตัว ขายใข่ได้ทุกวัน ปลูกไผ่ซางหม่น เพื่อใช้เผาถ่านคุณภาพสุงให้ความร้อนดีมาก ขายได้ราคาดีและยังได้น้ำส้มควันไม้ไว้ ทำปุ๋ยชีวภาพอีกด้วย ปลูกไม้ยืนต้นเพื่อเป็นไม้บำนาญ เช่น ยางนา สัก มะค่า ชิงชัน แดง พยุง ไม้เหล่านี้ เมื่ออายุได้ประมาณ 25 – 30ปี จะมีมูลค่าสูง นอกจากนี้ยังเก็บกิ่งที่ตกหล่นมาเผาถ่านได้อีก
สำหรับ ที่ไร่จอมยุทธิ์ ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาเซล และทุกอย่างบริหารจัดการ ลงแรงร่วมกันทำกับภรรยาเกือบทั้งหมดเว้นแต่นาข้าวต้องจ้างไถ เพราะเป็นงานหนักเกินกำลัง ปัจจุบันกำลังขยายการปลูกไม้ผลต่างๆทั้งที่บางส่วนปลูกไว้บ้างแล้ว ทั้งมะม่วงหลายสายพันธุ์ ฝรั่ง ส้ม ส้มโอ เบื้องต้นคิดปลูกไว้กิน
หากได้ผลดีเก็บขายเป็นรายได้
.
ผลผลิตรวมๆปัจจุบันออกดอกออกผลเลี้องตัวเองและครอบครัวได้อย่างสบายมีเงินหมุนเวียนในไร่ต่อเดือนประมาณ 3 – 4 หมื่นบาท ใข้ชีวิตในไร่ ในสวนของตนเองอย่างมีความสุข อนาคตคงต้องพัฒนายิ่งขึ้นไปอีก เช่นเป็นศูนย์เรียนรู้ รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แต่ทุกอย่างต้องค่อยเป็นค่อยไปตามกำลังและความสามารถที่มีอยู่ (ขอบคุณอาจารย์ทวีศักดิ์ เกษปทุม)