Talk of the Town รอบบ้านเรา l โชว์ “คุ้งบางกะะเจ้า” จ.สมุทรปราการ

Talk of the Town รอบบ้านเรา l โชว์ “คุ้งบางกะะเจ้า” จ.สมุทรปราการ
.
– การนำเทคโนโลยี5G มาสร้างงานสร้างงานสร้างอาชีพ ฯ
– คุณวัชรี ชูรักษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท. ) ให้สัมภาษณ์….. โชว์ “คุ้งบางกะะเจ้า” จ.สมุทรปราการ

.
ดำเนินรายการโดย คุณ จีระสุข ฃินะโชติ
.
ออกอากาศ [27 กันยายน 2565 ] ติดตามรับฟังได้ทาง #วิทยุราชมงคลธัญบุรี #RmuttRadio #รอบบ้านเรา
…………………………………………………
ช่วงที่ 1 การนำเทคโนโลยี5G มาสร้างงานสร้างงานสร้างอาชีพ ฯ
เราจะเห็นว่าการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ได้เกือบทุกสาขาอาชีพ ดังจะเห็นตัวอย่าง ในเรื่องเทคโนโลยีการผลิตในระบบอุตสาหกรรม ทั้งระบบการผลิตทุกมิติของอุตสาหกรรมนั้นๆ การสร้างงานก็คือ บุคคลากรในระบบอุตสาหกรรม ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจการนำโปรแกรมมาใช้ในระบบการผลิตของโรงงานนั้นๆ ขณะเดียวกัน ก็เกี่ยวกับการสร้างงานสำหรับผู้ที่จะมาเป็นโปรแกรมเมอร์ ออกแบบโปรแกรมเพื่อนำมาใช้กับกิจการ กิจกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่นในการผลิตในระบบอุตสาหกรรม / ยังมีอีกหลายวิชาชีพ เมื่อนำเอาเทคโนโลยี 5G มาใช้ แต่การสร้างงาน สร้างอาชีพก็เกี่ยวข้องกับวิชาชีพนั้นๆโดยตรง กล่าวคือ ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อนำความรู้มาใช้กับวิชาชีพตนเอง เช่นเกษตรกร แพทย์ พยาบาล วิชาชีพช่าง รวมทั้งสื่อมวลชน ในสาขาต่างๆ เป็นต้น
.
ส่วนการสร้างงานสร้างอาชีพสายตรงอีกสาขาหนึ่งคือ การเป็นโปรกแกรมเมอร์ เพื่อออกแบบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยการใช้เทคโนโลยี่ 5G มาใช้ให้เกิดประโยขน์สุงสุดกับระบบการผลิตด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การแพทย์ การพยาบาล การบริการต่าง การท่องเที่ยว ระบบการเงินการธนาคาร เป็นต้น โปรแกรมต่างๆเหล่านี้ยังจำเป็นต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เรายังขาดบุคคลากรด้านนี้อยู่มาก เป็นโอกาสดีที่เยาวชนคนรุ่นใหม่จะได้ศึกษาเรียนรู้ เพื่อก้าวขึ้นสู่วิชาชีพ “โปรแกรมเมอร์ในระบบ 5G ต่อไป
.
หลังจากที่บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) บริษัท เดอะ ไวท์สเปซ (WhiteSpace : WSP) และบริษัท จุงหวา เทเลคอม (Chunghwa Telecom) ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการ 5G Enterprise Private Network ไปเมื่อเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา บริษัท จุงหวา เทเลคอม ได้สานต่อความสำเร็จในไต้หวันเพิ่มเติม ด้วยการนำโครงการ 5G Enterprise Private Network มาติดตั้งให้กับบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ที่โรงงานแห่งแรกใน นิคมอุตสาหกรรมบางปู
.
