SME CHAMPION : ส่องเทคนิค ORCHESTRATOR ของ ADIDAS

BUSINESS MODEL ตอน ส่องเทคนิค ORCHESTRATOR ของ ADIDAS

Orchestrator คือ ธุรกิจที่จะสนใจแต่ความสามารถหลัก (Core competencies) ของตัวเอง และส่วนอื่นๆ นั้นมักจ้าง Outsourced ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ มาทำงานในส่วนนั้น ซึ่งความสามารถหลักก็คือความสามารถ (Ability) ที่บริษัทอื่นๆ ยากที่จะเลียนแบบได้ จนกลายเป็นจุดขายที่นำมาใช้แข่งขันในอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

หากนึกไม่ออกเราจะพาทุกคนย้อนกลับไปเมื่อปี 2013 ช่วงนั้นตลาด Sneaker ถูกครอบครองด้วย Nike และเทคโนโลยีพื้นรองเท้าอย่าง Air ของ Nike Air Max มาอย่างยาวนานหลาย 10 ปี

ซึ่ง Adidas ก็อยากตอบโต้กลับบ้าง ในเมื่อเขาเองก็มีจุดแข็งด้านเครื่องข่ายคอนเนคชั่น การตลาด พรีเซนเตอร์ตัวท็อปอย่าง Kanye west และยังความแข็งแกร่งของแบรนด์เครื่องหมายการค้า Adidas อีก แบรนด์ 3 ขีดนี้จึงจ้าง Outsourced สถาบันวิจัย BASF ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เคมีภัณฑ์ เพื่อพัฒนาเทคโยโลยีด้วยการออกแบบเม็ดโฟมที่เรียกว่า Energy Capsules (นวัตกรรมที่ช่วยคืนพลังงานให้ผู้สวมใส่) มาอัดเป็นพื้นรองเท้า ให้สัมผัสที่นุ่มสบาย เเละลดการกระเเทกได้เป็นอย่างดี อย่าง Adidas Ultra boost และรุ่น Limited Edition อย่าง Yeezy boost (ทำร่วมกับ Kanye west หนึ่งในเซเลบริตี้ที่มีอิทธิพลต่อการใช้สินค้าของคนทั้งโลก)

ประโยชน์ของโมเดลธุรกิจแบบ ORCHESTRATOR
แน่นอนว่า การทำธุรกิจแบบนี้คือ ทำให้บริษัทได้รับความร่วมมือจาก Partners อย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็น Partners ที่มีความสามารถเฉพาะทางและมีความชำนาญในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตสินค้าได้ ซึ่ง Adidas ที่มีจุดแข็งด้านแบรนด์ การกระจายสินค้า และการตลาด ก็เลือกที่จะสร้างความแตกต่างเพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งด้วยการจ้าง Outsourced เพื่อวิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยที่ Partners ก็ไม่ได้ขายสิทธิบัตรในรายอื่นๆ ส่วน Nike ใช่ Outsourced Production โดยให้ประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำผลิตสินค้าให้กับ Nike เช่น อินโดนีเซีย จีน ไทย เวียดนาม เพื่อที่ Nike เองจะได้สนใจแต่ในเรื่องของการทำวิจัยและพัฒนาสินค้า การออกแบบดีไซน์สินค้าใหม่ๆ การตลาด ซึ่งการที่ Nike สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายการทำ Outsourced และโฟกัสในงานหลักนั้น ทำให้ Nike ได้เปรียบคู่แข่ง และสามารถก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทอันดับต้นๆ ในอุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬา ทำให้ราคาของ Nike React อยู่ที่ 5,500 – 6,100 ส่วน Adidas Ultra boost อยู่ที่ 7,200 – 8,000 บาท ขณะที่รุ่น Limited Edition อย่าง Yeezy boost ราคา Re-sale บางรุ่นเหยียบ 70,000 บาท

การจะเป็น Orchestrator ได้นั้น เราจำเป็นที่จะเข้าใจจุดแข็งของบริษัทเราก่อน โดยเฉพาะถ้าบริษัทเรามีขั้นตอน หรือ Value chain ที่มีขนาดใหญ่ ในฐานะผู้ควบคุม เราควรที่จะสนใจแค่เพียงขั้นตอนที่สำคัญ ส่วนที่เหลือนั้นก็สามารถหาเอา Outsource ได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายแต่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับบริษัท การที่จะทำให้ธุรกิจประเภทนี้ประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นที่จะต้องจัดการ Partners ที่มีความหลากหลายให้ได้

อ้างอิงจาก :: https://www.digitalbusinessconsult.as… #SME_Champion 19.30-20.00 โดย ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร และ ปิยะพงษ์ เคนทวาย