SME CHAMPION : Business Model ตอนที่ 43 เจาะนวัตกรรมคู่แข่งด้วย ‘นวัตกรรมย้อนรอย’

SME CHAMPION : Business Model ตอนที่ 43 เจาะนวัตกรรมคู่แข่งด้วย ‘นวัตกรรมย้อนรอย’

นวัตกรรมย้อนรอยกลยุทธ์และข้อได้เปรียบที่อินเดียและจีนทำใช้เพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการพัฒนาประเทศ Reverse Innovation หรือนวัตกรรมย้อนรอยเป็นโมเดลธุรกิจที่หลายองค์กรเริ่มตื่นตัวและปรับรูปแบบธุรกิจไปแล้ว เนื่องจากกลยุทธ์นี้เป็นแนวคิดการผลิตสินค้าที่สวนทางจากหลักการเดิมๆ ไปเลย

ปกติเวลาที่บริษัทจะผลิตสินค้ามักจะทำเพื่อตอบสนองกับตลาดที่มีศักยภาพเป็นหลัก เช่น ตลาดสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เป็นต้น ก่อนจะกระจายไปประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเลย คือ สินค้าจากแบรนด์ระดับ Hi-end อย่าง Hermes ร้องเท้ากีฬา Nike บางรุ่น หรือแม้กระทั่งสมาร์ทโฟนอย่าง Apple ที่จะเข้าประเทศพัฒนาแล้วก่อน

แต่ระยะหลังหลายปีที่ผ่านมานวัตกรรมย้อนรอยถูกนำมาใช้มากขึ้น เพื่อการพัฒนาสินค้าให้ตอบสนองประเทศที่กำลังพัฒนาแทน ทำให้เป็นรูปแบบโมเดลสวนทางกับรูปแบบระบบเดิมอย่างสิ้นเชิง ประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศที่ต้องการสินค้าคุณภาพเดียวกับฝั่งพัฒนาแล้ว แต่อยู่ในราคาเอื้อมถึง

ซึ่งที่ Vijay Govindarajan และ Chris Trimble สองศาสตราจารย์แห่ง Dartmouth University จำกัดความไว้คำนี้ไว้ว่าคือ Reverse innovation หรือนวัตกรรมย้อนรอย ที่สร้างสินค้าเพื่อตลาดเกิดใหม่ โดยใช้แกะรอยนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์สินค้าที่ผลิตให้กับญี่ปุ่นสหรัฐฯ เยอรมนี เป็นต้น จากนั้นก็ผลิตโดยอาจเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ ลดต้นทุนบางอย่างเพื่อนําไปขายในประเทศกำลังพัฒนาที่ลูกค้าเรียกร้องหาสินค้าราคาถูกลง เช่น เครื่องมือแพทย์ที่ต้องใช้แบตเตอรี่หรือพาหนะที่ผลิตขึ้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อตอบสนองต่อประเทศมีรายได้น้อย ด้วยการผลิตสินค้าที่มีราคาถูกลง ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่าเป็น Trickle-up Innovation

ทำไมเราถึงใช้จีนกับอินเดียเป็นโมเดลธุรกิจ?
ในอดีตประเทศอย่างอินเดียและจีน ก็เคยเป็นประเทศที่มีรายได้น้อยมาก่อน แต่กลับกลายมาเป็นตลาดที่น่าสนใจได้ ทำให้ในช่วงหลังมานี้มีหลากหลายบริษัทได้เข้าไปเปิดแผนกวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในประเทศเหล่านี้ เพื่อที่จะนำสินค้านวัตกรรมไปเผยแพร่ให้กับผู้บริโภคในท้องถิ่น ซึ่งเป็นที่น่าสนใจเพราะหลายบริษัทนั้นขายสินค้าได้เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ จนทำให้ธุรกิจประเภทนี้เกิดขึ้นมา ยิ่งเป็นสินค้าที่มีราคาถูกก็ยิ่งเป็นที่น่าสนใจ และเหมาะสมที่จะขาย

ไม่เพียงแต่แค่จีนและอินเดียเท่านั้น หากเรามองไปที่ประเทศเพื่อนบ้านเราตอนนี้อย่างเมียนมาจากเมื่อ 3 – 4 ปีก่อน ที่แค่สัญญาณโทรศัพท์ก็ติดๆ ดับๆ แล้วนั้น ตอนนี้มี 4G ที่ไหลลื่นมาก โครงสร้างพื้นฐานที่หลายคนมองว่าเมืองไทยเท่านั้นที่จะสร้างได้และประเทศด้อยพัฒนาต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี ถึงจะตามนวัตกรรมเหล่านี้ได้ทัน ตอนนี้เปลี่ยนไปแล้วด้วยสิ่งที่เรียกว่า นวัตกรรมย้อนรอย จนหลายประเทศเกิดปรากฏการณ์ Leap Frog ที่โตอย่างก้าวกระโดด โดยใช้เวลาน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้วที่แต่ก่อนกว่าจะคิดค้นนวัตกรรมเจ๋งๆ ได้ใช้เวลา 40 – 50 ปี แต่ประเทศเหล่านั้นกลับตามนวัตกรรมประเทศพัฒนาแล้วได้ทันโดยใช้การ Reverse innovation แทน

ธุรกิจประเภทนี้เป็นที่น่าสนใจมากถ้าเรามีการวิจัยและพัฒนาที่มากพอ หรือมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ก่อนที่น่าจะสินค้าเหล่านี้ไปตั้งไว้ที่ตลาดเกิดใหม่ (Emerging countries) เช่น อินเดีย และจีน เพื่อให้ได้กลุ่มลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น

Read more at: https://www.digitalbusinessconsult.as… #SME_Champion 19.30-20.00

โดย ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร และ ปิยะพงษ์ เคนทวาย