โดย จุงหวา เทเลคอม ได้ร่วมมือกับ NT และเดอะ ไวท์สเปซ เปิดใช้งานเครือข่าย 5G Enterprise Private Network
ที่โรงงานแห่งแรกของ เดลต้า ประเทศไทย ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู ทำให้เกิดการทำงานทางไกลร่วมกันด้วยเทคโนโลยี AR ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ การปฏิบัติงานในโรงงาน และการใช้งานโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลหลังยุคการแพร่ระบาดโควิด-19 ของ เดลต้า ประเทศไทย สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ยังได้วางแผนนำเทคโนโลยี AGV ไปทดสอบกับโครงการ 5G Enterprise Private Network ในโรงงาน และคาดว่าในอนาคตอันใกล้ เดลต้า ประเทศไทย จะสามารถค่อย ๆ ใช้เครือข่าย 5G นี้ เป็นพื้นฐานของเครือข่ายสารสนเทศอัจฉริยะ พร้อมขยายการใช้งานไปสู่โรงงานอื่น ๆ
.
ในอนาคต จุงหวา เทเลคอม ยังคงมีแผนที่จะสานต่อความร่วมมือกับพันธมิตรในไทย โดยมี NT เป็นผู้ให้บริการเครือข่าย 5G บริษัท เดอะ ไวท์สเปซ เป็นผู้มอบประสบการณ์ด้านการตลาดและการดำเนินงานในพื้นที่ และ จุงหวา เทเลคอม ที่จะให้บริการ MEC Intelligent A+ รวมถึงการออกแบบและการวางแผน เพื่อให้บริการโซลูชั่นอัจฉริยะ 5G+AIoT แบบครบวงจรในเขตการปกครองท้องถิ่น อุตสาหกรรมการผลิต การท่องเที่ยว การแพทย์ และการเงินในประเทศไทย
พ.อ. สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ที่ผ่านมา NT ให้ความสำคัญกับการให้บริการในระดับโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง และมุ่งเน้นที่จะขยายบริการในระดับแพลตฟอร์มและ
.
ซอฟต์แวร์ ซึ่งจะเป็นโครงการสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนและผลักดันองค์กรภาครัฐให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล ตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการใช้เครือข่าย 5G จะทำให้ IoT สามารถยกระดับเป็น AIoT ( The Artificial Intelligence of Things (AIoT) ได้ ซึ่งจะช่วยเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น
.
AI + IoT = Artificial Intelligence of Things (AIoT) คือ ปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่ง( AIoT คืออะไร ? แล้วมันสำคัญอย่างไร ? ในขณะที่ IoT เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจโดยการใช้อุปกรณ์หรือเซนเซอร์ในการตรวจจับความผิดปกติ หรือเก็บข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์หา insight อะไรบางอย่าง
.
สำหรับโครงการ 5G Enterprise Private Network NT มุ่งเน้นที่จะตอบสนองความต้องการและให้บริการแก่
กลุ่มวิสาหกิจขนาดใหญ่ เช่น ภาคอุตสาหกรรมการผลิต นอกจากนี้ ยังเน้นการให้บริการ 5G ในรูปแบบ Network Sharing เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนขององค์กร และทำให้องค์กรต่าง ๆ สามารถใช้บริการ 5G คุณภาพสูงได้ โดยในปัจจุบัน NT มีศักยภาพในการให้บริการคลื่นความถี่ 5G ร่วมกับพันธมิตรในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่อื่น ๆ
.
เทปแถลงข่าวสัมภาษณ์ เรื่อง…..การนำเทคโนโลยี5G มาสร้างงานสร้างงานสร้างอาชีพ ฯ ….โดย จุงหวา เทเลคอม ได้ร่วมมือกับ NT และเดอะ ไวท์สเปซ เปิดใช้งานเครือข่าย 5G Enterprise Private Network
.
ช่วงที่ 2 คุณวัชรี ชูรักษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท. ) ให้สัมภาษณ์….. โชว์ “คุ้งบางกะะเจ้า” “คุ้งบางกะเจ้า” เป็นส่วนหนึ่งของ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ แหล่งท่องเที่ยวมาตรฐานสากล อพท. – สกสว. ร่วมภาคี ยกระดับกิจกรรมสีเขียว 6 เส้นทาง ต้นแบบ BCG
.
“คุ้งบางกะเจ้า” เป็นพื้นที่สีเขียวที่ยังคงเหลือไว้ให้เป็นปอดของคนเมือง ทั้งคนกรุงเทพฯ และชาวสมุทรปราการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงศึกษาระบบนิเวศธรรมชาติ และชมวิถีชีวิตชุมชน เหมาะกับการเที่ยวแบบวันเดียวจบ ชวนเที่ยว เติมพลังให้กับชีวิต สัมผัสวิถีชีวิต Slow life
.
“คุ้งบางกะเจ้า” เป็นส่วนหนึ่งของ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ใกล้กรุงเทพมหานคร หรือประมาณ 12,000 ไร่ เป็นที่ตั้งของ 6 ตำบล ได้แก่ บางกระเจ้า บางน้ำผึ้ง บางกอบัว บางกระสอบ บางยอ และทรงคะนอง การเป็นพื้นที่สีเขียว ที่ผลิตออกซิเจน จึงเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ที่ล้อมรอบด้วยลำน้ำเจ้าพระยาอย่างลงตัวด้วยศักยภาพของทุนวัฒนธรรมและทุนทางธรรมชาติของคุ้งบางกระเจ้า จึงตอบโจทย์การเป็นพื้นที่ที่นำมาต่อยอดให้ดำรงอยู่ต่อไปได้อย่างยั่งยืนภายใต้การพัฒนาขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ที่ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว. ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมาตรฐานสากลโดยดึงทุกภาคส่วนเข้ามาบูรณาการความร่วมมือ มีเป้าหมายยกระดับการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และต่อยอดสู่การพัฒนาตลาดท่องเที่ยวคุณภาพสูงได้อย่างยั่งยืน…………..
.
โชว์ “คุ้งบางกะะเจ้า” แหล่งท่องเที่ยวมาตรฐานสากล อพท. – สกสว. ร่วมภาคี ยกระดับกิจกรรมสีเขียว 6 เส้นทาง ต้นแบบ BCGและยังพรั่งพร้อมด้วยประเพณีวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชาวไทย จีน และมอญ ผสมกลมกลืนไปกับวิถีชีวิตเกิดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปในแต่ละชุมชน ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีอัตลักษณ์ที่ทรงคุณค่า
.
อพท.- สกสว. ประสานภาคีเครือข่ายและชุมชนคุ้งบางกะเจ้า ประกาศความสำเร็จโครงการพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมาตรฐานสากล ชูศักยภาพ 6 เส้นทางท่องเที่ยวจากงานวิจัยเชิงลึก พัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวสีเขียว ต้นแบบ BCG Model ขยายผลสู่การบริหารจัดการและคัดแยกขยะในชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ หวังปักหมุดขึ้นชั้น Green Destination Top 100 และการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษในอนาคต
.
นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และภาคีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนในพื้นที่ ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกระเจ้า สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมาตรฐานสากล โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก สกสว. ในโครงการดังกล่าว อพท. และ สกสว. ได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนา ยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่ตลาดท่องเที่ยวคุณภาพสูง ในการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจากระดับชุมชนสู่การออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน รวม 6 เส้นทาง ใน 6 ตำบล ด้วยการสร้างจุดเด่น ดึงอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชนมาต่อยอดเป็นจุดขายสู่การเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวคุณภาพสูง
ทั้งนี้ อพท.ได้นำมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน หรือ CBT Thailand มาใช้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการและการออกแบบเส้นทาง การออกแบบผลิตภัณฑ์และการทำตลาดการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ มีเป้าหมายสูงสุดคือยกระดับให้คุ้งบางกะเจ้าเป็นพื้นที่ต้นแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เชิงวิถีชีวิตและเชิงนิเวศ ตามหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือ GSTC และพร้อมผลักดันให้เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ อพท. ในลำดับต่อไป รวมถึงการผลักดันให้เข้าสู่การได้รับเลือกเป็นแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลก หรือ Green Destinations Top 100 ที่มีระบบการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนโยบายของรัฐบาลภายใต้ BCG โมเดล
.
“นอกจากพัฒนายกระดับในส่วนของกิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน ในงานวิจัยนี้ ยังให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ เพราะการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดขยะเช่นกัน ดังนั้นจึงมีการศึกษาและอบรมให้ชุมชนได้เรียนรู้ถึงกระบวนการคัดแยกขยะ และการรีไซเคิล เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และสร้างมูลค่าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้สอดรับกับหลักการ Circular Economy”
.
***ชู 6 เส้นทาง อัตลักษณ์วิถีชุมชน***
ทั้งนี้ 6 เส้นทาง ที่ได้รับการพัฒนา ได้แก่ 1.เส้นทางสาย Cool ไปกับพื้นที่สีเขียวเที่ยวคุ้งบางกระเจ้า 2.เส้นทางสายชิมลิ้มรสหลากหลาย สไตล์คุ้งบางกระเจ้า 3.เส้นทางสายธรรมะศรัทธาที่คุ้งบางกระเจ้า 4.เส้นทางสาย Learn&Play สัมผัสเสน่ห์คุ้งบางกระเจ้า 5.เส้นทางสายสุขภาพดีที่คุ้งบางกระเจ้า 6. เส้นทางสายตามรอยศาสตร์พระราชาแห่งคุ้งบางกระเจ้า นอกจากนั้นยังได้กำหนดเทศกาลที่คงอัตลักษณ์และวิถีของชุมชนบางกระเจ้าใน 2 เทศกาล ประจำปี ได้แก่ เทศกาลพิธีแห่หงส์-ธงตะขาบ และ พิธีตักบาตรน้ำผึ้ง ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 14 เมษายนของทุกปี
.
เส้นทางท่องเที่ยวทั้งหมด ได้ผ่านการวิจัยในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยการสำรวจกลุ่มนักท่องเที่ยวมาใช้บริการจำนวน 400 คน ที่มีการศึกษาพฤติกรรม และความต้องการของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการในพื้นที่ ทำให้เข้าใจความต้องการของนักท่องเที่ยวในปัจจุบันมากขึ้น ว่าต้องการสัมผัสประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวกับชุมชนท้องถิ่นและลงมือทำกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จึงให้ความสำคัญกับการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกของมรดกภูมิปัญญา วัฒนธรรมพื้นที่ มาสู่การผลิตคู่มือสื่อความหมายสำหรับพื้นที่ รวมทั้งการกำหนดแผนพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของพหุภาคี และยังมีการนำนวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร มีการยกระดับอาหารท้องถิ่นสู่การให้บริการนักท่องเที่ยว เป็นการสร้างจุดขายและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน

“ความสำเร็จที่เกิดขึ้น มาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน และการนำเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน หรือ CBT Thailand ของ อพท. เข้าไปพัฒนา อบรม ให้แก่ชุมชน ทำให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ชุมชนในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าได้รับรางวัลและมาตรฐานต่างๆ เช่น รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (กินรี) จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
.
รางวัล MICE เพื่อชุมชน ของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ สามารถสร้างการยอมรับจากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรูปแบบการท่องเที่ยวมีทั้ง One Day Trip และการท่องเที่ยวแบบพักแรมในโฮมสเตย์ของชุมชน ”นาวาอากาศเอก อธิคุณกล่าว
.
***พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตอบ BCG Model ***
อย่างไรก็ตามภายหลังรัฐบาลประกาศเปิดประเทศ สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย เริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกำลังเข้าสู่ไฮซีซั่นในช่วงปลายปี อพท. มั่นใจว่าพื้นที่คุ้งบางกระเจ้าจะเป็นอีกหนึ่งจุดหมายสำคัญ ที่มีศักยภาพรองรับนักท่องเที่ยวทั้งจากกรุงเทพ และจังหวัดใกล้เคียง เนื่องจากความหลากหลายของเส้นทางการท่องเที่ยวที่พร้อมให้บริการ โดยปัจจุบัน อพท. ได้ร่วมกับชุมชนเตรียมความพร้อมการให้บริการ ให้มีความสามารถในการรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวของพื้นที่ (Carrying Capacity) เพื่อการดูแล และให้บริการอย่างมีคุณภาพ บนฐานของความสมดุล ในการพัฒนาชุมชนในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และได้นำโมเดลเศรษฐกิจ BCG มาพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างความยั่งยืน โดยการนำวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมเข้ามาส่งเสริม สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจชุมชน ในรูปแบบการเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืน
.
***พัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการ***
รองศาสตรจารย์ ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า สกสว. ในฐานะเป็นหน่วยงานการส่งเสริมงานวิจัยเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกับ อพท. ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกระเจ้าสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
มาตรฐานสากล ถือเป็น 1 ใน 6 ของการพัฒนา OUR Khung Bang Kachao ภายใต้มูลนิธิชัยพัฒนา จึงเป็นที่มาของการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวคุณภาพ และยกระดับสินค้าและบริการให้กับชุมชนและภาคีเครือข่ายในการพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกระเจ้าสู่ความยั่งยืน
.
ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวให้กับ 6 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบางกระเจ้า ชุมชนบางกระสอบ ชุมชนบางยอ ชุมชนทรงคนอง ชุมชนบางน้ำผึ้ง และชุมชนบางกอบัว ส่งผลให้ปัจจุบันเส้นทางท่องเที่ยวในคุ้งบางกะเจ้าได้รับการตอบรับจากกลุ่มนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และกระจายอย่างทั่วถึงเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เกิดการฟื้นฟูอนุรักษ์วิถีชีวิต วัฒนธรรม และการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้พื้นที่แห่งนี้สามารถเป็นแหล่งผลิตโอโซนที่สำคัญใกล้เมือง ที่ยังคงอุดมความสมบูรณ์และยั่งยืนต่อไป
.
*** “สมุทรปราการ” พร้อมหนุนแผนพัฒนา***
นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า จังหวัดสมุทรปราการได้บรรจุแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษคุ้งบางกะเจ้าของ อพท. ไว้ในแผนพัฒนาจังหวัด โดยมีเป้าหมายพัฒนาให้คุ้งบางกะเจ้าเป็นพื้นที่ต้นแบบแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมาตรฐานสากล ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์
.
แผนงานและกลยุทธ์การพัฒนาของจังหวัดสมุทรปราการ และยังทำให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายในจังหวัดได้เรียนรู้การพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญการท่องเที่ยว ได้บูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ มีเป้าหมายเดียวกัน โดยจังหวัดยังสามารถนำองค์ความรู้ แนวทางการพัฒนาที่เกิดผลสัมฤทธิ์นี้ ไปขยายผลยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในจังหวัด ทำให้การขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดบรรลุวิสัยทัศน์ได้รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมให้การสนับสนุนและหนุนเสริมงานวิจัยนี้อย่างเต็มที่เต็มกำลังตามบทบาทภารกิจที่มีอยู่
.
***สัมผัสอัตลักษณ์ชุมชนท่องเที่ยว***
ด้านนายสมปอง รัศมิทัศน์ ประธานชมรมเครือข่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนคุ้งบางกะเจ้า กล่าวว่า จากการเข้ามาพัฒนาของ อพท. และ สกสว. ที่เริ่มจากการประเมินศักยภาพของชุมชน จัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยว จึงพบว่าชุมชนในคุ้งบางกะเจ้ามีฐานทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมที่สามารถสะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนทั้งในด้านการประกอบอาชีพ ทางการเกษตร และสามารถกำหนดเป็นเส้นทางกิจกรรมการท่องเที่ยวย้อนยุควิถีคลอง วิถีชีวิต ที่เชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนอื่นๆ ได้อย่างลงตัว
.
ทั้งนี้ อพท. ได้เข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งการพัฒนา นักสื่อความหมาย การพัฒนาต่อยอดเป็นกิจกรรมประกอบอาหารพื้นถิ่น การจัดจานอาหารในเมนูเมี่ยงกลีบบัวพริกเกลือ ซึ่งจะเป็นไฮไลท์ของชุมชนบางกอบัว รวมถึงกิจกรรมทำผ้ามัดย้อมจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เปลือกลูกจาก ใบหูกวาง โดยนำมาต้มเพื่อให้ได้สีธรรมชาติ รวมถึงการจัดกิจกรรมล่องเรือชมวิถีคลอง ที่จะพานักท่องเที่ยวพายเรือ เรียนรู้ธรรมชาติ พันธุ์ไม้หลากหลาย เช่น จาก ลำพูน ลำแพ จึงตอบได้ว่า แนวทางการทำงานของ อพท. สามารถทำให้คุณภาพชีวิตของคนในคุ้งบางกะเจ้าดีขึ้นในทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และนำไปสู่ความยั่งยืนต่อไป
—————————–
จีระสุข ชินะโชติ
ดำเนินรายการขอบพระคุณและสวัสดีคะ