หน่วยวิจัยจึงได้ทำการอัพไซคลิ่งขยะหน้ากากอนามัยที่เรียกได้ว่าเป็นขยะอันตรายกว่าขยะพลาสติกทั่วไป เริ่มจากการกำจัดเชื้อโรคหรือทำความสะอาดหน้ากากอนามัยใช้แล้วในเบื้องต้นด้วยการพ่นด้วยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค แล้วอบไอน้ำแรงดันสูง ก่อนนำไปใช้งานเป็นวัสดุเสริมแรงในการผลิตวัสดุก่อสร้างและวัสดุตกแต่งอาคาร จัดสวน เช่น บล็อกก่อผนังมวลเบา อิฐบล็อกประสาน บล็อกปูพื้น ฝ้าเพดาน ขยะหน้ากากอนามัยมีความเหนียว สามารถเสริมความแข็งแรงให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้จากกรรมวิธีการผลิตคอนกรีต ช่วยรับแรงดึง แรงดัดและช่วยลดการแตกร้าวให้กับผลิตภัณฑ์ มีน้ำหนักเบา เป็นฉนวนความร้อนที่ดีขึ้นได้และยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงาน DIY เป็นกระถางต้นไม้ได้ ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 0-2549-3410
หน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มทร.ธัญบุรี นำขยะหน้ากากอนามัยเหลือทิ้งมา “อัพไซเคิล” สร้างมูลค่าเพิ่ม
อาจารย์ประชุม คำพุฒ หัวหน้าหน่วยวิจัยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เปิดเผยว่า ปัจจุบันหน้ากากอนามัยมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิต เปรียบเหมือนเป็นอุปกรณ์ที่ต้องมีติดตัวตลอดเวลา โดยจากข้อมูลของหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข ให้ความรู้แนวทางการกำจัดว่า “หน้ากากอนามัยแบบธรรมดาไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ แต่พอทิ้งไปแล้วสามารถที่จะย่อยสลายเองได้ เนื่องจากใช้วัสดุที่ทำจากใยสังเคราะห์ ไม่เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมแน่นอน ส่วนหน้ากากอนามัยที่เป็นผ้าสามารถนำไปซักแล้วนำกลับมาใช้ได้เลย แต่หากเป็นหน้ากากอนามัยหรือผ้าที่ใช้แล้วจากโรงพยาบาล ให้ใช้วิธีกำจัดแบบเดียวกับขยะติดเชื้อของโรงพยาบาล