Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the pixwell domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/html/wp-includes/functions.php on line 6121
ชีวิตวัฒนธรรม – สืบที่มาของกาละแม ภูมิปัญญาขนมไทย – www.radio.rmutt.ac.th

ชีวิตวัฒนธรรม – สืบที่มาของกาละแม ภูมิปัญญาขนมไทย

ชีวิตวัฒนธรรม – สืบที่มาของกาละแม ภูมิปัญญาขนมไทย
.
กาละแมเป็นขนมไทยโบราณ จัดเป็นขนมประเภทกวนมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก สามารถใช้วัตถุดิบ ที่หาได้ในท้องถิ่น กาละแมเมื่อกวนเสร็จแล้วจะมีลักษณะเป็นแป้งเหนียวสีน้ำตาลอมดำ มีรสชาติหอมหวานและอร่อยสามารถเก็บไว้ได้นาน รสชาติของกาละแมที่นิยมมากมีหลายรสด้วยกัน อาทิ กาแฟ ขนม และใบเตย
.
กาละแมเป็นขนมหนึ่งในสามที่นิยมทำช่วงปีใหม่ไทย(วันสงกรานต์)และงานพิธีต่างๆ เช่น งานอุปสมบทและงานแต่งงาน ซึ่งก่อนถึงวันงานประมาณ 2-3 วัน เจ้าภาพจะบอกกล่าวเพื่อนบ้านในละแวกเดียวกันมาช่วยกวนขนมกาละแมเพื่อใช้ในงาน เช่น ใส่ขันหมากและการเซ่นตายาย(ไหว้บรรพบุรุษ) ในพิธีแต่งงานนิยมใช้ขนมกาละแมเพราะเชื่อว่าเนื้อขนมกะละแมมีความเหนียวต้องใช้เวลาในการกวน เสมือนคู่สมรสที่ต้องอาศัยความรัก ความอดทน ร่วมแรงร่วมใจจึงจะทำให้ความรักเหนียวแน่น สำหรับงานอุปสมบทนิยมใช้ขนมกาละแม เป็นของหวานสำหรับเลี้ยงพระและแขกที่ไปร่วมงาน
.
กาละแมจัดเป็นขนมไทยที่ขึ้นชื่อ(มีชื่อเสียง)ประจำจังหวัดพัทลุง เป็นขนมที่ดัดแปลง มาจาก”ยาหนม”ซึ่งเป็นขนมพื้นเมืองของคนภาคใต้ นิยมทำกันมากที่บ้านนางลาด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวจังหวัดพัทลุง ทำจากข้าวเหนียวที่โม่อย่างละเอียดผสมน้ำกะทิ น้ำผึ้งเหลว(น้ำตาลโตนด) การทำต้องเคี่ยวน้ำผึ้งกับน้ำกะทิจนเกือบแห้ง จึงใส่แป้งแล้วกวนในกระทะใบบัว ใช้ไม้พายกวนด้วย (ไม้พายด้ามเป็นไม้เนื้อแข็ง ตรงปลายใช้เหล็กแบน)การกวนต้องกวนให้แห้งมีน้ำมันออกจากขนม ขนมจะล่อนกลิ้งเป็นมันไม่ติดกระทะ จึงตักใส่ถาดสามารถเก็บไว้ได้นานไม่เสียรสชาติ เมื่อต้องการจะรับประทานก็ต้องตัดจากถาด เป็นชิ้นยาวๆ จึงไม่ค่อยสวยงาม และไม่สะดวกในการรับประทาน
.
หาความรู้กับ อาจารย์พนอ ธรรมเนียมอินทร์ ผู้ดำเนินรายการชีวิตวัฒนธรรม
ทุกวันเสาร์ 4.30 – 5.00 น. ทาง FM 89.5 MHz

popular posts