เพลินภาษานานาสาระ l “เล่นเพื่อน” ว่าด้วยเรื่องเล่าสาวชาววัง เล่นเพื่อน พจนานุกรมอธิบายความหมายไว้ว่า หญิงคบหญิงด้วยกันต่างชู้รัก หรือ หญิงสำเร็จความใคร่กับคนเพศเดียวกัน ความจริงไม่ใช่เฉพาะ “หญิงกับหญิง” แต่ “ชายกับชาย” ก็เล่นเป็นเหมือนกัน บางคนว่า “เล่นเพื่อน” เป็นการไปรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา เรื่องแบบนี้เราทำเองเป็น ไม่ต้องให้ฝรั่งมาสอน ภาพเขียนฝาผนังแต่โบราณ ก็มีภาพเรื่องนี้ปรากฏอยู่หลายแห่ง และไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่อง “สัปดน” แต่เป็น “ความเป็นจริงของชีวิต” ส่วนในสมัยนี้ไม่ต้องพูดถึง “เล่นเพื่อน” หรือ “รักร่วมเพศ” ถือได้ว่าเป็นเสรีภาพส่วนบุคคล หรือเป็นรสนิยมจากฮอร์โมนในร่างกาย แต่ในสมัยก่อนมักเกิดกับการถูกกักขังจำกัดขอบเขตที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ เช่นเจ้าจอมหม่อมห้ามนางใน ถูกกักให้อยู่แต่ในเขตที่ห้ามผู้ชายล่วงล้ำ และห้ามออกมาคบหากับคนข้างนอก สังคมจึงเหลือแต่คนเพศเดียว เมื่อถึงวัยสาว มนุษย์ย่อมมีสัญชาติญาณของการสืบพันธุ์ ถูกฮอร์โมนภายในร่างกายกดดัน รักร่วมเพศจึงเกิดขึ้น ...

เพลินภาษานานาสาระ l ทำไมคนไทยชอบใช้ ‘สติกเกอร์’ เสริมเรื่องราวในการแชต ในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมากมายที่ทำให้คนไทยสามารถติดต่อสื่อสารกันได้สะดวกยิ่งขึ้น ฟีเจอร์แชทอย่าง LINE จึงกลายเป็นฟีเจอร์ยอดนิยมที่ผู้คนใช้สื่อสารหากันทุกวัน และหากสังเกตพฤติกรรมการแชทของคนไทยไม่ว่าจะแพลตฟอร์มไหน แน่นอนว่าจะต้องเห็นการส่งอิโมจิและสติกเกอร์ภาพ แทนความรู้สึกและอารมณ์หาคู่สนทนา บทความนี้จะไปวิเคราะห์ว่า เหตุผลหลักที่ทำให้สติกเกอร์ หรือ อิโมจิ ครองใจคนไทยสายแชทกันได้ขนาดนี้คืออะไร เหตุผลแรกคือ วัฒนธรรมการสื่อสารของคนไทยให้คุณค่ารูปแบบมารยาทภายนอก ไม่ว่าจะกิริยาท่าทาง การแต่งกาย การพูด การแสดงอิริยาบถต่างๆ ทำให้การสื่อสารของคนไทยมีลักษณะประนีประนอมสูง เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยมักเลือกสื่อสารกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่ใช้ถ้อยคำที่รุนแรงและตรงไปตรงมาหรือขวานผ่าซากจนเกินไป แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เต็มใจ และพึ่งพาอวัจนภาษาที่มีความซับซ้อนกว่า ซึ่งการส่งภาพสติกเกอร์หรืออิโมจิ สามารถช่วยปิดช่องโหว่ทางการสื่อสารและลดความกังวลดังกล่าวผ่านการพิมพ์ตัวอักษรผ่านแชทได้เป็นอย่างดี เหตุผลที่สองคือ ภาษาไทยเป็นภาษาไม่หยุดนิ่ง ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทยคือ ภาษาในแต่ละยุคสมัยจะเป็นเครื่องบ่งบอกบริบทและความเป็นไปทางสังคม ความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย โดยได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทำให้เกิดการตีความถ้อยคำหรือวลีที่แตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย และเหตุผลสุดท้ายคือ ความสะดวกสบายในการสื่อสาร ในการสื่อสารในปัจจุบันที่มักมีข้อความพื้นฐานที่ใช้บ่อยในทุกบทสนทนา ...

