English Around You l การเลือกใช้ Synonyms ให้เหมาะสม

English Around You l การเลือกใช้ Synonyms ให้เหมาะสม
– การใช้งาน Because / Since / As  ในการเขียน Essay

.
โดย อ.ชนฎนาถ จินศรี
และ อ.พุทธนาถ สวัสดิ์โยธิน
.
ออกอากาศ 26 มีนาคม 2567
ติดตามรับฟังได้ทาง #RmuttRadio #Englisharoundyou #ภาษาอังกฤษ #สนทนาภาษาอังกฤษ #วิทยุราชมงคลธัญบุรี #แกรมม่า #สำนวนอังกฤษ
————————————————————–
การเลือกใช้ Synonyms ให้เหมาะสม
Synonyms คือ คำศัพท์ที่ความหมายเหมือน หรือ ใกล้เคียงกัน อย่างที่เราพอจะทราบกันอยู่แล้วนะคะ
หลาย ๆ ท่าน พยายามท่อง Synonyms เพื่อจะได้สามารถใช้คำศัพท์ที่หลากหลายขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นตอนพูดหรือตอนเขียน
เอาจริงๆ ก็เข้าใจถูกค่ะว่า Synonyms มีประโยชน์ ช่วยทำให้เราเลี่ยงการใช้คำศัพท์ซ้ำซาก  แต่ก็ไม่ได้แปลว่า
การจะเปลี่ยนจากคำหนึ่ง ไปใช้อีกคำ จะทำได้ตลอดนะคะ
เพราะมีเรื่องของ Collocations หรือการใช้คำศัพท์ให้เหมาะสมกับบริบท มาเกี่ยวข้องด้วย
ในวันนี้ ขอยกตัวอย่าง Synonyms สัก 2 คู่ ที่ต้องระวังการใช้แทนกัน นะคะ
คู่ที่ 1
Do VS Make
do กับ make แปลว่า ทำ เหมือนกัน แต่ส่วนมากกลับไม่สามารถใช้แทนกันได้ มาทำความเข้าใจ
จุดแตกต่างหลักๆ กันค่ะ
    Difference 1
 do  เน้นการ “ทำ” บางสิ่งให้สมบูรณ์ โดยไม่มีการสร้างอะไรให้เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง
เช่น

My sister is doing homework, and I am helping my mom doing housework.
น้องสาวฉันกำลังทำการบ้าน และ ฉันกำลังช่วยแม่ทำงานบ้าน
  make  เน้นการ “ทำ” บางสิ่งขึ้นมาใหม่เลย ประมาณว่า เป็นการผลิต หรือ คิดค้น 
ตัวอย่างที่โดนเด่น คือ เวลาที่เราอ่านฉลากข้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทุกวันนี้ จะเจอ “Made in China’
เป็นหลักกันเลย ใช่ไหมคะ ตัวอย่างประโยคเพิ่มเติม ดังนี้ค่ะ
  These bags are made of recycled plastic bottles.
กระเป๋าเหล่านี้ ผลิตจากขวดพลาสติกรีไซเคิล
    Difference 2
 do  เน้นใช้กับ ‘กิจกรรมที่ไม่เฉพาะเจาะจง’ มักจะใช้กับ  everything, something, nothing, anything
เป็นต้น
เช่น
Spoiled kids often do anything to get what they want.
เด็กสปอยมักจะทำอะไรก็ตาม เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ
Some people feel guilty doing nothing.
คนบางคนรู้สึกผิดที่ไม่ทำอะไรเลย
  make  เน้นใช้กับ ‘การกระทำ ผลของการกระทำ  ความสัมพันธ์
 รวมถึงคำที่เกี่ยวกับการวางแผนและการตัดสินใจ’ สรุป คือ เป็นอะไรที่เฉพาะเจาะจงเลยทีเดียวค่ะ
เช่น
My daughter always makes me proud.
ลูกสาวฉันทำให้ฉันภูมิใจเสมอ
Kids find it difficult to make friends when they change schools.
เด็ก ๆ รู้สึกว่ามันยากที่จะหาเพื่อนใหม่ เมื่อเปลี่ยนโรงเรียน

คู่ที่ 2
Learn VS Study
learn กับ study แปลว่า เรียน เหมือนกัน
   Similarities
ในบางประโยค ทั้งสองคำสามารถใช้แทนกันได้
เช่น
Some students prefer to learn Chinese.
Some students prefer to study Chinese.
นักเรียนบางคนชอบที่จะเรียนภาษาจีนมากกว่า
   Differences
 study เน้นการเรียนจากหนังสือ อ่าน จดจำเนื้อหาจากแหล่งความรู้ต่างๆ
ส่วนมากจะเป็นการตั้งใจที่จะเล่าเรียนบางสิ่ง เพื่อสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มักจะเป็นรูปแบบการเรียนที่จริงจัง
 learn  คือ เรียนรู้จากประสบการณ์ในชีวิต
ดังนั้น สองคำนี้ จึงไม่สามารถใช้สลับกันได้เลยจริงๆ
ทีนี้ มาดูตัวอย่างที่ขอแนะนำให้จำไว้ให้ดีเลยนะคะ เพราะจะทำให้เข้าใจความแตกต่างของสองคำนี้ได้ทันที
แบบอัตโนมัติ เลยล่ะ
You may forget what you have studied, but you will never forget what you have learnt.
คุณอาจจะลืมสิ่งที่คุณเล่าเรียนมา แต่คุณจะไม่มีวันลืมสิ่งที่คุณได้เรียนรู้มา
 ลองมาศึกษาอีกสัก 1 ตัวอย่างกันค่ะ
I have learnt a lesson, and I won’t do it again.

ฉันได้รับบทเรียนแล้ว และฉันจะไม่ทำมันอีก
ในประโยคนี้ เราไม่สามารถใช้ study แทนได้เช่นกัน เพราะ “learn a lesson” เป็นสำนวนที่แปลว่า
“ได้รับบทเรียน” ที่สำคัญ learn ในที่นี้ แปลว่า เรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่การเล่าเรียนในห้องเรียนนะคะ
               

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก https://www.oxbridge.in.th/

เดี๋ยวเราจะให้ท่านผู้ฟังพักฟังเพลงเพราะ ๆ ต่อ จากทางสถานี

แล้วกลับมาพบกับพวกเราในช่วงสุดท้ายของรายการ English around You ติดตามฟังกันให้ได้นะคะ

ว่าเราจะนำสำนวนอะไรมาฝากกัน อย่าเพิ่งเปลี่ยนช่องไปไหนนะคะ

กลับมาพบกันต่อในช่วงที่ 2 ของรายการ English around You อีกแล้วนะคะ ทาง FM 89.5

Innovation for life นวัตกรรมเพื่อชีวิต

การใช้งาน Because / Since / As  ในการเขียน Essay
การเขียน essay แสดงความคิดเห็นนั้น จำเป็นจะต้องมีการแสดงความคิดเห็น อธิบายเหตุและผล
ของปัญหาหรือสถานการณ์ต่างๆ ตามที่โจทย์กำหนดมาค่ะ 
ดังนั้น เราจึงมีโอกาสต้องใช้คำเชื่อมประโยคเพื่อแสดงเหตุผลต่างต่างนานา
ถ้าจะใช้แต่คำว่า because มาเชื่อมประโยคก็จะน่าเบื่อเกินไป
แนะนำให้ลองเปลี่ยนเป็น synonyms  อย่างคำว่า since กับ as กันดูนะคะ   
ตัวอย่าง เช่น 
Some individuals prefer online copies instead of printed materials because they are already
adjusted to using laptops or gadgets.  
บางคนชอบฉบับออนไลน์มากกว่าฉบับพิมพ์เป็นเล่มๆ เพราะ พวกเขาได้ปรับตัวให้คุ้นกับการใช้ laptops หรือ
 gadget ต่างๆ แล้ว 

