English Around You l การบอกปฏิเสธอย่างไรไม่ให้เขาเสียใจในภาษาอังกฤษ

English Around You l การบอกปฏิเสธอย่างไรไม่ให้เขาเสียใจในภาษาอังกฤษ
– ‘Slang’ หรือคำสแลงคืออะไร?
.
โดย อ.ชนฎนาถ จินศรี
และ อ.พุทธนาถ สวัสดิ์โยธิน
.
ออกอากาศ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ติดตามรับฟังได้ทาง #RmuttRadio #Englisharoundyou #ภาษาอังกฤษ #สนทนาภาษาอังกฤษ #วิทยุราชมงคลธัญบุรี #แกรมม่า #สำนวนอังกฤษ

————————————————————————-
การบอกปฏิเสธอย่างไรไม่ให้เขาเสียใจในภาษาอังกฤษ
เวลาที่เราได้รับการเรียนเชิญให้ไปที่ไหน หรือทำอะไรสักอย่าง โดยที่เราเองก็ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะทำเช่นนั้น
หรือไม่สามารถที่จะทำเช่นนั้นตามที่ถูกร้องขอได้ การปฏิเสธเป็นทางออกเดียวที่เราทำได้
แต่การปฏิเสธก็ย่อมทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเสียใจและผิดหวังด้วย
เพราะฉะนั้นเราจะต้องหาวิธีการปฏิเสธที่ดีที่สุดที่จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกแย่น้อยมากที่สุด
เวลาพูดภาษาอังกฤษการใช้คำว่า ‘No’ หรือ ‘I cannot’
ก็จะทำให้รู้สึกห้วนเกินไปและฟังดูไร้ความใส่ใจถึงความรู้สึกของคนถามอย่างมาก
ทำให้เราดูเหมือนคนใจดำไปเลย เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากกลายเป็นคนใจร้าย
เราจะมาดูวิธีพูดปฏิเสธแบบน่ารัก ๆ แบบสุภาพนอบน้อม และรักษาน้ำใจอีกฝ่ายกัน
เรามาดูวิธีการบอกปฏิเสธแบบรักษาน้ำใจในสถานการณ์ต่าง ๆ กันนะคะ
1. การบอกปฏิเสธการเชิญชวนให้ไป
 Thank you for the invite! I would really love to go, but I have other plans that day.
(ขอบคุณสำหรับคำเชิญมากเลย ฉันอยากไปจริง ๆ แต่มีงานอื่นในวันนั้นพอดี)

 Thanks for inviting! I wish I could make it, but I really can’t.
(ขอบคุณที่เชิญนะ ฉันอยากไปมากเลย แต่ไปไม่ได้จริง ๆ )
 I can’t go that day but can we hang out another day? Sorry!
(ฉันไปวันนั้นไม่ได้ เราไปกันวันอื่นแทนได้ไหม? ขอโทษจริง ๆ)
 
2. การบอกปฏิเสธการเชิญชวนให้ทำ
 My hands are full right now, sorry!
(ฉันยุ่งสุด ๆ งานล้นมือเลยตอนนี้ ต้องขอโทษด้วยนะ)
 I wish I could help you with that but I really can’t.
(ฉันหวังว่าจะสามารถช่วยอะไรเธอได้ แต่ฉันทำไม่ได้จริง ๆ)
 I would love to do that for you but I am asked to…
(ฉันอยากช่วยเธอนะ แต่ฉันถูกสั่งให้ (ทำ) …
3. การบอกปฏิเสธรับสิ่งของ
 Thank you so much for this but I can’t accept it. I am so sorry!
(ขอบคุณมาก ๆ สำหรับสิ่งนี้ แต่ฉันรับไว้ไม่ได้จริง ๆ ขอโทษด้วยนะ)
 I can’t express how happy I am to receive this, but I really can’t have this.
(ฉันดีใจมากจริง ๆ ที่ได้รับสิ่งนี้ แต่ฉันไม่สามารถรับไว้ได้จริง ๆ นะ)
 As much as I would like to accept this, I really can’t.
(ถึงฉันจะอยากรับมันไว้ แต่ฉันไม่สามารถทำแบบนั้นได้จริง ๆ)

คำสแลงที่คุณควรรู้
คำสแลงเป็นส่วนสำคัญของการสนทนาในภาษาอังกฤษ
โดยทั่วไปแล้วคำสแลงของชาวอเมริกันเต็มไปด้วยวลีและคำศัพท์ที่ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว
บางคนที่ไม่ค่อยได้ยินก็อาจจะงงไปตาม ๆ กัน
ดังนั้นการเรียนรู้คำสแลงนั้นมีประโยชน์ที่หลากหลายและยังเป็นตัวช่วยสำคัญให้เราสามารถเข้าใจสถานการณ์
ทั่วไปได้ดีขึ้น

