English Around You l “I don’t know” or “I’m not sure” “ไม่รู้…ไม่แน่ใจ” ต้องบอกอย่างไรกันนะ?

English Around You l Ways to Say “I don’t know” or “I’m not sure” “ไม่รู้…ไม่แน่ใจ” ต้องบอกอย่างไรกันนะ?
– การใช้ Used To / Be Used to / Get Used To ต่างกันมั้ยนะ?!?
.
โดย อ.ชนฎนาถ จินศรี
และ อ.พุทธนาถ สวัสดิ์โยธิน
.
ออกอากาศ 29 มีนาคม 2566
ติดตามรับฟังได้ทาง #RmuttRadio #Englisharoundyou #ภาษาอังกฤษ #สนทนาภาษาอังกฤษ #วิทยุราชมงคลธัญบุรี #แกรมม่า #สำนวนอังกฤษ

————————————————————————————
Ways to Say “I don’t know” or “I’m not sure” “ไม่รู้…ไม่แน่ใจ” ต้องบอกอย่างไรกันนะ?

คุณผู้ฟังเคยไหมคะ ที่เวลามีคนยิงคำถามอะไรมาแล้วเราไม่รู้ว่าต้องตอบอย่างไรเนื่องด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม
เช่น ข้อมูลไม่เพียงพอ ลังเลหรือไม่มั่นใจในคำตอบ วันนี้ทางรายการ
ก็มีวิธีการพูดและตัวอย่างสถานการณ์เมื่อเราไม่รู้หรือเกิดความไม่แน่ใจมานำเสนอให้คุณผู้ฟังได้ลองนำไปใช้กัน
ดูค่ะ
 
I don’t know (yet). ฉันไม่ทราบ
A: Do you know where the police station is?
(พอจะทราบไหมครับ/คะ ว่าสถานีตำรวจอยู่ที่ไหน)
B: Sorry, I don’t know.
(ขอโทษนะครับ/คะ ไม่ทราบเหมือนกัน)
  
I have no idea. ฉันไม่รู้
A: Do you know where my glasses are?

(รู้ไหมว่าแว่นของฉันอยู่ที่ไหน)
B: I have no idea. I haven’t seen them.
(ไม่รู้สิ ฉันไม่เห็นมันเลย)
I have no clue. ฉันไม่ทราบ
A: When is the next flight to England?
(เที่ยวบินถัดไปที่จะไปอังกฤษคือตอนไหนครับ/คะ)
B: I have no clue.
(ไม่ทราบเลยครับ/ค่ะ)
 
Beats me. (ภาษาพูดไม่เป็นทางการ) ฉันไม่รู้
A: Why did Max do that?
(ทำไมแม็กซ์ถึงทำแบบนั้นนะ)
B: Beats me.
(ฉันไม่รู้นะ)
 
Not as far as I know. ฉันไม่แน่ใจ
A: Does Kenny have any brothers?
(เคนนี่มีพี่ชายหรือน้องชายบ้างไหมนะ)
B: Not as far as I know. I’m pretty sure he is the only child in his family.
(ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่ค่อนข้างจะมั่นใจว่าเขาน่าจะเป็นลูกคนเดียวนะ)
 
Who knows? ใครจะไปรู้ล่ะ
A: What will happen next?
(จะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนี้กันนะ)
B: Who knows?
(ใครจะไปรู้ล่ะ ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน)

 
I’m unsure. ฉันไม่แน่ใจ
A: Where do you want to go on vacation?
(คุณอยากไปเที่ยวพักผ่อนที่ไหนเหรอ)
B: I am still unsure about it.
(ฉันยังไม่แน่ใจเลย)
 I doubt it. ฉันไม่แน่ใจ
A: Do you think Jane is going to win the lottery?
(คุณคิดว่าเจนจะถูกรางวัลไหม)
B: I doubt it.
(ก็ไม่แน่ใจนะ)

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก https://www.engtest.net/

เดี๋ยวเราจะให้ท่านผู้ฟังพักฟังเพลงเพราะ ๆ ต่อ จากทางสถานี

แล้วกลับมาพบกับพวกเราในช่วงสุดท้ายของรายการ English around You ติดตามฟังกันให้ได้นะคะ

ว่าเราจะนำสำนวนอะไรมาฝากกัน อย่าเพิ่งเปลี่ยนช่องไปไหนนะคะ

กลับมาพบกันต่อในช่วงที่ 2 ของรายการ English around You อีกแล้วนะคะ ทางคลื่น FM 89.5 MHz

สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
คลื่นเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตค่ะ

มาต่อกันที่เรื่องของ Ways to Say “I don’t know” or “I’m not sure”
“ไม่รู้…ไม่แน่ใจ” ต้องบอกอย่างไรกันนะ?
I’m not sure about it. ฉันไม่มั่นใจ
A: What’s the capital of Peru?
(เมืองหลวงของประเทศเปรูคืออะไร)
B: I’m not sure about it. Is it Lima or something?
(ไม่มั่นใจเลยนะ ใช่เมืองลิมาหรืออะไรสักอย่างไหม)
 

I’m not really sure. ฉันไม่ค่อยมั่นใจเท่าไร
A: How far is it between your workplace and your house?
(ที่ทำงานห่างจากบ้านของคุณเท่าไร)
B: I’m not really sure, but it’s quite near.
(ไม่ค่อยมั่นใจเท่าไร แต่ค่อนข้างใกล้ครับ/ค่ะ)
 
I’ve been wondering that, too. ฉันก็สงสัยอยู่เหมือนกัน
A: Whose keys are these?
(กุญแจพวกนี้เป็นของใครเหรอ)
B: I’ve been wondering that, too.
(ไม่แน่ใจนะ ฉันก็สงสัยอยู่เหมือนกัน)
 
I can’t help you there. ฉันไม่รู้จริง ๆ
A: Can you answer this riddle?
(คุณช่วยตอบปัญหาข้อนี้ได้ไหม)
B: I'm sorry, I can't help you there.
(ขอโทษด้วยนะ แต่ฉันไม่รู้จริง ๆ)

 
ต้องยอมรับว่าเราอาจจะเคยต้องเผชิญสถานการณ์ที่กดดันกับการตอบคำถามที่เรานั้นไม่รู้คำตอบที่แน่ชัด
บางคนอาจถึงขั้นยืนอึ้งและไปไม่เป็นกันเลยทีเดียว
การตอบตรงๆเพื่อแสดงการยอมรับว่าตนเองไม่รู้หรือไม่มีข้อมูลในส่วนนั้นๆเป็นสิ่งที่ไม่น่าอายและสมควรทำถ้า
หากอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่อีกฝ่ายต้องการคำตอบเป็นอย่างมากและเป็นการให้โอกาสตัวเองกลับไปศึกษาและ
ทำความเข้าใจกับเรื่องนั้นๆให้มากขึ้นด้วย
ดังนั้นการฝึกใช้ประโยคในการแสดงความไม่รู้หรือไม่แน่ใจถือเป็นสิ่งที่เราควรศึกษาไว้ให้ดีค่ะ

เรื่องที่น่าสนใจต่อมานะคะ คือ การใช้ Used To / Be Used to / Get Used To ต่างกันมั้ยนะ?!?
 
ไม่ว่าจะเป็น used to แบบธรรมดา be used to หรือ get used
to ทั้งสามคำนี้มีความหมายและหลักการใช้ที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ถ้าพร้อมแล้วไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ
 
Used To
แปลว่า เคย (ใช้กับสิ่งที่เคยทำในอดีต จบไปแล้ว)
ถ้าหากเราอยากจะบอกว่าในอดีตเราเคยทำอะไรสักอย่าง แต่ในปัจจุบันไม่ได้ทำแล้วหรือเลิกทำไปแล้ว
เราสามารถใช้โครงสร้าง “S + used to + v1.” ในการพูดและเขียนได้เลยค่ะ
ผู้ฟังหรือผู้อ่านจะทราบทันทีว่าเราแค่เคยทำสิ่งนั้นแต่ตอนนี้ไม่ได้ทำแล้ว
ตัวอย่างการใช้
He used to use chopsticks when he was young.
เขาเคยใช้ตะเกียบตอนเขาเป็นเด็ก
(ในความหมายก็คือตอนนี้เขาใช้ตะเกียบไม่เป็นแล้ว จับตะเกียบก็ไม่เก่ง
เพราะเขาเคยใช้ตะเกียบในอดีตแต่ตอนนี้เลิกใช้ไปแล้ว)
 
Be Used to
แปลว่า เคยชิน (ใช้กับสิ่งที่เราทำจนชินหรือเป็นนิสัย ไม่ได้รู้สึกแปลกที่จำต้องทำแล้ว)
โครงสร้าง “S + be (is/am/are/was/were) used to + gerunds (v.ing)/
n.” เพื่อที่จะบอกว่าชินกับการทำอะไรบางอย่างได้เลยค่ะ

โดยที่ข้อสังเกตและความแตกต่างของความหมายระหว่าง used to กับ be used to นั้นชัดเจนอยู่แล้ว
นอกจากนั้นโครงสร้างก็ยังต่างกันด้วยคือ สำหรับ  be used to จะตามมาด้วย gerunds (v.ing) หรือ คำนาม
นั่นเองค่ะ
ตัวอย่างการใช้
She is used to using chopsticks when she is eating.
หล่อนเคยชินกับการใช้ตะเกียบเวลาที่หล่อนกำลังรับประทานอาหาร
 
Get Used To
แปลว่า ค่อย ๆ เริ่มที่จะทำความเคยชิน (ใช้กับสิ่งที่เรายังไม่ได้เคยชินกับมันดี
แต่อยู่ในกระบวนการที่กำลังค่อยๆ เริ่มเคยชินทีละนิด)
โครงสร้างคือ “S + get (ทุกรูปของ get ผันตามประธานและกาล) used to + gerunds (v.ing)/
n.” เราจะสามารถสังเกตได้ว่าทั้ง be used to และ get used to นั้นจะตามมาด้วย gerunds (v.ing) หรือ
คำนาม เหมือนกัน ส่วนในเรื่องของความหมายอาจจะต่างกันแค่ get used
to เน้นที่กระบวนการของการทำความเคยชินมากกว่า หรือ พูดง่าย ๆ ว่าเน้นที่ process นั่นเองค่ะ
ตัวอย่างการใช้
He is slowly getting used to using chopsticks.
เขาค่อย ๆ เริ่มที่จะชินกับการใช้ตะเกียบทีละนิด ๆ
(ในความหมายก็คือ จากที่ผู้ชายคนนั้นใช้ตะเกียบไม่เป็น แล้วเขาก็อาจจะค่อย ๆ
ฝึกจนเริ่มที่จะเคยชินกับการใช้ตะเกียบมากขึ้นทีละนิด ท่าทางการจับและการคีบดูค่อย ๆ ชำนาญขึ้นมาก)
 

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก https://www.engtest.net/