คำว่า “ก๋วยเตี๋ยว” อาจจะมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนหรือภาษาจีนแต้จิ๋ว โดยแต้จิ๋วอ่าน “ก๋วยเตี๊ยว” ฮกเกี้ยนอ่าน “ก๊วยเตี๋ยว” ส่วนในจีนกลางจะอ่านว่า “กั่วเถียว” (guǒtiáo) แปลว่า เส้นข้าวสุก เป็นคนละคำกับ 粉条/粉條 (fěntiáo) ที่หมายถึงวุ้นเส้น หรือ 面条/麵條 (miàntiáo) ที่หมายถึงบะหมี่
สันนิษฐานกันว่าก๋วยเตี๋ยวในประเทศไทยมีมาเมื่อประมาณสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็นช่วงที่ไทยมีการติดต่อกับชาวต่างชาติมากมาย ว่ากันว่าเป็นยุครุ่งเรืองของอาหาร เริ่มมีการดัดแปลงอาหารต่างชาติ ให้เข้ากับวัตถุดิบและรสชาติที่ถูกปากชาวอยุธยา เช่น ขนมทองหยิบ ทองหยอด จากโปรตุเกส หรือพวกแกงกะทิที่ได้รับอิทธิพลจากเปอร์เซีย คาดว่าชาวจีนก็ได้นำเอาก๋วยเตี๋ยวเข้ามากินกันในเรือ และเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับคนไทย
ดำเนินรายการโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล