Talk of the Town รอบบ้านเรา l วิสาหกิจชุมชนประมงพื้นบ้านปากน้ำปรานบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Talk of the Town รอบบ้านเรา l วิสาหกิจชุมชนประมงพื้นบ้านปากน้ำปรานบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
.
– ศ.มูฮัมหมัด ยูนูส เจ้าของโนเบลสันติภาพ เยือนรพ.ธนบุรี คุย ‘หมอบุญ’ แลกประสบการณ์ช่วยคนทุกระดับเข้าถึงแพทย์
– สัมภาษณ์ของบุคคลพบกับ คุณจำลอง บุญรอด ประธานวิสาหกิจชุมชนประมงพื้นบ้านปากน้ำปรานบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
– รัฐบาลเตือนประชาชนทั่วประเทศ เฝ้าระวังจากฝนตกหนักถึงหนักมากในช่วงวันที่ 17 – 21 ก.ย. 65 ให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อม รับมือสถานการณ์ฝนที่จะตกเพิ่มขึ้น
.
ดำเนินรายการโดย คุณ จีระสุข ฃินะโชติ
.
ออกอากาศ [20 กันยายน 2565 ] ติดตามรับฟังได้ทาง #วิทยุราชมงคลธัญบุรี #RmuttRadio #รอบบ้านเรา
.
ช่วงที่1 / ศ.มูฮัมหมัด ยูนูส เจ้าของโนเบลสันติภาพ เยือนรพ.ธนบุรี คุย ‘หมอบุญ’ แลกประสบการณ์ช่วยคนทุกระดับเข้าถึงแพทย์มื่อวันที่ 16 กันยายน เวลา 18 00 น. ที่โรงพยาบาลธนบุรีบำรุงเมือง ศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนูส นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังกลาเทศ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพและผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน เดินทางเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโรงพยาบาลธนบุรีโดยมี ผู้บริหาร จนท .เจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ
.
ศาสตราจารย์ยูนูส ขึ้นกล่าวบนเวทีว่า ความยินดีที่ได้เดินทางมายังโรงพยาบาล ในวันนี้ ตนได้ยินชื่อเสียงของนายแพทย์บุญ วนาสิน ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลฯ จึงได้เดินทางมาเพื่อศึกษา แลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์ในการก่อตั้งโรงพยาบาลในประเทศไทย โดยจะนำข้อมูลต่างๆไปใช้ในโครงการก่อตั้งสถานพยาบาลเพื่อสังคมในบังกลาเทศ ด้วยเป้าหมายในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์มีราคาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และการลดทอนเวลาในการรอรักษาโดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย “มีแค่คนที่มีรายได้สูงเท่านั้นที่จะได้รับการเข้าถึงทางการแพทย์ คนในระดับรากหญ้าเข้าไม่ถึงการแพทย์ ซึ่งนี่เป็นปัญหาในหลายๆแห่ง แม้แต่ในสหรัฐ เราควรนำการรักษาไปยังหน้าบ้านของคน เราจึงกำลังสร้าง Digital healthcare โดยให้ผู้ป่วยโทรศัพท์หาหมอโดยตรง เพื่อให้หมอวินิจฉัยอาการผ่านทางโทรศัพท์ การรอการรักษาในบังกลาเทศอาจใช้เวลานานหลายชั่วโมง ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยลดทอนเวลาให้กับผู้ป่วยได้’’ ศาสตราจารย์ยูนูส กล่าว
.
สำหรับประเด็นการระบาดของไวรัสโควิด-19 ศาสตราจารย์ยูนูสให้ความเห็นว่า ไม่ควรมีบริษัทใดถือครองลิขสิทธิ์วัคซีนโควิด-19 “บริษัทที่ถือครองลิขสิทธิ์วัคซีนโควิดไม่กี่เจ้าทำกำไรหลายพันล้านเหรียญ และทำให้วัคซีนโควิดถูกถือครองโดยประเทศที่ร่ำรวย ซึ่งวิธีนี้ควรถูกล้มเลิก ทุกคนควรสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19ได้ ทุกคนควรได้รับการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19’’
.
บังกลาเทศ (เบงกอล บังลาเทศ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (เบงกอล )เป็นประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งครอบครองเนื้อที่ในส่วนตะวันตกของภูมิภาคเบงกอล คำว่า “บังกลาเทศ (Bangladesh)” แปลว่า “ประเทศแห่งเบงกอล” ถูกล้อมรอบประเทศอินเดีย 3 ด้าน ยกเว้นพรมแดนด้านใต้ติดอ่าวเบงกอล และตะวันออกเฉียงใต้ติดประเทศพม่า
.
ด้านเศรษฐกิจ
ประเทศบังกลาเทศตั้งอยู่ริมอ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย ทำให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดียอยู่เสมอ เศรษฐกิจของบังกลาเทศจึงขึ้นอยู่กับการเพาะปลุกเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะปอกระเจา ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการถักกระสอบ แต่เนื่องจากบังกลาเทศมักประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจำ เนื่องจากเป็นจุดที่พายุไซโคลนเข้ามากที่สุดในบรรดาประเทศในเอเชียใต้ ทำให้การเพาะปลูกของบังกลาเทศก็ไม่ค่อยดีนัก ด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมของบังกลาเทศส่วนมากเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับผลผลิตทางการเกษตร เช่น สิ่งทอซึ่งส่งออกเป็นอับดับสองของโลกรองจากจีน กระดาษ น้ำตาล เป็นต้น
.
สินค้าส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้า ปอกระเจา เครื่องแต่งกาย อาหารทะเลและปลาแช่แข็ง ประเทศผู้ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี
สินค้านำเข้า ได้แก่ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า ปิโตรเลียม ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ อินเดีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน
สกุลเงินที่ใช้ : คือ ตากา แม้บังกลาเทศจะเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) แต่ก็ถือว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจซึ่งไทยไม่ควรมองข้าม โดยเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรทางทะเล พร้อมกันนี้ยังสามารถเป็นตลาดสินค้าต่าง ๆ ของไทย เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค และการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าภาคธุรกิจบริการจะทำรายได้ให้กับบังกลาเทศคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของ GDP แต่ประชาชนบังกลาเทศส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน และประกอบอาชีพการเกษตร
.
ช่วงที่ 2 ติดตามหารให้สัมภาษณ์ของบุคคลพบกับ คุณจำลอง บุญรอด ประธานวิสาหกิจชุมชนประมงพื้นบ้านปากน้ำปรานบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตอน ………
.
ช่วงที่ 3 ข่าว/ รัฐบาลเตือนประชาชนทั่วประเทศ เฝ้าระวังจากฝนตกหนักถึงหนักมากในช่วงวันที่ 17 – 21 ก.ย. 65 ให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อม รับมือสถานการณ์ฝนที่จะตกเพิ่มขึ้น
.
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในช่วงวันที่ 17 – 21 ก.ย. 65 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนท่ีjตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางนำ้ไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ขอให้เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณท่ีมีฝนฟ้าคะนอง
.
นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง ได้แก่ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของแม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำนครนายก แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำระยอง แม่น้ำจันทบุรี และแม่น้ำตราด รวมทั้งให้เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) 13 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา กิ่วลม และแม่มอก จังหวัดลำปาง อ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี อ่างเก็บน้ำกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น อ่างเก็บน้ำลำตะคอง ลำพระเพลิง และมูลบน จังหวัดนครราชสีมา อ่างเก็บน้ำคลองสียัด
.
จังหวัดฉะเชิงเทรา อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี และอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง รวมไปถึงอ่างฯ ขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำทั่วประเทศ
รัฐบาลได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในทุกด้าน ทั้งติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม โดยปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำ และบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณพื้นที่เสี่ยง เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ทันที ตลอดจนเร่งประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำและแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบเตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์ขึ้น / ทั้งนี้ รัฐบาลเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฝนที่จะตกมากขึ้น โดยได้มีการวางแผนการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยอย่างเป็นระบบ และมีการปรับแผนการปฏิบัติให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยมอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ดำเนินการวางแผนการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดคือการจัดทำ 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565
.
จีระสุข ชินะโชติ ดำเนินรายการ ขอบคุณและสวัสดีค่ะ