ในต่างประเทศหรือระหว่างการสนทนากับชาวต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หัดพูดหรือผู้พูดภาษาอังกฤษมากประสบการณ์แล้วก็ตาม
มันเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจคำศัพท์สแลงแบบอเมริกันและความหมายของคำเหล่านี้เพื่อ
ไม่ให้เกิดความมึนงงหรือการเข้าใจผิดในการสื่อความหมาย
ต้องเข้าใจก่อนว่า ‘Slang’ หรือคำสแลงคืออะไร?
‘Slang’ หรือ คำสแลง หมายถึงคำศัพท์หรือวลีที่ไม่เป็นทางการแต่มีการใช้อย่างแพร่ลายในชีวิตประจำวัน
โดยคำศัพท์หรือวลีเหล่านี้จะไม่สามารถค้นหาได้หรือพบเจอได้ใน dictionary (พจนานุกรม) หรือ
encyclopedia (สารานุกรม) ได้ เนื่องจากคำสแลงหรือวลีสแลงนั้นสามารถมีหลายความหมายได้
เราจึงจะต้องใส่ใจกับบริบทของการสนทนาอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะใช้ได้อย่างถูกต้องและฝึกสแลงภาษาอังกฤษกั
บเพื่อน ๆ ให้ได้ก่อนที่จะนำไปใช้กับคนแปลกหน้าได้อย่างไม่หน้าแตก
แบบไม่ต้องกลัวปล่อยไก่ตัวเบอเร่อต่อหน้าเจ้าของภาษา!

และที่สำคัญ! อย่าลืมว่า คำสแลงมีไว้สำหรับการสนทนาทั่วไป จึงไม่ควรนำไปใช้ในบริบทที่เป็นทางการ
เราจะได้ยินวลีสแลงอเมริกันมากมายในทีวีและภาพยนตร์ยอดนิยม และอีกอย่างคือ!
ถ้าคิดว่าคำสแลงภาษาอังกฤษเหล่านี้จะใช้ได้ ‘ทั่วทุกพื้นที่’ – ต้องคิดใหม่! เพราะโดยทั่วไปแล้วประเทศต่าง ๆ
ก็มีชุดคำสแลงภาษาอังกฤษที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง
วันนี้ เราจะมาเน้นที่คำสแลงทั่วไปในสหรัฐอเมริกากันค่ะ
5 คำสแลงที่ควรรู้
1. What’s up – แปลว่า ‘เป็นอย่างไรบ้าง สบายดีไหม’
ตัวอย่าง
A: “What’s up Tom?” สบายดีไหมทอม
B: “Not much but still good as the old days!”
ไม่ค่อยมากแต่ก็ยังดีเหมือนวันเก่า!”
2. I feel you – แปลว่า ‘ฉันเข้าใจเลยแหละ’
ตัวอย่าง
A: “Are girls usually moody all the time? I can’t keep up with Sally’s mood swings.”
“ผู้หญิงมักจะอารมณ์เสียตลอดเวลาหรือเปล่า? ฉันตามอารมณ์ที่แปรปรวนของแซลลี่ไม่ทัน”

B: “I feel you, James.”
ฉันเข้าใจเลยแหละเจมส์
3. Same here –การใช้เป็นสแลงนั้นจะแปลว่า ‘เห็นด้วยเหมือนกัน’
ตัวอย่าง
A: “I am having a hard time memorizing the script.”
“ฉันมีช่วงเวลาที่ยากในการจำสคริปต์”
B: “Same here!”
"เห็นด้วยเหมือนกัน!"

4. My bad – แปลว่า ‘ฉันผิดเอง’
ตัวอย่าง
A: “Why is there a stain here?”
“ทำไมถึงมีรอยเปื้อนตรงนี้”
B: “Oops, my bad! I was supposed to clean it yesterday but I forgot.”
“อุ๊ย ฉันผิดเอง! ฉันกะจะทำความสะอาดมันเมื่อวานแล้ว แต่ฉันลืม”
5. No worries/ no biggie/ no big deal/ no sweat – แปลว่า ‘ไม่มีปัญหา’
ตัวอย่าง
A: “Anne, I am so sorry I called your mom yesterday, I know you’re upset.”
“แอนน์ ฉันขอโทษจริง ๆ ที่โทรหาแม่ของเธอเมื่อวานนี้ ฉันรู้ว่าเธออารมณ์เสีย”
B: “No sweat, really! I was just moody, that’s all.”
“ไม่มีปัญหาจริง ๆ! ฉันก็แค่อารมณ์เสีย แค่นั้นแหละ”
 

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก https://www.enghero.com/

เดี๋ยวเราจะให้ท่านผู้ฟังพักฟังเพลงเพราะ ๆ ต่อ จากทางสถานี

แล้วกลับมาพบกับพวกเราในช่วงสุดท้ายของรายการ English around You ติดตามฟังกันให้ได้นะคะ

ว่าเราจะนำสำนวนอะไรมาฝากกัน อย่าเพิ่งเปลี่ยนช่องไปไหนนะคะ

กลับมาพบกันต่อในช่วงที่ 2 ของรายการ English around You อีกแล้วนะคะ ทางคลื่น FM 89.5 MHz

สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
คลื่นเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตค่ะ

‘Slang’ หรือคำสแลงคืออะไร?
‘Slang’ หรือ คำสแลง หมายถึงคำศัพท์หรือวลีที่ไม่เป็นทางการแต่มีการใช้อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน
โดยคำศัพท์หรือวลีเหล่านี้จะไม่สามารถค้นหาได้หรือพบเจอได้ใน dictionary (พจนานุกรม) หรือ
encyclopedia (สารานุกรม) ได้ เนื่องจากคำสแลงหรือวลีสแลงนั้นสามารถมีหลายความหมายได้
เราจึงจะต้องใส่ใจกับบริบทของการสนทนาอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะใช้ได้อย่างถูกต้องและฝึกสแลงภาษาอังกฤษกั
บเพื่อน ๆ ให้ได้ก่อนที่จะนำไปใช้กับคนแปลกหน้าได้อย่างไม่หน้าแตก
แบบไม่ต้องกลัวปล่อยไก่ตัวเบอเร่อต่อหน้าเจ้าของภาษา!

และที่สำคัญ! อย่าลืมว่า คำสแลงมีไว้สำหรับการสนทนาทั่วไป จึงไม่ควรนำไปใช้ในบริบทที่เป็นทางการ
เราจะได้ยินวลีสแลงอเมริกันมากมายในทีวีและภาพยนตร์ยอดนิยม และอีกอย่างคือ!
ถ้าคิดว่าคำสแลงภาษาอังกฤษเหล่านี้จะใช้ได้ ‘ทั่วทุกพื้นที่’ – ต้องคิดใหม่! เพราะโดยทั่วไปแล้วประเทศต่าง ๆ
ก็มีชุดคำสแลงภาษาอังกฤษที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง
วันนี้ เราจะมาเน้นที่คำสแลงทั่วไปในสหรัฐอเมริกากันค่ะ
5 คำสแลงที่ควรรู้
1. What’s up – แปลว่า ‘เป็นอย่างไรบ้าง สบายดีไหม’
ตัวอย่าง
Ann: “What’s up Tom?” สบายดีไหมทอม
Tom: “Not much but still good as the old days!”

ไม่ค่อยมากแต่ก็ยังดีเหมือนวันเก่า!”
2. I feel you – แปลว่า ‘ฉันเข้าใจเลยแหละ’
ตัวอย่าง
James: “Are girls usually moody all the time? I can’t keep up with Sally’s mood
swings.”
“ผู้หญิงมักจะอารมณ์เสียตลอดเวลาหรือเปล่า? ฉันตามอารมณ์ที่แปรปรวนของแซลลี่ไม่ทัน”
Liam: “I feel you, James.”
ฉันเข้าใจเลยแหละเจมส์
3. Same here –การใช้เป็นสแลงนั้นจะแปลว่า ‘เห็นด้วยเหมือนกัน’
ตัวอย่าง
A: “I am having a hard time memorizing the script.”
“ฉันมีช่วงเวลาที่ยากในการจำสคริปต์”
B: “Same here!”
"เห็นด้วยเหมือนกัน!"

4. My bad – แปลว่า ‘ฉันผิดเอง’
ตัวอย่าง
A: “Why is there a stain here?”
“ทำไมถึงมีรอยเปื้อนตรงนี้”
B: “Oops, my bad! I was supposed to clean it yesterday but I forgot.”
“อุ๊ย ฉันผิดเอง! ฉันกะจะทำความสะอาดมันเมื่อวานแล้ว แต่ฉันลืม”
5. No worries/ no biggie/ no big deal/ no sweat – แปลว่า ‘ไม่มีปัญหา’
ตัวอย่าง
Daniel: “Anne, I am so sorry I called your mom yesterday, I know you’re upset.”
“แอนน์ ฉันขอโทษจริง ๆ ที่โทรหาแม่ของเธอเมื่อวานนี้ ฉันรู้ว่าเธออารมณ์เสีย”
Anne: “No sweat, really! I was just moody, that’s all.”
“ไม่มีปัญหาจริง ๆ! ฉันก็แค่อารมณ์เสีย แค่นั้นแหละ”

การขอความช่วยเหลือเป็นภาษาอังกฤษ
โดยจะเป็นการขอความช่วยเหลือแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ นะคะ เราสามารถพูดเป็นภาษาอังกฤษได้ ดังนี้
 I need assistance = แปลว่า ต้องการความช่วยเหลือในการทำอะไรบางอย่าง
ตัวอย่าง: I need assistance in the surgery room. ฉันต้องการความช่วยเหลือในห้องผ่าตัด
 Could you lend me a hand? = แปลว่า ช่วยฉันทีจะได้ไหม
ตัวอย่าง: Could you lend me a hand to fix this? คุณช่วยฉันซ่อมสิ่งนี้หน่อยได้ไหม
 Would you do me a favor? = แปลว่า ช่วยอะไรฉันหน่อยสิ
ตัวอย่าง: Would you do me a favor in locking that door? Thanks.
คุณช่วยล็อคประตูนั้นให้ฉันหน่อยได้ไหมคะ ขอบคุณค่ะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก https://www.enghero.com/