เพลินภาษานานาสาระ l Confirmation Bias : การเชื่อมั่นในตัวเอง หรือ การสร้างอคติกันแน่ Confirmation Bias เป็นศัพท์ทางจิตวิทยา หมายถึงการแสวงหา รับฟัง และตีความข้อมูลที่ได้มา เพื่อยืนยันความเชื่อหรือความคิดเดิมที่มีอยู่ ให้ยิ่งเชื่อมากขึ้นและคิดว่าความเชื่อที่ตนเองยึดถืออยู่นั้น ถูกต้องแล้ว เพราะมีข้อมูลเพิ่มเติมมาสนับสนุนและช่วยยืนยัน เมื่อหลายปีก่อน กลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Stanford ได้ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนโทษประหารชีวิต อ่านงานวิจัยทางวิชาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโทษประหารชีวิตกับจํานวนการฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละรัฐของสหรัฐอเมริกา โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งสนับสนุนโทษประหารชีวิตว่าเป็นวิธีป้องกันการฆาตกรรมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ส่วนอีกงานวิจัยหนึ่งไม่สนับสนุนโทษประหารชีวิตเพราะเชื่อว่าไม่ได้ช่วยลดจํานวนผู้กระทําความผิดลงได้จริง หลังจากอ่านงานวิจัยแล้วจึงสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมการทดลอง พบว่าผู้ที่สนับสนุนโทษประหารชีวิตเห็นด้วยกับงานวิจัยที่สนับสนุนการประหารชีวิต มากกว่า ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ไม่สนับสนุนโทษประหารชีวิต ก็เห็นด้วยกับงานวิจัยที่ไม่สนับสนุนการประหารชีวิต มากกว่า โดยคนทั้งสองกลุ่ม ให้เหตุผลว่างานวิจัยที่ตรงกับสิ่งที่ตนคิดนั้นมีคุณภาพและน่าเชื่อถือมากกว่างานวิจัยที่ขัดกับความเชื่อของตนเอง ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล ...

เพลินภาษานานาสาระ l ลักษณะเฉพาะภาษาของภาษาไทย ที่ได้ชื่อว่าเกือบช้าที่สุดในโลก รู้ไหมว่า ‘ภาษาที่เร็วที่สุดในโลก’ คือภาษาญี่ปุ่น ส่วนภาษาไทยเกือบจะ ‘ช้า’ ที่สุดในโลก ว่าแต่เขาวัดกันยังไง? คำถามเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับภาษาต่างๆ อาจฟังดูเป็นประเด็นสำหรับนักภาษาศาสตร์ แต่ในความเป็นจริงก็มีคำถามพื้นๆ ที่น่าสนใจสำหรับคนทั่วไป เช่นคำถามง่ายๆ ว่า อะไรคือ ‘ภาษาที่เร็วที่สุดในโลก’ คือถามนี้ง่าย แต่ตอบยาก เพราะอะไรคือความเร็วของภาษา ซึ่งเอาจริงๆ ความเร็วอาจแบ่งได้เป็นสองทาง อย่างแรกคือ การใช้พยางค์น้อยและสื่อความได้ ‘เร็ว’ ที่สุด และอีกทางคือตรงข้าม กล่าวคือต้องใช้พยางค์จำนวนมากในการสื่อความและส่งผลให้คนพูดต้องพูดเร็วมากเพื่อให้สื่อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วภาษาไหนช้า ภาษาไหนเร็ว? ภาษาที่ช้า เขาบอกว่าคือภาษาเวียดนาม ช้ารองจากเวียดนามคือภาษาไทย ส่วนภาษาที่เร็ว โดยทั่วไปเขาจะถือว่าภาษาญี่ปุ่นยืนหนึ่ง โดยคำตอบนี้อยู่ในงานวิจัยที่ออกมาในปี 2019 ในวารสาร ...

