TechTrend I EP.9 I ระบบการจ่ายไฟฟ้า สำหรับรถไฟฟ้าที่ปลอดภัย

TechTrend I EP.9 I ระบบการจ่ายไฟฟ้า สำหรับรถไฟฟ้าที่ปลอดภัย

ระบบการจ่ายไฟฟ้าสำหรับรถไฟ คืออะไร
เป็นระบบการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับรถไฟหรือรถราง เพื่อให้สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าบนขบวนรถไฟฟ้า โดยข้อได้เปรียบของรถไฟที่ใช้พลังไฟฟ้า คือ สามารถเดินรถในระยะทางที่ยาวได้ โดยไม่ต้องเติมเชื้อเพลิง ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาในระยะยาว มีค่าอัตราส่วนกำลังต่อน้ำหนักที่สูงกว่าการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงดีเซล แต่มีข้อเสียตรงที่จะต้องใช้เงินลงทุนที่สูงในการติดตั้งระบบจ่ายไฟฟ้าสำหรับรถไฟ โดยมีรูปแบบระบบจ่ายไฟฟ้า 2 แบบ คือ (1) แบบระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือพื้นดิน และ (2) แบบระบบจ่ายไฟฟ้ารางที่สาม ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีรถไฟฟ้าที่ให้บริการแล้ว ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้า BTS ระบบรถไฟฟ้า MRT (สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง) และระบบรถไฟฟ้า Airport Rail Link โดยระบบการจ่ายไฟฟ้าให้กับรถไฟฟ้าในประเทศมีดังนี้
ระบบรถไฟฟ้า ระบบจ่ายไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า
BTS รางที่สาม 750 โวลต์ กระแสตรง
MRT รางที่สาม 750 โวลต์ กระแสตรง
Airport Rail Link เหนือพื้นดิน 25,000 โวลต์ กระแสสลับ 50 เฮิรตซ์

ติดตามรับฟังรายการได้ทาง
FM 89.5 MHz สถานีวิทยุกระจายเสียง มทร.ธัญบุรี
วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม 2566 เวลา 8.00 – 8.30 น.
นำเสนอสาระความรู้โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี
ดำเนินรายการโดย ดร.ปานรวี รุ่งสกุลโรจน์
และ ดร.สถาพร ทองวิค อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมระบบราง