Talk of the Town รอบบ้านเรา l ประวัติ ลุงขาวไขอาชีพ

Talk of the Town รอบบ้านเรา l ประวัติ ลุงขาวไขอาชีพ และความเป็นมาของมูลนิธิลุงขาวไขอาชีพ (ตอนที่ 1)
– จังหวัดราชบุรี ต้องนึกถึงคำขวัญ ที่ว่า : คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี
-“สวนผัก ไฮโดรฟาร์ม สวนผึ้ง ฟาร์มผัก ไร้ดิน เปิดตลาดให้กับนักท่องเที่ยว ตลาดยังดีมีอนาคต”
-สัมภาษณ์บุคคล พบกับ คุณจักริน อึ่งทอง ผู้ดูแลฟาร์ม สวนผึ้งไฮโดร ต.ท่าเคย อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี “สวนผัก ไฮโดรฟาร์ม สวนผึ้ง ฟาร์มผัก ไร้ดิน เปิดตลาดให้กับนักท่องเที่ยว ตลาดยังดีมีอนาคต”
-บทสัมภาษณ์บุคคล พบกับ นายวิสูตร บัวชุม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงราย เรื่องมหกรรมไม้ดอกอาเซียนเชียงราย (Chiang Rai Flower and Art festival 2022) ฯลฯ
.
ดำเนินรายการโดย คุณ จีระสุข ฃินะโชติ
.
ออกอากาศ [18 มกราคม 2565 ] ติดตามรับฟังได้ทาง #วิทยุราชมงคลธัญบุรี #RmuttRadio #รอบบ้านเรา #เชียงราย #ราชบุรี #ลุงขาวไขอาชีพ #สวนผึ้ง #สวนผึ้งไฮโดร
—————————————————————————————————————————
สวัสดีค่ะขอต้อนรับท่านผู้ฟังเข้าสู่รายการรอบบ้านเรา (Talk of the Town ) สถานีวิทยุราชมงคลธัญบุรี พบกับจีระสุข ชินะโชติ ดำเนินรายการ
ช่วงที่ 1. ประวัติ ลุงขาวไขอาชีพ และความเป็นมาของมูลนิธิลุงขาวไขอาชีพ (ตอนที่ 1)
วันนี้พาท่านผู้ฟังมาติดตามเรื่องราวข่าวสารต่างๆ และบทสัมภาษณ์พิเศษของบุคคล เรามาเริ่มกันที่
ประวัติ ลุงขาวไขอาชีพ หรือ นาย วราพงษ์ พงษ์บริบูรณ์เกิด 26 มิถุนายน พ.ศ. 2471 จังหวัดสระบุรี ประเทศสยาม เสียชีวิต 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (80 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย สัญชาติ – ไทย อาชีพ- นักธุรกิจ, นักประชาสัมพันธ์, นักพูด, นักประดิษฐ์, นักสังคมสงเคราะห์, นักเขียน , คู่สมรส บุญเรือน พงษ์บริบูรณ์ มีบุตร 4 คน
ลุงขาวไขอาชีพ หรือ วราพงษ์ พงษ์บริบูรณ์ ( 26 มิถุนายน พ.ศ. 2471 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551) นักธุรกิจ นักประชาสัมพันธ์ นักพูด นักประดิษฐ์ นักสังคมสงเคราะห์ และนักเขียนชาวไทย
ประวัติ วัยเด็ก
วราพงษ์ พงษ์บริบูรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2471 ที่ตำบลหนองควายโซ อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี จบชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และปวส. ที่พาณิชยการพระนคร และเป็นยุวชนทหารสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง[3] งานเพื่อสังคม ปี 2509 “ลุงขาว” เป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ “กระจกเงาเยาวชน” ทางช่อง 4 บางขุนพรหม บุคคลที่อ้างอิงได้ ที่เคยออกรายการคือ ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รายการวิทยุ “ชีวิตนี้มีความหวัง” และรายการ “ลุงขาวไขอาชีพ” สอนอาชีพง่ายๆ ทางสถานีวิทยุ ททท. ประมาณปี พ.ศ. 2510 “ลุงขาว” เป็นกรรมการสมาคมศิษย์เก่าพาณิชยการพระนคร ได้จัดโครงการ อาสาสมัครพาณิชยการสามสถาบัน คือ พระนคร พระเชตุพนธ์ และตั้งตรงจิตร ทั้งสามวิทยาลัยร่วมทำกิจกรรมอาสาสมัครเข้าไปช่วยถือของให้ผู้สูงอายุที่ตลาดนัดท้องสนามหลวงในวันเสาร์และอาทิตย์ เพื่อฝึกฝนให้มีความกล้าและรู้จักทำประโยชน์แก่ผู้อื่น ฝึกสอนให้เป็นผู้รู้จักคิดรู้จักทำในทางที่ถูกต้อง และให้เกิดความสามัคคีในระหว่างวิทยาลัยทั้งสาม[4] ชีวิตส่วนตัว
“ลุงขาว” สมรสกับ คุณบุญเรือน (ขาวละออ) พงษ์บริบูรณ์ บุตรี หมอหลง ขาวละออ (บ.ภ., บ.ว.) ผู้ก่อตั้ง “ขาวลออโอสถ”ซึ่ง”ลุงขาว” เป็นผู้บุกเบิกขยายตลาดไปต่างจังหวัดจนทั่วประเทศ ด้วยการฉายหนังพร้อมโฆษณาขายยา[6] ยาที่มีชื่อเสียงคือยาถ่ายพยาธิขาวละออ วิธีการของลุงขาวในการฉายหนังก็ไม่เหมือนผู้อื่น ได้ประยุกต์ใช้ปริซึมสะท้อนแสงฉายออกกระจกหน้าจอทีวี ทำให้ผู้ชมตื่นเต้นมาก ซึ่ง ขาวลออโอสถ ก็คือ “ขาวละออเภสัช” ในปัจจุบัน[5] ความเป็นมาของมูลนิธิลุงขาวไขอาชีพ
ในปี 2511 “ลุงขาว” หลังจากรถยนต์ที่ใช้ฝึกสอนอาชีพเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ ไม่สามารถไปฝึกสอนในต่างจังหวัดได้อีก “ลุงขาว” และผู้ฟังวิทยุรวมกลุ่มกันจัดตั้ง “ชมรมสัมมาอาชีพวิทยาทาน” สอนอาชีพง่ายๆ โดยผู้สอนที่มิจิตใจเสียสละ มาสอนให้โดยไม่คิดค่าตอบแทน ในปี 2512 “สันนิบาตเสรีชนแห่งประเทศไทย” ถนนเพลินจิต ได้ให้สถานที่สอนอาชีพเพื่อเป็นวิทยาทานในวันเสาร์และอาทิตย์ มีผู้มาเรียนวันละประมาณ 400 คน วิชาที่จะเรียนก็เป็นอาชีพง่ายๆ เรียนได้ในวันเดียวหรือครึ่งวัน ไม่ต้องมีทุนทรัพย์มาก เช่น การทำขนมครก การทำปาท่องโก๋ เทคนิคการถ่ายภาพและอัดภาพ หรือกระทั่งการทำตุ่มซีเมนต์แบบง่ายโดยใช้กระสอบเย็บขึ้นรูปเป็นตุ่มบนแผ่นซีเมต์ก้นตุ่มที่ได้เตรียมไว้แล้ว ใส่แกลบเข้าไปในกระสอบให้เต็ม ทาจาระบีให้ทั่วแล้วพอกด้วยปูนซีเมนต์ เมื่อปูนแห้งก็นำแกลบและกระสอบออก ก็จะได้ตุ่มตามต้องการ ตุ่มซีเมนต์แบบนี้จะมีขนาดใหญ่เท่าใดก็ได้ตามต้องการเพราะสร้างอยู่กับที่ไม่ต้องเคลือนย้าย ซึ่งผู้ที่เผยแพร่วิธีนี้แก่”ลุงขาว” คือ พ่อค้าชื่อ “หลวง มหานาม” ยังมีการสอนวิชาชีพจากวิทยากรที่เข้ามาช่วยโดยเสียสละเวลามาและไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิชาชีพช่างต่าง ๆ ,การตัดเย็บเสื้อผ้า,การทำขนม เช่น โรตีสายไหม,น้ำหวานบรรจุขวดแบบไม่ใส่สารกันบูด (บุตรสาวลุงขาวสอนเอง),การต่อเรือเล็ก โดยอาจารย์บุญยืน สุวรรณานนท์ ,การสอนซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยอาจารย์นิวัฒน์ แจ้งพลอย การทำดอกไม้ประดิษฐ์ โดยอาจารย์ ประยงค์ บุญประกอบ การสอนศิลปป้องกันตัว การทำซิลค์สกรีน เป็นต้น ภายหลังชมรมสัมมาอาชีพวิทยาทาน ได้เปลี่ยนชื่อเป็นชมรมลุงขาวไขอาชีพ และ “มูลนิธิลุงขาวไขอาชีพ” องค์กรสมาชิกสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามลำดับ
ติดตาม เรื่องราวเกี่ยวกับ ลุงขาวไขอาชีพ หรือ วราพงษ์ พงษ์บริบูรณ์ กันในตอนต่อไป
.
ช่วงที่ 2. ตอน จังหวัดราชบุรี
ถ้าพูดถึง ราชบุรี ต้องนึกถึงคำขวัญ ที่ว่า : คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี
ราชบุรี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตก โดยเป็นศูนย์กลางในด้านอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและการปศุสัตว์ของประเทศ ทิศเหนือติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดนครปฐม และทิศตะวันตกติดต่อประเทศพม่า จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก
ประวัต ราชบุรี ดินแดนวัฒนธรรมลุ่มน้ำแม่กลองและสายหมอกแห่งขุนเขาตะนาวศรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตกที่มีภูมิประเทศหลากหลาย จากพื้นที่ที่ราบต่ำ ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอันอุดม แหล่งเพาะปลูกพืชผักผลไม้เศรษฐกิจนานาชนิด สู่พื้นที่สูงทิวเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวทางทิศตะวันตกจรดชายแดนไทย-พม่า
จากตำนานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ราชบุรีเป็นหัวเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมากแห่งหนึ่งของแคว้นสุวรรณภูมิมาตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดียได้เผยแพร่พุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแถบนี้ เมื่อราวปี พ.ศ. 218 โดยแคว้นสุวรรณภูมินี้มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครปฐมหรือที่สมัยนั้นเรียกกันว่า “ทวารวดี” ราชบุรียังเป็นแหล่งพบปะของพ่อค้าวาณิชแต่ครั้งโบราณ ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านที่ติดต่อกับพม่า ราชบุรีจึงเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่สุดแห่งหนึ่ง
ห่างจากกรุงเทพมหานครเบื้องทิศตะวันตกราว 110 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของจังหวัดราชบุรี ดินแดนอันเป็นที่มาของโอ่งเคลือบลายมังกรและผ้าทอบ้านไร่หรือผ้าขาวม้าอันลือชื่อ สำหรับผู้ไม่ใช่ชาวบ้านพื้นถิ่นน้อยคนนักจะเข้าใจว่าอุตสาหกรรมเครื่องปั่นดินเผาและหัตถกรรมทอผ้าพื้นเมืองเป็นเป็นเพียงผลงานบางส่วนที่สะท้อนความหลากหลายของราชบุรีที่ฝากร่องรอยทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม
.
ช่วงที่ 3. “สวนผัก ไฮโดรฟาร์ม สวนผึ้ง ฟาร์มผัก ไร้ดิน เปิดตลาดให้กับนักท่องเที่ยว ตลาดยังดีมีอนาคต”
คุณจักรินทร์ อึ่งทอง ผู้บริหาร สวนผึ้งไฮโดร ฟาร์ม สวนผึ้ง ราชบุรี หลังจากเรียนจบด้านกฎหมาย จากรั้ว รามคำแหง แล้วฝึกงานด้านกฎหมาย ทนายความอยู่ระยะหนึ่ง ก็กลับบ้านเกิดที่ อำเภอ สวนผึ้ง จ้งหวัดราชบุรี พอดีที่บ้านมีที่ดินอยู่แปลงหนึ่ง ย่าน อำเภอ สวนผึ้ง ขนาด7ไร่ ประกอบกับมีความสนใจเกี่ยวกับกาารปลูกพืชผักที่ใช้น้ำ ไม่ใช้ดิน เลยเกิดความสงสัย ว่าเป็นอย่างไร จึงเข้าไปอบรม แถวๆรามอินทราอยู่2วัน และทดลองปลูกขึ้นมาตามตำราที่อบรมมา ปรากฎว่าเกิดปัญหาหลายอย่าง เบื้องต้นคือ ปัญหาเรื่องน้ำทีแรกใช้น้าบาดาล เพราะคิดว่าเป็นน้ำสะอาด แต่น้ำดาลมีตะกัน ตะกอนมากอยู่งก้นราง จะจับดักสารอาหารของพืช ทำให้พืชผักไม่เติบโต ลองใช้น้ำในลำห้วยก็ไม่ได้อีก เพราะมีธาตุต่างๆที่ไม่เหมาะสมอยู่มาก สุดท้ายก็ลองใช้น้ำฝน ปรากฎว่าได้ผลดี จึงลองน้ำฝนเพื่อใช้ปลูกพืชผักที่ไม่ใช้ดินตลอดปี ส่วนน้ำปะปา ก็ต้องให้มีค้าPh7กว่าๆ แลค่าEC อยู่ระหว่าง1,200-1,400 ถึงจะใช้ได้ จะเห็นว่ากว่าจะลงมือปลูกผักไม่ใช้ดินมีปัญหามาตั้งแต่เรื่องน้ำ
พอจะปัญหาเรื่องน้ำหนดไป เรื่องอื่นก็ตามมาอีก คุณ จักรินทร์ ก็ต้องศึกษา เรียนรู้ต่อไป ตั้งแต่แมลงศัตรูพืช จำพวก เพี้ยะ ไร หนอนกินผัก ด้วยการใช้น้ำส้มควันไม้ ฉีดพ่น และกำจักหนอนตัวเป็นๆ หลังจากนั้นจึงลงมือปลูกเป็นทางการบนแปลงเล็กๆ แแล้วรับประทานกินเอง แจกญาติพี่น้องและ เพื่อนบ้าน จากนั้นจึงเริ่มจำหน่าย โดยประชาสัมพันธ์ทางออนไลน์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ ริมถนน ปรากฎว่าจำหน่ายได้ให้กับ ลูกค้าที่เป็นโรงแรมรีสอร์ ย่านสวนผึ้งเพื่อเป็นวัตถุดิบประอกบอาหารให้นักท่องเที่ยว ตลาดต้อนรับอย่างดี เพราะสวนผักไฮโดร สวนผึ้ง ของคุณ จักรินทร์ ใช้ระบบการปลูกเป็นแบเกษตรปลอดภัย ได้รับหนังสือรับรอง จากกรมวิชาการเกษตร ถึงทุกวันนี้ คุณ จักรินทร์ ก็ยังคงมุ่งมั่นปลูกผัก จำพวกผักสลัด มีเรดคลอรอล กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค บัตเตอร์เฮด และ คอส มีคำสั่งซื้อมาทุกวัน บางวันไม่พอจำหน่าย ถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร แต่คุณ จักรินทร์ก็มุ่งมั่นพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งๆขึ้นไปเพื่อคุณภาพผลผลิตที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นตลอดไป
ถึงตรงนี้ทำให้เราทราบว่า การใดก็แล้วแต่หากลงมือทำเอง ด้วยความพยายาม ความขยันหมั่นเพียรแล้ว ย่อมประสบความสำเร็จและเรียนรู้ปัญหา อุปสรรค และหนทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ดีจนประสบผล และนี่คือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่9 ที่ว่าด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเอง และมีความอดทน ขยันหมั่นเพียร การกิจทั้งหลายก็จะประสบความสำเร็จ ด้วยความภาคภูมิใจของผู้นั้น เมื่อสำเร็จแล้วก็พร้อมที่จะต่อยอด พัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไป “คุณ จักรินทร์ อึ่งทอง” เจ้าของ ไฮโดรฟาร์ม สวนผึ้ง เป็นตัวอย่าง เป็นคนต้นแบบให้เราได้เรียนรู้ ถึงความเพียรพยายามจนประสบความสำเร็จ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่9 ค่ะ
(ขอบคุณข้อมูล อาจารย์ทวีศักดิ์ เกษปทุม)
.
ช่วงที่ 4 . สัมภาษณ์บุคคล พบกับ คุณจักริน อึ่งทอง ผู้ดูแลฟาร์ม สวนผึ้งไฮโดร ต.ท่าเคย อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี “สวนผัก ไฮโดรฟาร์ม สวนผึ้ง ฟาร์มผัก ไร้ดิน เปิดตลาดให้กับนักท่องเที่ยว ตลาดยังดีมีอนาคต”
.
ช่วงที่ 5 บทสัมภาษณ์บุคคล พบกับ นายวิสูตร บัวชุม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงราย เรื่องมหกรรมไม้ดอกอาเซียนเชียงราย (Chiang Rai Flower and Art festival 2022) ฯลฯ
จีระสุข ชินะโชติ ดำเนินรายการ สวัสดีค่ะ