Wellness talk (EP.13) I จะได้ไม่ลืมกัน (ภาวะสมองเสื่อม) ภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากมีการเสื่อมลงของเซลล์สมองหรือเกิดจากโรคทางกายอื่น ๆ ทำให้เกิดความผิกปกติของการทำงานของสมองด้านการเรียนรู้และสติปัญญา ทั้งนี้ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ สามารถชะลอความเสี่ยงได้หากรู้วิธีป้องกัน การบริหารสมอง (Brain Gym) Brain Gym เป็นการบริหารสมองที่คิดค้นโดย Pual และ Gail Dennison ตั้งแต่ปี 1970 สามารถเพิ่มความสนใจ (attention) ความจำ (memory) และทักษะด้านวิชาการ (academic skill) ประกอบด้วยรูปแบบการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย เป็นท่าบริหารที่ช่วยบูรณาการการทำงานของสมองเข้ากับการเคลื่อนไหวของร่างกายทุกส่วนส่งเสริมให้สมองทำงานได้ดี ประโยชน์ของ Brain Gym สำหรับผู้สูงอายุจะช่วยเพิ่มความเฉลียวฉลาด และอื่น ๆ ที่สำคัญช่วยให้สมองสร้างความเชื่อมโยงจุดประกายความทรงจำการเรียนรู้ ...

Wellness talk (EP.12) I สัญญาณเตือน ที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม เพศหญิงมีอวัยวะสืบพันธ์ที่มีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนอย่างมาก ตลอดช่วงชีวิตของเพศหญิง แต่ละวัยจะมีการผลิตฮอร์โมนเพศในระดับที่ต่างกัน ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ และสังคม การเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามวัยต่างๆ โดยเริ่มจากวัยรุ่น วัยเจริญพันธ์ ไปจนถึงวัยหมดระดู จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการดูแลและสังเกตอาการที่ผิดปกติที่ผู้หญิงต้องมีความเข้าใจ หากละเลยต่ออาการเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลต่อปัญหาทางสุขภาพได้ ดำเนินรายการโดย อาจารย์อนุสรณ์ แน่นอุดร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลชุมชน แขกรับเชิญ อาจารย์สุจิตรา หัดรัดชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลผู้ใหญ่ ...

Wellness talk (EP.11) I เบาหวาน เบาใจ (การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน) การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร วัตถุดิบจากแหล่งธรรมชาติที่ยังไม่ผ่านกระบวนการปรุงรสจะมีโซเดียมตามธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นควรได้รับโซเดียมเพิ่มตามเครื่องปรุงอีกไม่เกิน 1,400-1,600 มิลลิกรัมต่อวัน ควรปรับการบริโภคอาหารโดยการลดอาหารเค็ม โดยงดเติมเกลือ น้ำปลา หรือซีอิ๊วเพิ่มลงในอาหาร และเลือกอาหารที่ใส่เกลือ น้ำปลา หรือซีอิ๊วน้อยที่สุด งดรับประทานผงชูรสด หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารแปรรูป อาหารตากแห้ง อาหารหมักดอง และควรรับประทาน ผักและผลไม้ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันและโคเลสเตอรอล มีเส้นใยอาหารสูง ดำเนินรายการโดย อาจารย์อนุสรณ์ แน่นอุดร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลชุมชน แขกรับเชิญ อาจารย์ปุณรดา พวงสมัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลผู้ใหญ่ ...

Wellness talk (EP.10) I กับข้าว กับความดัน (โภชนาการสำหรับโรคความดันโลหิตสูง) การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร วัตถุดิบจากแหล่งธรรมชาติที่ยังไม่ผ่านกระบวนการปรุงรสจะมีโซเดียมตามธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นควรได้รับโซเดียมเพิ่มตามเครื่องปรุงอีกไม่เกิน 1,400-1,600 มิลลิกรัมต่อวัน ควรปรับการบริโภคอาหารโดยการลดอาหารเค็ม โดยงดเติมเกลือ น้ำปลา หรือซีอิ๊วเพิ่มลงในอาหาร และเลือกอาหารที่ใส่เกลือ น้ำปลา หรือซีอิ๊วน้อยที่สุด งดรับประทานผงชูรสด หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารแปรรูป อาหารตากแห้ง อาหารหมักดอง และควรรับประทาน ผักและผลไม้ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันและโคเลสเตอรอล มีเส้นใยอาหารสูง ดำเนินรายการโดย อาจารย์อนุสรณ์ แน่นอุดร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลชุมชน แขกรับเชิญ อาจารย์ดร.วรรัตน์ มากเทพพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขศาสตร์และการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ...

Wellness talk (EP.9) I “เศร้าได้ แต่อย่าเศร้านาน” การป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (Adolescent depression) ความหมายของภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ภาวะซึมเศร้าเป็นสภาวะทางอารมณ์ซึ่งมีผลทางลบต่อความคิด อารมณ์ พฤติกรรม วัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ร่างกาย ความคิด การรับรู้ พฤติกรรม และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ผิดปกติไปจากเดิม มีความคิดที่ช้าลง ความจำลดลง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง รู้สึกเศร้าโดดเดี่ยว อ้างว้าง ไร้อารมณ์ มีความคิดด้านลบต่อตนเอง อาการแสดงของวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า วัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าจะมีอาการที่แสดงถึงความผิดปกติ ด้านต่างๆ ดังนี้ 1. ด้านอารมณ์ มีความรู้สึกหดหู่ มีอารมณ์เศร้า เฉยชา ไม่สดชื่น ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล กระวนกระวายท้อแท้ หมดหวัง ...

Wellness talk (EP.8) I เรื่องจริงผ่านจอ (มือถือ แท็บเล็ต) กับพัฒนาการวัยเด็ก พัฒนาการของเด็กวัยก่อนเรียนเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่การปฏิสนธิจนกระทั่งเข้าสู่วัยก่อนเรียน ลักษณะพิเศษของพัฒนาการในช่วงวัยนี้ คือ มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีการประสานการทำงานกันทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด อีกทั้งเป็นรากฐานของพัฒนาการในช่วงวัยถัดไป ดังนั้น การติดตามและส่งเสริมพัฒนาการในช่วงวัยแรกเกิดถึงวัยก่อนเรียนจึงมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์คนหนึ่งอย่างมาก ซึ่งในยุคปัจจุบันนั้น สังคมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะการเข้าถึงของเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการสร้างเสริมพัฒนาการของเด็กโดยเฉพาะช่วงวัยแรกเกิดถึงวัยก่อนเรียน ดำเนินรายการโดย อาจารย์อนุสรณ์ แน่นอุดร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลชุมชน แขกรับเชิญ อาจารย์พัชรพร คำภูมี ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น ...

Wellness talk (EP.7) I อากาศเปลี่ยน ลูกป่วย ต้องช่วยป้องกัน การป้องกันอุบัติในเด็กสำคัญอย่างไร อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิดและจะเกิดเวลาใดก็ได้เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมนำมาซึ่งความสูญเสียและความโศกเศร้าแก่ครอบครัวและคนใกล้ชิด อุบัติเหตุส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในบ้านและสามารถป้องกันได้ เช่น การจัดบ้านให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุน้อยลง การดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด การสอนพี่เลี้ยงเด็กและตัวเด็กเองให้รู้จักระวังตัว คนส่วนใหญ่มักกจะคิดว่าไม่จำเป็นต้องสอนเด็กเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุในควาเป็นจริงแล้วการสอนเด็กแม้ว่าเด็กจะยังไม่เข้าใจ แต่การสอนบ่อยๆ จะทำให้เด็กค่อยๆ ซึมซับและเมื่อโตขึ้นเด็กจะเริ่มทำตามสิ่งที่ได้รับการสอน แต่ในขณะที่เด็กยังเล็กมากๆและไม่สามารถเข้าใจเหตุผลผู้ดูแลจะต้องดูแลเด็กไม่ให้คลาดสายตา ดำเนินรายการโดย อาจารย์อนุสรณ์ แน่นอุดร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลชุมชน แขกรับเชิญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิไลลักษณ์ โรจนประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น และเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม รับฟังรายการได้ทาง FM 89.5 MHz Innovation for Life วิทยุราชมงคลธัญบุรี วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม เวลา ...

Wellness talk (EP.6) I อุบัติเหตุในเด็กป้องกันได้ การป้องกันอุบัติในเด็กสำคัญอย่างไร อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิดและจะเกิดเวลาใดก็ได้เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมนำมาซึ่งความสูญเสียและความโศกเศร้าแก่ครอบครัวและคนใกล้ชิด อุบัติเหตุส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในบ้านและสามารถป้องกันได้ เช่น การจัดบ้านให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุน้อยลง การดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด การสอนพี่เลี้ยงเด็กและตัวเด็กเองให้รู้จักระวังตัว คนส่วนใหญ่มักกจะคิดว่าไม่จำเป็นต้องสอนเด็กเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุในควาเป็นจริงแล้วการสอนเด็กแม้ว่าเด็กจะยังไม่เข้าใจ แต่การสอนบ่อยๆ จะทำให้เด็กค่อยๆ ซึมซับและเมื่อโตขึ้นเด็กจะเริ่มทำตามสิ่งที่ได้รับการสอน แต่ในขณะที่เด็กยังเล็กมากๆและไม่สามารถเข้าใจเหตุผลผู้ดูแลจะต้องดูแลเด็กไม่ให้คลาดสายตา ดำเนินรายการโดย อาจารย์อนุสรณ์ แน่นอุดร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลชุมชน แขกรับเชิญ ดร.ณัฐยา ศรีทะแก้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น ...

Wellness talk (EP.5) I กินได้กินดี โภชนาการตามวัย โภชนาการ หมายถึง ภาวะของร่างกายที่เป็นผลมาจากการรับประทานอาหาร เป็นปัจจัยเสริมที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และพัฒนาการตามวัยของเด็ก การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการตามวัยจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ การมีภาวะโภชนาการที่ดีในวัยเด็กจึงเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของชีวิตในอนาคต โดยในแง่ของโภชนาการ กระบวนการเปลี่ยนแปลงอาหารเพื่อการใช้ประโยชน์ของร่างกายนั้น จะส่งผลต่อสุขภาพ 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการเจริญเติบโตทางกายภาพ สามารถวัดได้จากน้ำหนัก ส่วนสูง และขนาดของร่างกายส่วนต่าง ๆ เช่น ขนาดเส้นรอบวงของแขน เป็นต้น อาหารและโภชนาการเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการ เติบโตของร่างกาย 2. ด้านสมองและสติปัญญา ในช่วงวัยเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในด้านสมอง โดยเฉพาะ ในช่วง 4 ขวบปีแรกของการเติบโต เด็กจะมีพัฒนาการสมองได้เกือบจะ 80% ในขณะที่บางส่วนที่ ...

Wellness talk (EP.4) I MOM CARE คุณแม่หลังคลอด (การดูแลตนเองหลังคลอดและการให้นมบุตรที่คุณพ่อ คุณแม่และคนรอบข้างต้องรู้) มารดาหลังคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจ หลังจากคลอดทารกให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ ซึ่งร่างกายต้องใช้เวลาในการปรับตัวอย่างน้อย 2- 4 สัปดาห์ และด้วยบทบาทหน้าที่การเป็นมารดา ทำให้ช่วงหลังคลอด มารดาหลังคลอดมีการพักผ่อนน้อย การดูแลตนเองลดลง ซึ่งเป็นผลให้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ การดูแลตนเองในระยะหลังคลอดที่สำคัญที่สุดคือ การป้องกันการตกเลือดหลังคลอด มีการดูแลตนเองดังนี้ 1. ควรประเมินและคลึงมดลูกจนกว่าจะคลำไม่เจอมดลูก ซึ่งปกติมดลูกจะกลับเข้าอู่ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ 2. ประเมินน้ำคาวปลา โดยในช่วง 1- 3 วันแรกจะเป็นสีแดง วันที่ 4- 9 จะสีคล้ำลง ปริมาณค่อยๆลดลง จนวันที่ ...