ทิศทางอุตสาหกรรมอากาศยาน กับความน่าวนใจของสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อากาศยาน มทร.ธัญบุรี

RMUT TALK l ทิศทางอุตสาหกรรมอากาศยาน กับความน่าวนใจของสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อากาศยาน มทร.ธัญบุรี

สัมภาษณ์ ผศ.ดร.นิพนธ์ ทางทอง
ประธานหลักสูตรสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อากาศยาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

นโยบายของรัฐบาลต้องการในยกระดับมาตรฐานการบินไปในทิศทางของ EASA Stand ard ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ได้พัฒนามาตรฐานของกฎหมายการนินและการให้ใบอนุญาตไปในทิศทางของ EASA
Stand ard ซึ่งช่างซ่อมบำรุงอากาศยานนับเป็นปัจจัยหลักสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการคงความสามารถในการบิน (Continuing Airwor thiness)
ดังนั้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจึงได้ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์สอบมาตรฐาน EASA Examination (Part 147) ในประเทศไทย โดยการทำความร่วมมือกับศูนย์ฝึกอบSม Aircraft Maintenance Collage 66 จากประเทศ Netherland ซึ่งได้รับการ Approved ให้เป็น EASA Part-147 Training Organization NL.147.7366 (EASA Approval Reference: NL.147.7366) โดยมีจุดประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานของช่างซ่อมบำรุงอากาศยานของ ประเทศไทย ให้ได้รับการยอมรับ จากประเทศในกลุ่ม Europe และ Asia มากขึ้น ทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน และศักยภาพของช่างซ่อมบำรุงอากาศยานให้เทียบเท่ากับมาตรฐานสากล ที่ Airline & MRO ในต่างประเทศรับรอง สำหรับการสอบ AML (Aircraft Maintenance Licence) หรือ Part-66 จะแบ่ง การสอบแบ่งออกเป็น 3
ระดับคือ Category A1, Category B1.1 และ Category B2

รับฟังได้ทาง FM 89.5 MHz. Innovation for Life วิทยุราชมงคลธัญบุรี
ออกอากาศ วันที่ 16 เมษายน 2567
เวลา 14.00 – 14.30 น.
ผู้ดำเนินรายการ อาทิตยา ปักกะทานัง