เพลินภาษานานาสาระ l นางคณิกากับบทบาทในพระพุทธศาสนา คณิกา คือ หญิงผู้ชำนาญในการขับร้องฟ้อนรำบำเรอชาย ในอินเดียโบราณถือว่าเป็นคนสำคัญเชิดหน้าชูตา ดังนางตัวท็อปของเมืองในไทย ใช้เรียกนางโสเภณี สมัย ร.5 สำนักนางโลมที่ดังสุดๆ คือสำนักยายแฟง ดังคำว่า “ยายฟักขายแตง ยายแฟงขาย__” นางได้รวมเงินสมาชิกสร้างวัดขึ้น คือวัดคณิกาผล เรื่องราวนี้เกิดขึ้นเมื่อ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หญิงนางหนึ่งชื่อ แฟง มักเรียกกันว่า ยายแฟง เป็นเจ้าสำนักโสเภณีชื่อ “โรงยายแฟง” อยู่ที่ตรอกเต๊า ถนนเยาวราช มีศรัทธาในพุทธศาสนา จึงชวนหญิงโสเภณีในสำนักของนางเอารายได้จากการค้าประเวณีมาลงขันกันสร้างวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2376 วัดนี้ เดิมไม่ได้ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “วัดใหม่ยายแฟง” และนับตั้งแต่สร้าง ก็ได้เปิดทำสังฆกรรมต่อมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสู่ราชสมบัติแล้ว ลูกหลานของยายแฟงจึงบูรณะ ...

เพลินภาษานานาสาระ l ยิ้มสร้างสุข รอยยิ้มนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่เราใช้แทนความรู้สึกที่มีความสุขและความสนุกสนาน คนเราต่างมีเหตุผลมากมายที่จะยิ้มในแต่ละวัน ยิ้มเพื่อทักทายผู้อื่น ยิ้มเพื่อที่แสดงอารมณ์ที่รู้สึก ณ ขณะนั้น รอยยิ้มไม่ได้มอบเพียงความรู้สึกที่ดีให้กับตัวผู้ยิ้มและคนรอบข้างเท่านั้น การยิ้มยังอาจช่วยสร้างสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมถึงชีวิตที่ดีขึ้นในแบบที่คุณไม่รู้ตัว ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล ...

เพลินภาษานานาสาระ l กำเนิดกาแฟและชา ความบังเอิญที่เป็นไปได้ แม้จะเป็นเครื่องดื่มที่เกิดจากความบังเอิญ แต่มีอิทธิพลถึงขั้นก่อให้เกิดการเรียกร้องเอกราช ในขณะที่ของกินหรือเครื่องดื่มหลายชนิด เราสามารถสืบย้อนกลับไปถึงจุดเริ่มต้นได้ง่ายๆ แต่สำหรับ ‘ชา’ มันไม่ง่ายแบบนั้น เพราะจุดเริ่มต้นคลุมเครือมาก ว่ากันว่าการดื่มชาเริ่มขึ้นในประเทศจีนเมื่อกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีเรื่องเล่าตำนานการเริ่มต้นดื่มชาหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่าจักรพรรดิเสินหนิงของจีนค้นพบวิธีชงชาโดยบังเอิญ เนื่องจากพระองค์เป็นทั้งบัณฑิตและนักสมุนไพรผู้รักความสะอาดเป็นอย่างมาก จะดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะเสินหนิงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำดื่มอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้พัดเอากิ่งชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือด สักพักก็มีกลิ่นหอมกรุ่นโชยออกมา เมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วลองดื่มก็เกิดความรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า การดื่มชาก็จึงเริ่มขึ้นนับจากนั้น แถมไม่ใช่แค่ค้นพบสรรพคุณของชา เสินหนิงยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า 200 ชนิด ชาวจีนจึงนับถือว่าพระองค์เป็นบิดาแห่งแพทยศาสตร์ ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล ...

เพลินภาษานานาสาระ l ความพอเพียงกับการทำงาน ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล ...

เพลินภาษานานาสาระ l เหตุผลและวิธีรับมือ เมื่อต้องตัดเพื่อนจากความสัมพันธ์ ในวงโคจรของชีวิตเรา อาจจะมีเพื่อนสักคนหนึ่งที่เราตัดออกไปไม่ได้ ทั้งที่การกระทำของเขาขัดใจเราสุดๆ ต่อให้เรารู้ดีว่า คนเราเกิดมาร้อยพ่อพันแม่ ย่อมมีพฤติกรรมแตกต่างกันออกไปจากประสบการณ์ที่พวกเขาเคยพบเจอ แต่เมื่อเป็นเพื่อนกัน หลายครั้งก็อาจจะมีเรื่องราวที่ทำให้เรารู้สึกขัดใจกัน รู้สึกว่าเราเข้ากันไม่ได้สุดๆ แต่เราก็ตัดเพื่อนคนนี้ออกจากชีวิตไม่ได้สักที มันเป็นเพราะอะไรกันนะ เราอาจมีเพื่อนที่เราจำเป็นต้องคบเพื่อรักษาความสัมพันธ์เอาไว้ เพราะเป็นเพื่อนสนิทของเพื่อนเรา หรือแม้กระทั่งเพื่อนบางคนที่รู้จักคนมากมาย แม้เราจะขัดใจนิสัยบางอย่างของเพื่อนก็ตามที การตัดเพื่อนแบบนี้จึงอาจเป็นการเผาสะพานแห่งโอกาสในอนาคตไปด้วยก็ได้ ฉะนั้นการยอมอยู่อย่างรำคาญใจ เพื่อรักษาทั้งเบื้องหน้าแห่งสายสัมพันธ์ และเบื้องหลังแห่งโอกาส อาจเป็นทางเลือกที่หลายคนยอมทนมากกว่าจะตัดสัมพันธ์ของเราให้สะบั้นลงไปได้ . ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล ...

เพลินภาษานานาสาระ l บทสะท้อนสังคมจีน จากภาพยนตร์ เรื่องหลานม่า หลานม่า ถูกยกให้เป็นภาพยนตร์ที่อิ่มใจ ดูกันได้ทั้งครอบครัวอีกเรื่องหนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัย สะท้อนเรื่องราวของครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน เมื่ออาม่าเข้าสู่ช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต ลูกหลานต่างรีบทำหน้าที่ ลูกหลานที่ดี เพื่อหวังจะได้มรดกมาหล่อเลี้ยงชีวิต แม้ฟังดูเหมือนคดีฮุบสมบัติเจ้าคุณปู่ทั่วไปแบบในละครไทย แต่สุดท้ายแล้ว หลานม่า ก็จบลงอย่างอบอุ่น งดงาม พร้อม ๆ กับการสะท้อนให้เห็นปมปัญหาค่านิยมในครอบครัวไทย-จีน ที่แฝงมาในคราบของคำว่า ความกตัญญู อย่างชัดเจน เมื่อ ความกตัญญู ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันอีกครั้งในสังคมไทย สิ่งนี้ยังจำเป็นหรือไม่ ในวันที่สภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ? และหากนี่คือ การแสดงความกตัญญูที่หวังสิ่งตอบแทน สิ่งนี้ยังเรียกว่ากตัญญูได้อีกหรือไม่ . ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล ...