TrendyDesign l EP.18 l Universal Design แนวทางการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ

TrendyDesign l EP.18 l Universal Design แนวทางการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ
.
หลักในการออกแบบUniversal Design สำหรับผู้สูงอายุมีหลักการพื้นฐานทั้ง 7 ประการ
1 ความเสมอภาค
2 ความยืดหยุ่น
3 ใช้ง่ายเข้าใจง่าย
4 ข้อมูลชัดเจน
5 ระบบป้องกันอันตราย
6 ทุ่นแรงกาย
7 ขนาดและสถานที่ที่หมาะสม
.
ด้วยความเหมือนอาจเป็นหลักการร่วมที่คนทุกกลุ่มต้องสามารถเข้าถึงและรับประสิทธิภาพจากหลักการทั้ง 7 ประการได้ แต่ในความแตกต่างอาจเป็นความเฉพาะเจาะจงสำหรับกลุ่มคนที่มีรายละเอียดลึกชื่งลงไปอีก แม้แต่ผู้สูงอายุ
ก็มีพฤติกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม การแบ่งกลุ่มก็เกิดขึ้นจากหลากหลาย บริบท อย่างเช่น
การแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุตามความสามารถ 3 กลุ่ม
1) กลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองได้ดี
2) กลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง
3) กลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
หรือแบ่งตามพฤติกรรมบริโภคและความสามารถในการซื้อ 5 กลุ่ม
1) new age วัยเก๋าระดับสูง มีความสามารถสูง เปิดกว้าง ระดับการศึกษาดี มีเงิน
2) controller age วัยเก๋ระดับสูง คล้ายกับกลุ่มแรกมีกำลังจ่าย แต่ทัศนคติอาจจะอยากควบคุมด้วยตนเอง ยึดถือค่านิยมของตนเป็นหลัก
3) Senior Aspirer วัยเก๋าระดับกลาง มีความสามารถในการจ่ายเช่นกันแต่อยู่ในระดับปานกลาง ทัศนคติที่จะอยากควบคุมด้วยตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่ปัจจุบันก็ยังคงทำงานอยู่
4) Life-embraced Elder วัยเก๋ระดับกลางคล้ายกับกลุ่มที่ 3 สนใจการได้พบปะเพื่อนฝูง และได้รับอิทธิพลจากเพื่อน
5) Unprepared Elder วัยเก๋ที่มีรายได้ไม่สูงนัก ระดับความคล่องตัวในการจับจ่ายใช้สอยไม่มากนัก ขาดการเตรียมตัว โดยที่กล่าวมาอาจเป็นความต่างของการปรับใช้แนวคิด Universal Design ในงานออกแบบที่เกี่ยวข้องนั้นเอง

.
ติดตามรับฟังรายการได้ทาง
FM 89.5 MHz สถานีวิทยุกระจายเสียง มทร.ธัญบุรี
ทุกวันอาทิตย์ 8.00 – 8.30 น.
นำเสนอสาระความรู้โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี