TrendyDesign l EP.15 l การออกแบบพื้นที่สาธารณะในเมืองที่ทั่วถึงและเท่าเทียม (Public Space Design)

TrendyDesign l EP.15 l การออกแบบพื้นที่สาธารณะในเมืองที่ทั่วถึงและเท่าเทียม (Public Space Design)
.
ปัจจุบันพื้นที่สาธารณะของไทย มีเพิ่มมากขึ้น ทั้งพื้นที่สวนสาธารณะ พื้นที่ลานกิจกรรม พื้นที่อาคารสาธารณะ แต่ก็ยังมีหลายพื้นที่ถูกปิดกั้นไม่ใช้งานได้ทุกคน เช่น
พื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า / พื้นที่จุดข้ามถนน / ทางเดินเท้า / พื้นที่สาธารณะในชุมชนที่ไม่ได้รับการออกแบบสำหรับกลุ่มคนทุกเพศวัยอย่างมีประสิทธิภาพ ห้องน้ำสาธารณะ หน่วยงานราชการต่างๆ เป็นต้น
และในฐานะสถาบันการศึกษา ต้องปรับตัวต่อองค์ความรู้ ในการออกแบบพื้นที่สาธารณะ คณะสถาปัตยกรรม นักศึกษาจะได้เรียนรู้และออกแบบอาคารหลายหลายประเภทตั้งแต่ บ้านพักอาศัย อาคารอยู่อาศัยกึ่งพาณิชยกรรม อาคารพาณิชย์ อาคารสาธารณะ ฯลฯ ซึ่งต้องคำนึงถึงกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2564 (เดิม 2548)
ยกตัวอย่าง หลักการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่สาธารณะในเมืองที่ทั่วถึงและเท่าเทียม
1. การออกแบบป้ายและสัญลักษณ์
2. การออกแบบทางเดินเท้า
3. การออกแบบทางลาด
4. การออกแบบอุปกรณ์ประกอบถนน เช่น เสาไฟฟ้า ม้านั่ง ถังขยะ ตะแกรงรอบ ต้นไม้
5. หลักการออกแบบที่จอดรถ จากขนาดของช่องจอดรถปกติ ประมาณ 2.40×6.00 เมตร ควรเผื่อระยะความกว้างของที่จอดรถ สำหรับการขึ้นลงจาก
รถเข็นผู้พิการ เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 1.00 เมตร
.
สำหรับอาคารสาธารณะ ที่มีพื้นที่ให้จอดรถได้ 10 – 50 คัน จะต้องมี ให้คนพิการอย่างน้อย 1 คัน ถ้าที่จอดรถมี 51 – 100 คัน มีโครงการหนึ่ง ที่จัดขึ้นโดย สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดประกวดแบบ โครงการประกวดแบบพื้นที่สาธารณะ Uniquely Thai ครั้งแรก ของโลก สำหรับ นักศึกษาและคนทั่วไปผลงาน Civic Center มาจาก ความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ผลงาน “Metaverse – ดินแดนสุขวดี สู่ พื้นที่สามัญชน” ท้ายที่สุดแล้ว กลุ่มคนรุ่นใหม่เหล่านี้คือเจ้าของพื้นที่สาธารณะในอนาคตอย่างแท้จริง หากนักออกแบบ สามารถนำองค์ความรู้จากการออกแบบพื้นที่สาธารณะที่ให้
ความสำคัญกับถึงกลุ่มผู้ใช้งานที่ครอบคลุมทุกเพศทุกวัย (Universal Design) ก็จะทำให้
สังคมน่าอยู่ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสภาพแวดล้อมที่ดี สร้างสุขภาวะที่ดีให้กับทุกคน