Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the pixwell domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/html/wp-includes/functions.php on line 6121
นักศึกษาหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจ มทร.ธัญบุรี ศึกษาดูงานโลจิสติกส์ทางทะเล บริษัท เคอรี่ สยามซีพอร์ต จำกัด – www.radio.rmutt.ac.th

นักศึกษาหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจ มทร.ธัญบุรี ศึกษาดูงานโลจิสติกส์ทางทะเล บริษัท เคอรี่ สยามซีพอร์ต จำกัด

วันที่ 12 มีนาคม 2568 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ได้เดินทางเข้าศึกษาดูงานด้านการจัดการขนส่งสินค้าทางทะเล ณ บริษัท เคอรี่ สยามซีพอร์ต จำกัด (Kerry Siam Seaport Co., Ltd.) อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี การศึกษาดูงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์ทางทะเล โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการทำงานจริงของอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าและเครือข่ายซัพพลายเชนระดับโลก
ทั้งนี้ นักศึกษาได้เยี่ยมชมพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยแบ่งเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่
.
1. ศูนย์บริหารจัดการท่าเรือและศูนย์ควบคุมการปฏิบัติงาน นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการรับ-ส่งสินค้า และระบบควบคุมตู้คอนเทนเนอร์ ผ่านซอฟต์แวร์โลจิสติกส์ที่ช่วยให้การบริหารจัดการมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. คลังสินค้าและระบบบริหารสินค้าคงคลัง (Warehouse Management System – WMS) โดยบริษัทได้ใช้ระบบ WMS เพื่อเพิ่มความรวดเร็วและลดข้อผิดพลาด นักศึกษาได้ศึกษาวิธีการบรรจุสินค้าลงตู้คอนเทนเนอร์ และการบริหารพื้นที่คลังสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3. ลานตู้เปล่าและพื้นที่ขนส่งสินค้า (Container Yard & Freight Handling) พื้นที่ลานตู้เปล่าเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการโลจิสติกส์ทางทะเล นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดเรียงตู้คอนเทนเนอร์ รวมถึงกระบวนการขนส่งระหว่างท่าเรือและโรงงานอุตสาหกรรม
4.ท่าเทียบเรือและการปฏิบัติการด้านการขนส่ง นักศึกษาได้สัมผัสกระบวนการทำงานของท่าเทียบเรือน้ำลึก และศึกษาวิธีการขนถ่ายสินค้าระหว่างเรือกับพื้นที่คลังสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีปั้นจั่น (Cranes) และอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าอัตโนมัติ
.
รายงานโดย อาทิตยา ปักกะทานัง

popular posts