Talk of the Town รอบบ้านเรา l อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

Talk of the Town รอบบ้านเรา
วันนี้ติดตามการให้สัมภาษณ์ พบกับ สิบตำรวจโท กุลบล พลวัน Pol.Cpl. KUNLABOL PONLAWAN , นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เรื่อง อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

.
ดำเนินรายการโดย คุณ จีระสุข ฃินะโชติ
.
ออกอากาศ [25 มกราคม 2565 ] ติดตามรับฟังได้ทาง #วิทยุราชมงคลธัญบุรี #RmuttRadio #รอบบ้านเรา

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เป็นอุทยานแห่งชาติเพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย ที่รวบรวมประวัติศาสตร์ ,ความงามของธรรมชาติทั้งธรณีวิทยา และทัศนียภาพอันประติมากรรมเกิดจากการผสมผสานของพื้นป่าที่สมบูรณ์และความเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติ ที่เป็นปัจจัยให้ภูหินร่องกล้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และธรรมชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย
.
ภูหินร่องกล้า ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 ครอบคลุมพื้นที่ 307 ตารางกิโลเมตร หรือ 191,875 ไร่ ของจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเลย และจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 48 ของประเทศไทย
.
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมประเทศโดยทั่วไปของภูหินร่องกล้า เป็นเทือกเขาสูงสับซับซ้อน ในเทือกเขาภูหินร่องกล้าประกอบด้วยยอดเขาที่สำคัญ เช่น ภูร่องกล้า ภูลมโล ภูแผงม้า โดยมีภูหมันขาว เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด โดยสูง
จากระดับน้ำเทปานกลาง ประมาณ 1,800 เมตร เทือกเขาเหล่านี้จะมีความสูงลดหลั่นลงไป จากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของภูหินร่องกล้านั้นมีความใกล้เคียงกับอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมาก กล่าวคือ หนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวบางปี อุณหภูมต่ำที่สุด 0-2 องศาเซลเซียส และปกคลุมด้วยหมอกทั่วไปในพื้นที่ ฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบาย ส่วนฤดูฝน จะมีฝนตกค่อนข้างชุก อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 18-25 องศาเซลเซียส
.
พืชพรรณและสัตว์ป่า
พื้นที่ป่าส่วนใหญ่ของภูหินร่องกล้า บริเวณที่ราบปกคลุมด้วยพื้นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ตะแบก ประดู่ เต็ง และรัง บริเวณหุบเขาหรือละห้วยเป็นป่าดิบแล้ง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยาง ตะเคียน แดง มะค่าโมง พืชพื้นล่างจะเป็นพวกปาล์มและหวาย สูงจะพบป่าสนเขาซึ่งประกอบด้วยสนสองใบ และสนสามใบ ส่วนยอดเขาที่มีความสูง 1,100 เมตรขึ้นไป เป็นป่าดิบเขา ส่วนใหญ่พันธุ์ไม้จะเป็นไม้เนื้ออ่อนพวกก่อ สนสามพันปี ก่วมแดง (เมเปิ้ล)
.
หว้า สารภีป่า และส้าน ที่ราบสันเขาที่เป็นดินทรายและลานหิน จะพบพันธุ์ไม้และกล้วยไม้ เช่น ข้าวตอกฤาษี มอสส์ ดุสิตา หญ้าข้าวก่ำ เอ็นอ้า ม้าวิ่ง และกุหลาบขาว นอกจากนี้ ยังพบพันธุ์พืชที่หายากของเมืองไทยในพื้นที่ภูหินร่องกล้า อาทิ ปาหนันร่องกล้า มณฑิรา เทียนภูหลวง จำปีพิษณุ เอื้องหมันแดง เอื้องเทียนร่องกล้า และเฟิร์นซิกแซก
สัตว์ป่าที่พบได้ในปัจจุบัน ไดแก่ เลียงผา หมูป่า หมี เก้ง หมาจิ้งจออก แมวดาว และนกนานาชนิด เช่น นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกโพระดก นกปีกแพรสีเขียว นกพญาไฟใหญ่ นกเขา และนกปรอดเหลืองหัวจุก
.
หล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
ภูหินร่องกล้ามีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจแยกออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านประวัติศาสตร์ และด้านธรรมชาติ
ด้านประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ใช้เป็นที่อยู่อาศัย และประกอบกิจกรรมต่าง ๆ สถานที่เหล่านี้ ปัจจุบันทางอุทยานแห่งชาติได้เข้าไปดูแลให้สภาคงเดิม เช่น
โรงเรียนการเมืองการทหาร อยู่ห่างจากที่ทำการอุยานแห่งชาติ ประมาณ 4 กิโลเมตร สภาพป่ารกครึ้มหนาแน่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่
และยังมี กังหันน้ำ ,ผาชูธง ด้านธรรมชาติ ส่วนใหญ่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในอุทยานแห่งชาติ ได้แก่ ลานหินปุ่ม ,ลานหินแตก
ภูร่องกล้า อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 11 กิโลเมตร เดินทางไปถึงหมู่บ้านร่องกล้า แล้วแยกขวามือไปตามถนนดินอีก ประมาณ 4 กิโลเมตร ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยวภูร่องกล้าอยู่ในช่วง ฟดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์)
ภูลมโล อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เดินทางผ่านไปบ้านร่องกล้า จนถึงจุดชมวิว ประมาณ 15 กิโลเมตร และในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ดอกพญาเสือโคร่งจะออกดอกบานสะพรั่งเต็มภูเขาสวยงามเป็นอย่างยิ่ง
.
สิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า มีส่งอำนวยความสะดวกมากมายไว้รองรับผู้ที่มาท่องเที่ยว เช่น ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บ้านพักนักท่องเที่ยว จำนวน 21 หลัง ค่ายพักแรม จำนวน 6 หลัง สถานที่กางเต็นท์รองรับได้มากกว่า 500 คน ห้องน้ำ – ห้องสุขา ร้านอาหาร ร้านค้าสวัสดิการ และระบบสาธารณูปโภคครบครัน
.
การเดินทาง
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 500 กิโลเมตร สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ
• เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดสระบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มเก่า ภูทับเบิก จนถึงภูหินร่องกล้า เส้นทางนี้จะต้องขึ้นเขาภูทับเบิกที่สูงชัน ผู้ขับขี่ต้องมีความชำนานในการขับขี่รถพอสมควร
• เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯ ผ่านไปทางจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอนครไทย จนถึงภูหินร่องกล้า เส้นทางนี้จะสะดวกกว่าขึ้นทางภูทับเบิก
.
สอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักได้ที่
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ตู้ ปณ 3 อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 65120
โทรศัพท์ 08-1596-5977 E-MAIL ; PHUH-055@HOTMAIL.CO.TH
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก)
โทรศัพท์ 0-5500-9937 โทรสาร 0-5500-9938
สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
โทรศัพท์ 0-2562-0760 โทรสาร 0-2579-5269
ดูรายละเอียดได้ที่ www.nps.dnp.go.th