เพลินภาษานานาสาระ l ประวัติศาสตร์ “ก๋วยเตี๋ยว” ในประเทศไทย คำว่า “ก๋วยเตี๋ยว” อาจจะมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนหรือภาษาจีนแต้จิ๋ว โดยแต้จิ๋วอ่าน “ก๋วยเตี๊ยว” ฮกเกี้ยนอ่าน “ก๊วยเตี๋ยว” ส่วนในจีนกลางจะอ่านว่า “กั่วเถียว” (guǒtiáo) แปลว่า เส้นข้าวสุก เป็นคนละคำกับ 粉条/粉條 (fěntiáo) ที่หมายถึงวุ้นเส้น หรือ 面条/麵條 (miàntiáo) ที่หมายถึงบะหมี่ สันนิษฐานกันว่าก๋วยเตี๋ยวในประเทศไทยมีมาเมื่อประมาณสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นช่วงที่ไทยมีการติดต่อกับชาวต่างชาติมากมาย ว่ากันว่าเป็นยุครุ่งเรืองของอาหาร เริ่มมีการดัดแปลงอาหารต่างชาติ ให้เข้ากับวัตถุดิบและรสชาติที่ถูกปากชาวอยุธยา เช่น ขนมทองหยิบ ทองหยอด จากโปรตุเกส หรือพวกแกงกะทิที่ได้รับอิทธิพลจากเปอร์เซีย คาดว่าชาวจีนก็ได้นำเอาก๋วยเตี๋ยวเข้ามากินกันในเรือ และเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับคนไทย ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล ...

เพลินภาษานานาสาระ l น้ำแข็งกับวิถีชีวิตแบบไทย ๆ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าประเทศไทยทำความรู้จักกับ ‘น้ำแข็ง’ ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 เพราะช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ไทยมีการทำการค้ากับต่างประเทศมากขึ้น จึงทำให้เกิดการนำเข้าวัฒนธรรมต่างๆ ผ่านสินค้าที่บรรทุกข้ามน้ำข้ามทะเลมาทางเรือ โดย ‘น้ำแข็ง’ คือหนึ่งในสิ่งที่เดินทางมาไกลถึงประเทศไทยในช่วงเวลานั้นนั่นเอง! หลายคนอาจจดจำน้ำแข็งก้อนแรกจากการหยิบจับผ่านตู้เย็นในบ้าน แต่สำหรับประเทศไทย ‘น้ำแข็งก้อนแรก’ เดินทางมาจากที่ไกลแสนไกล พร้อมกับเรือกลไฟที่มีชื่อว่า ‘เจ้าพระยา’ ของพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) โดยน้ำแข็งก้อนแรกถูกบรรจุมาในหีบไม้ฉำฉาที่กลบด้วยขี้เลื่อย (เพื่อรักษาอุณหภูมิ) ซึ่งในสมัยนั้นการเดินทางของเรือเจ้าพระยาจากสิงคโปร์มาประเทศไทยต้องใช้เวลากว่า 15 วันต่อ 1 เที่ยว! จึงทำให้ ‘น้ำแข็ง’ กลายเป็นของแปลกใหม่ และมีคนเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่จะมีโอกาสได้ลิ้มลอง ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล ...

เพลินภาษานานาสาระ l น้ำแข็งกับวิถีชีวิตแบบไทย ๆ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าประเทศไทยทำความรู้จักกับ ‘น้ำแข็ง’ ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 เพราะช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ไทยมีการทำการค้ากับต่างประเทศมากขึ้น จึงทำให้เกิดการนำเข้าวัฒนธรรมต่างๆ ผ่านสินค้าที่บรรทุกข้ามน้ำข้ามทะเลมาทางเรือ โดย ‘น้ำแข็ง’ คือหนึ่งในสิ่งที่เดินทางมาไกลถึงประเทศไทยในช่วงเวลานั้นนั่นเอง! หลายคนอาจจดจำน้ำแข็งก้อนแรกจากการหยิบจับผ่านตู้เย็นในบ้าน แต่สำหรับประเทศไทย ‘น้ำแข็งก้อนแรก’ เดินทางมาจากที่ไกลแสนไกล พร้อมกับเรือกลไฟที่มีชื่อว่า ‘เจ้าพระยา’ ของพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) โดยน้ำแข็งก้อนแรกถูกบรรจุมาในหีบไม้ฉำฉาที่กลบด้วยขี้เลื่อย (เพื่อรักษาอุณหภูมิ) ซึ่งในสมัยนั้นการเดินทางของเรือเจ้าพระยาจากสิงคโปร์มาประเทศไทยต้องใช้เวลากว่า 15 วันต่อ 1 เที่ยว! จึงทำให้ ‘น้ำแข็ง’ กลายเป็นของแปลกใหม่ และมีคนเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่จะมีโอกาสได้ลิ้มลอง ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล ...

เพลินภาษานานาสาระ l “เจ้าแม่สร้อยดอกหมาก” ตำนานรักแห่งวัดพนัญเชิง เจ้าแม่สร้อยดอกมาก ความเกี่ยวข้อง กับวัดพนัญเชิง หากไม่มีวัดก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ตำนานมีพระเจ้ากรุงจีนได้ยกบุตรบุญธรรม คือ พระนางแม่สร้อยดอกหมาก ให้กับกษัตริย์พระเจ้าสายน้ำผึ้ง แต่มีเหตุอันต้องให้เข้าใจผิดกันทั้งสองพระองค์ เพราะความสัพยอกของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ที่ไม่ลงมารับพระนางสร้อยดอกหมากที่ท่าน้ำด้วยองค์เองเพราะมัวแต่ไปจัดเตรียมตำหนักเพื่อต้อนรับพระนางสร้อยดอกหมาก ทั้งนี้พระนางสร้อยดอกหมากได้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าแค่นี้ก็ลงมารับไม่ได้ ลำบากมากนักเหรอ ถ้าอย่างนั้นตนเองก็จะไม่ขึ้นไปจากท่าน้ำ พอพระเจ้าสายน้ำผึ้งได้รู้ว่า พระนางสร้อยดอกหมากได้พูดไว้อย่างนี้ จึงแกล้งสัพยอกอีกครั้งว่า “ไม่อยากขึ้นก็จงอยู่ที่นี่” นั่นเองที่ทำให้พระนางสร้อยดอกหมากน้อยใจยิ่งนักและกลั้นใจตายลงตรงริมแม่น้ำ และเป็นการสร้างความเสียใจให้กับพระเจ้าสายน้ำผึ้งยิ่งนักนั่นเอง จากนั้นจึงได้อัญเชิญพระศพขึ้นมาทำพิธี ณ จุดที่ตั้งศาลปัจจุบันและได้สร้างศาลเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก โดยใช้ชื่อว่าศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก คนส่วนใหญ่นิยมมา : ขอความรัก ของาน ขอให้มีความสุข และมักได้สมหวังดังใจ ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล ...

เพลินภาษานานาสาระ l “เล่นเพื่อน” ว่าด้วยเรื่องเล่าสาวชาววัง เล่นเพื่อน พจนานุกรมอธิบายความหมายไว้ว่า หญิงคบหญิงด้วยกันต่างชู้รัก หรือ หญิงสำเร็จความใคร่กับคนเพศเดียวกัน ความจริงไม่ใช่เฉพาะ “หญิงกับหญิง” แต่ “ชายกับชาย” ก็เล่นเป็นเหมือนกัน บางคนว่า “เล่นเพื่อน” เป็นการไปรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา เรื่องแบบนี้เราทำเองเป็น ไม่ต้องให้ฝรั่งมาสอน ภาพเขียนฝาผนังแต่โบราณ ก็มีภาพเรื่องนี้ปรากฏอยู่หลายแห่ง และไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่อง “สัปดน” แต่เป็น “ความเป็นจริงของชีวิต” ส่วนในสมัยนี้ไม่ต้องพูดถึง “เล่นเพื่อน” หรือ “รักร่วมเพศ” ถือได้ว่าเป็นเสรีภาพส่วนบุคคล หรือเป็นรสนิยมจากฮอร์โมนในร่างกาย แต่ในสมัยก่อนมักเกิดกับการถูกกักขังจำกัดขอบเขตที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ เช่นเจ้าจอมหม่อมห้ามนางใน ถูกกักให้อยู่แต่ในเขตที่ห้ามผู้ชายล่วงล้ำ และห้ามออกมาคบหากับคนข้างนอก สังคมจึงเหลือแต่คนเพศเดียว เมื่อถึงวัยสาว มนุษย์ย่อมมีสัญชาติญาณของการสืบพันธุ์ ถูกฮอร์โมนภายในร่างกายกดดัน รักร่วมเพศจึงเกิดขึ้น ...