ประโยคหน้าเป็นผลลัพธ์ ส่วนประโยคหลัง เป็นสาเหตุ  
ในการเขียน essay 1 เรื่องมีโอกาสที่ผู้เขียนต้องใช้คำว่า “เพราะว่า” มากกว่า 1 ครั้ง แล้วเราจะใช้วิธีไหน
เพื่อให้ไม่ต้องใช้ because บ่อยๆ ล่ะคะ  
คำแนะนำมีดังนี้ค่ะ   
แนะนำลองเปลี่ยนคำว่า because เป็น since หรือ as แทนกันบ้าง   
เช่น 
       Some individuals prefer online copies instead of printed materials as they are already
adjusted to using laptops or gadgets.  
  หรืออาจจะลองสลับตำแหน่งประโยค สาเหตุ กับ ผลลัพธ์ เพื่อให้หลากหลายมากขึ้นไปอีกได้ด้วย เช่น 
 Since some individuals are already adjusted to using laptops or gadgets, they prefer online
copies instead of printed materials. 

       แล้วถ้าจะให้โครงสร้างดู advanced หรือ หลากหลายมากขึ้นไปอีก
อาจจะมีการปรับเปลี่ยนจากการใช้ because ที่เป็น conjunction เป็นการใช้ because
of  ที่เป็น preposition ค่ะ 
       ก่อนอื่น ขอทบทวนความแตกต่างระหว่าง conjunction กับ preposition ให้สักนิดนะคะ 
Conjunction เป็นคำที่ใช้เชื่อมประโยคกับประโยคเข้าด้วยกัน 
แต่ 
Preposition เป็นคำที่ใช้เชื่อมคำนาม หรือนามวลี กับประโยคค่ะ 
ลองเปรียบเทียบ 2 ประโยคนี้ดูนะคะ 
Rechargeable batteries eventually need to be replaced because  they have a limited
lifespan. กับอีกประโยค

Rechargeable batteries eventually need to be replaced because of  their limited lifespan. 
 ทั้ง 2 ประโยค แปลได้เหมือนกันเลยค่ะ คือ 
แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้ท้ายที่สุดก็จำเป็นต้องเปลี่ยน เพราะมันมีอายุที่จำกัดอยู่ 
เอาจริงๆ วิธีเปลี่ยนจาก conjunction เป็น preposition  อาจจะยากหน่อยค่ะ
เพราะจำเป็นต้องรู้วิธีเปลี่ยนประโยคเป็นคำนามด้วย   

อีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจนะคะ 
NG ย่อมาจากอะไร หมายความว่าอะไรกันแน่นะ
มีใครเคยเห็นหรือมีคนพูดคำว่า NG กันบ้าง สงสัยไหมว่ามันย่อมาจากอะไรกันนะ มาหาคำตอบกัน
จริง ๆ แล้วคำว่า NG นั้นย่อมาจาก No Good นั้นเอง ซึ่งมีความหมายและที่มาดังนี้:
No Good หมายถึง ไม่ดี ไม่ผ่าน ไม่โอเค สอบตก ล้มเหลว ไม่เวิร์ก
แต่ในบางบริบท อาจหมายถึง Not Going หมายถึง ไม่ไป ไม่ได้ไป ก็ได้
ส่วนที่มาของการใช้ว่า NG นั้นมาจากภาษาญี่ปุ่นนั่นเอง ซึ่งการใช้งานก็จะใช้กับคำตรงข้ามซึ่งก็คือ คำว่า OK
ที่แปลว่า งานนั้นผ่าน หรืองานดีนั้นเอง และมักใช้ในบริบทของงาน การผลิต หรือการตรวจสอบ
เพื่อระบุสิ่งที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ไม่ได้มาตรฐาน ในโรงงานหรือ บริษัทญี่ปุ่น
แต่ต้องระวังไว้นะเพราะในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เขาอาจจะไม่เข้าใจคำว่า NG ก็เป็นไปได้เพราะ
ส่วนใหญ่ใช้เป็นหลักใน ประเทศญี่ปุ่น และบางประเทศใน เอเชียตะวันออก เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง
ประเทศไทย
และคำว่า NG ไม่ได้ใช้แพร่หลายทั่วไปในประเทศไทย คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่า ไม่ดี ไม่ผ่าน ไม่โอเค แทน
ส่วนทางตะวันตกหรือฝรั่งเขาก็ใช้คำว่า Defect หรือ Fail แทนนั้นเอง

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก https://www.oxbridge.in.th/
และ https://www.shorteng.com/