เพลินภาษานานาสาระ l ทำไมคนไทยชอบใช้ ‘สติกเกอร์’ เสริมเรื่องราวในการแชต ในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมากมายที่ทำให้คนไทยสามารถติดต่อสื่อสารกันได้สะดวกยิ่งขึ้น ฟีเจอร์แชทอย่าง LINE จึงกลายเป็นฟีเจอร์ยอดนิยมที่ผู้คนใช้สื่อสารหากันทุกวัน และหากสังเกตพฤติกรรมการแชทของคนไทยไม่ว่าจะแพลตฟอร์มไหน แน่นอนว่าจะต้องเห็นการส่งอิโมจิและสติกเกอร์ภาพ แทนความรู้สึกและอารมณ์หาคู่สนทนา บทความนี้จะไปวิเคราะห์ว่า เหตุผลหลักที่ทำให้สติกเกอร์ หรือ อิโมจิ ครองใจคนไทยสายแชทกันได้ขนาดนี้คืออะไร เหตุผลแรกคือ วัฒนธรรมการสื่อสารของคนไทยให้คุณค่ารูปแบบมารยาทภายนอก ไม่ว่าจะกิริยาท่าทาง การแต่งกาย การพูด การแสดงอิริยาบถต่างๆ ทำให้การสื่อสารของคนไทยมีลักษณะประนีประนอมสูง เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยมักเลือกสื่อสารกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่ใช้ถ้อยคำที่รุนแรงและตรงไปตรงมาหรือขวานผ่าซากจนเกินไป แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เต็มใจ และพึ่งพาอวัจนภาษาที่มีความซับซ้อนกว่า ซึ่งการส่งภาพสติกเกอร์หรืออิโมจิ สามารถช่วยปิดช่องโหว่ทางการสื่อสารและลดความกังวลดังกล่าวผ่านการพิมพ์ตัวอักษรผ่านแชทได้เป็นอย่างดี เหตุผลที่สองคือ ภาษาไทยเป็นภาษาไม่หยุดนิ่ง ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทยคือ ภาษาในแต่ละยุคสมัยจะเป็นเครื่องบ่งบอกบริบทและความเป็นไปทางสังคม ความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย โดยได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทำให้เกิดการตีความถ้อยคำหรือวลีที่แตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย และเหตุผลสุดท้ายคือ ความสะดวกสบายในการสื่อสาร ในการสื่อสารในปัจจุบันที่มักมีข้อความพื้นฐานที่ใช้บ่อยในทุกบทสนทนา ...

เพลินภาษานานาสาระ l Confirmation Bias : การเชื่อมั่นในตัวเอง หรือ การสร้างอคติกันแน่ Confirmation Bias เป็นศัพท์ทางจิตวิทยา หมายถึงการแสวงหา รับฟัง และตีความข้อมูลที่ได้มา เพื่อยืนยันความเชื่อหรือความคิดเดิมที่มีอยู่ ให้ยิ่งเชื่อมากขึ้นและคิดว่าความเชื่อที่ตนเองยึดถืออยู่นั้น ถูกต้องแล้ว เพราะมีข้อมูลเพิ่มเติมมาสนับสนุนและช่วยยืนยัน เมื่อหลายปีก่อน กลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Stanford ได้ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนโทษประหารชีวิต อ่านงานวิจัยทางวิชาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโทษประหารชีวิตกับจํานวนการฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละรัฐของสหรัฐอเมริกา โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งสนับสนุนโทษประหารชีวิตว่าเป็นวิธีป้องกันการฆาตกรรมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ส่วนอีกงานวิจัยหนึ่งไม่สนับสนุนโทษประหารชีวิตเพราะเชื่อว่าไม่ได้ช่วยลดจํานวนผู้กระทําความผิดลงได้จริง หลังจากอ่านงานวิจัยแล้วจึงสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมการทดลอง พบว่าผู้ที่สนับสนุนโทษประหารชีวิตเห็นด้วยกับงานวิจัยที่สนับสนุนการประหารชีวิต มากกว่า ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ไม่สนับสนุนโทษประหารชีวิต ก็เห็นด้วยกับงานวิจัยที่ไม่สนับสนุนการประหารชีวิต มากกว่า โดยคนทั้งสองกลุ่ม ให้เหตุผลว่างานวิจัยที่ตรงกับสิ่งที่ตนคิดนั้นมีคุณภาพและน่าเชื่อถือมากกว่างานวิจัยที่ขัดกับความเชื่อของตนเอง ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล ...

เพลินภาษานานาสาระ l ลักษณะเฉพาะภาษาของภาษาไทย ที่ได้ชื่อว่าเกือบช้าที่สุดในโลก รู้ไหมว่า ‘ภาษาที่เร็วที่สุดในโลก’ คือภาษาญี่ปุ่น ส่วนภาษาไทยเกือบจะ ‘ช้า’ ที่สุดในโลก ว่าแต่เขาวัดกันยังไง? คำถามเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับภาษาต่างๆ อาจฟังดูเป็นประเด็นสำหรับนักภาษาศาสตร์ แต่ในความเป็นจริงก็มีคำถามพื้นๆ ที่น่าสนใจสำหรับคนทั่วไป เช่นคำถามง่ายๆ ว่า อะไรคือ ‘ภาษาที่เร็วที่สุดในโลก’ คือถามนี้ง่าย แต่ตอบยาก เพราะอะไรคือความเร็วของภาษา ซึ่งเอาจริงๆ ความเร็วอาจแบ่งได้เป็นสองทาง อย่างแรกคือ การใช้พยางค์น้อยและสื่อความได้ ‘เร็ว’ ที่สุด และอีกทางคือตรงข้าม กล่าวคือต้องใช้พยางค์จำนวนมากในการสื่อความและส่งผลให้คนพูดต้องพูดเร็วมากเพื่อให้สื่อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วภาษาไหนช้า ภาษาไหนเร็ว? ภาษาที่ช้า เขาบอกว่าคือภาษาเวียดนาม ช้ารองจากเวียดนามคือภาษาไทย ส่วนภาษาที่เร็ว โดยทั่วไปเขาจะถือว่าภาษาญี่ปุ่นยืนหนึ่ง โดยคำตอบนี้อยู่ในงานวิจัยที่ออกมาในปี 2019 ในวารสาร ...

เพลินภาษานานาสาระ l นางคณิกากับบทบาทในพระพุทธศาสนา คณิกา คือ หญิงผู้ชำนาญในการขับร้องฟ้อนรำบำเรอชาย ในอินเดียโบราณถือว่าเป็นคนสำคัญเชิดหน้าชูตา ดังนางตัวท็อปของเมืองในไทย ใช้เรียกนางโสเภณี สมัย ร.5 สำนักนางโลมที่ดังสุดๆ คือสำนักยายแฟง ดังคำว่า “ยายฟักขายแตง ยายแฟงขาย__” นางได้รวมเงินสมาชิกสร้างวัดขึ้น คือวัดคณิกาผล เรื่องราวนี้เกิดขึ้นเมื่อ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หญิงนางหนึ่งชื่อ แฟง มักเรียกกันว่า ยายแฟง เป็นเจ้าสำนักโสเภณีชื่อ “โรงยายแฟง” อยู่ที่ตรอกเต๊า ถนนเยาวราช มีศรัทธาในพุทธศาสนา จึงชวนหญิงโสเภณีในสำนักของนางเอารายได้จากการค้าประเวณีมาลงขันกันสร้างวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2376 วัดนี้ เดิมไม่ได้ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “วัดใหม่ยายแฟง” และนับตั้งแต่สร้าง ก็ได้เปิดทำสังฆกรรมต่อมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสู่ราชสมบัติแล้ว ลูกหลานของยายแฟงจึงบูรณะ ...

เพลินภาษานานาสาระ l ยิ้มสร้างสุข รอยยิ้มนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่เราใช้แทนความรู้สึกที่มีความสุขและความสนุกสนาน คนเราต่างมีเหตุผลมากมายที่จะยิ้มในแต่ละวัน ยิ้มเพื่อทักทายผู้อื่น ยิ้มเพื่อที่แสดงอารมณ์ที่รู้สึก ณ ขณะนั้น รอยยิ้มไม่ได้มอบเพียงความรู้สึกที่ดีให้กับตัวผู้ยิ้มและคนรอบข้างเท่านั้น การยิ้มยังอาจช่วยสร้างสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมถึงชีวิตที่ดีขึ้นในแบบที่คุณไม่รู้ตัว ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล ...