Talk of the Town รอบบ้านเรา l มูลนิธิ “ลุงขาวไขอาชีพ” (ตอนที่ 3)

Talk of the Town รอบบ้านเรา l มูลนิธิ “ลุงขาวไขอาชีพ” สอนอาชีพฟรี เพื่อเป็นประโยชน์และที่พึ่งให้แก่ประชาชน มีหลากหลายหลักสูตรอาชีพที่เปิดสอน ให้ได้เลือกเรียนตามความต้องการ (ตอนที่ 3)
– “หรอยแรงแหล่งใต้” เที่ยว14จังหวัดภาคใต้ 365วันมหัศจรรย์เที่ยวใต้ พร้อมเสริฟ์ 14เมนูประสบการณ์ท่องเที่ยวเด็ดๆที่มีอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ในแต่ละจังหวัดภาคใต้ เที่ยวได้ตลอดทั้งปี 365วัน “โมเมนต์ที่ใช่ สร้างได้ไม่ต้องรอ”
– ติดตามเรื่องราวเกี่ยวบทสัมภาษณ์พิเศษSpecial Interview สัมภาษณ์บุคคล คำถามสัมภาษณ์ นายสมชาย ชมภูน้อย ผู้อำนวยการภูมิภาค ภาคใต้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
– สำนักงานการวิจัยแหงชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขอเชิญทุกท่านร่วมงาน วันนักประดิษฐ์ 2566 Thailand Inventors’Day 2023 ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2566 ณ Event Hall 100-102 | ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
.
ดำเนินรายการโดย คุณ จีระสุข ฃินะโชติ

.
ออกอากาศ 1 กุมภาพันธ์ 2566
ติดตามรับฟังได้ทาง #วิทยุราชมงคลธัญบุรี #RmuttRadio #รอบบ้านเรา #เที่ยวใต้ #หรอยแรงแหล่งใต้ #ลุงขาวไขอาชีพ #ททท #วันนักประดิษฐ์
……………………………………………………………………………………………………………………..
สวัสดีค่ะขอต้อนรับท่านผู้ฟังเข้าสู่รายการรอบบ้านเรา (Talk of the Town ) สถานีวิทยุราชมงคลธัญบุรี พบกับจีระสุข ชินะโชติ ดำเนินรายการ ติดตามรายละเอียดดังนี้
ช่วงที่ 1 มูลนิธิ “ลุงขาวไขอาชีพ” สอนอาชีพฟรี เพื่อเป็นประโยชน์และที่พึ่งให้แก่ประชาชน มีหลากหลายหลักสูตรอาชีพที่เปิดสอน ให้ได้เลือกเรียนตามความต้องการ
จุดเริ่มต้นของลุงขาวไขอาชีพ การสอนอาชีพ : สอนอาชีพตามหมู่บ้านต่างๆ
.
จุดเริ่มต้นของการสร้างอาชีพให้กับคนไทย เริ่มต้นจากลุงขาวเดินทางไปโฆษณาขายยาทั่วประเทศ ระหว่างเดินทาง ได้เห็นความยากลำบากของชาวบ้าน มีทั้งคนว่างงาน คนด้อยโอกาส และคนที่อยากจะสร้างอาชีพให้ตัวเอง แต่ไม่ได้มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงไม่สามารถต่อยอดพัฒนาและสร้างอาชีพตามที่ต้องการได้ ลุงขาวจึงได้รวบรวมความรู้ด้านวิชาชีพที่สั่งสมมาทั้งหมด จากการเดินทางจากถิ่นหนึ่งไปสอนให้ชาวบ้านอีกถิ่นหนึ่งโดยไม่คิดเงิน เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้ มีอาชีพที่เลี้ยงปากท้องของตัวเองและช่วยสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านในชุมชนนั้นๆ
.
โดยอาชีพที่ลุงขาวนำไปสอน ก็เป็นอาชีพง่ายๆ เช่น ทำโอ่งเก็บน้ำฝน หน้าแล้งจะได้มีน้ำใช้ หรือจะเป็นการทำลูกอม ให้เด็กๆ ในหมู่บ้านมีขนมกิน ทำขนมเค้ก และซ่อมจักรยาน เป็นต้น
รูปแบบของการสอนอาชีพจะเป็นลักษณะของการชักชวนให้เด็กๆ มาเรียนรู้ สนุกๆ แบบเล่นด้วยเรียนด้วย ส่วนของกลุ่มผู้ใหญ่ก็จะเป็นการสอนแบบแนะนำโดยใช้คำพูดหรือสำนวนสนุกสนานชวนให้ติดตามและสนใจ
สำหรับเด็กๆ และชาวบ้าน ลุงขาวจะเปรียบเสมือนแหล่งความรู้เคลื่อนที่ เป็นเสมือนญาติผู้ใหญ่ที่คอยสอน แนะนำ ถ่ายทอดความรู้เรื่องต่างๆ ให้ชาวบ้าน และเด็กๆ ด้วยวิธีการง่ายๆ พูดคุยเป็นกันเอง จนไปที่ไหนใครๆ ก็จะเรียกเขาว่า”ลุงขาวละออ” เพราะเป็นผู้ที่มาในนามห้างขาวละออเภส้ช จนท้ายที่สุด ใครต่อใครก็มักเรียนจนติดปากแบบสั้นๆ ว่า “ลุงขาว”
ไขอาชีพผ่านสื่อ : รายการลุงขาวไขอาชีพ
.
ในปี พ.ศ. 2507 ลุงขาวได้รับการชักชวนและสนับสนุนจากไพรัช กสิวัฒน์, อัตถ์ พึ่งประยูร, ภักดี รมยานนท์ และ สรวง อักษรานุเคราะห์ ให้มาจัดรายการวิทยุชื่อว่า “ชีวิตนี้ยังมีหวัง โดย ลุงขาว” ซึ่งภายหลังเปลี่ยนมาเป็น “ลุงขาวไขอาชีพ” / รูปแบบรายการจะเป็นการไปสัมภาษณ์ผู้ที่ประกอบอาชีพต่างๆ เพื่อนำความรู้จากประสบการณ์จริง มาเผยแพร่ ทั้งในแง่มุมของวิธีการ กระบวนการต่างๆ ในการทำ เคล็ดลับสู่การสร้างรายได้ ตลอดจนถึงเรื่องการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างถูกวิธีที่มาจากประสบการณ์ตรง ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นตัวอย่างและเป็นกำลังใจให้ผู้ฟังที่ต้องการจะมีอาชีพเป็นของตัวเอง
.
ในปี พ.ศ. 2508 ลุงขาวเริ่มก้าวเข้าสู่สื่อโทรทัศน์ จัดรายการแรกคือ “กระจกเงาเยาวชน” ซึ่งเป็นรายการที่นำเยาวชน ผู้ประพฤติดี มีความสามารถนำมาสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ เพื่อเป็นกำลังใจและเป็นตัวอย่างแก่เด็ก ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “รายการลุงขาวไขอาชีพ” ซึ่งมีเนื้อหาสาระสอดคล้องกับรายการทางวิทยุ
.
รายการ “ลุงขาวไขอาชีพ” ทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์กลายเป็นรายการยอดนิยมที่มีผู้คนทั่วประเทศรู้จักและติดตามมากมาย
“หนึ่งคนเริ่ม หลายคนสานต่อ : มูลนิธิลุงขาวไขอาชีพ”
.
ในปี พ.ศ. 2512 จอมพล ประภาส จารุเสถียร ศรัทธาในตัวลุงขาว ให้ คุณเชาวน์วัศ สุดลาภา เลขานุการของท่าน เตรียมสถานที่สันนิบาตเสรีชน อยู่ตรงข้ามโรงเรียนมาแตร์เดอี ให้ลุงขาวเปิดโรงเรียนสอนอาชีพแก่ประชาชน โดยได้ประกาศรับอาสาสมัคร วิทยากร ผู้สอนวิชาชีพต่างๆ มาร่วมกันเป็นอาจารย์ โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน
.
เปิดสอนอาชีพทุกวันเสาร์-อาทิตย์ มีผู้สนใจมาเรียนครั้งหนึ่ง ราวๆ 300 – 500 คน แรกเริ่มใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสัมมาอาชีพวิทยาทาน” จากนั้นเปลี่ยนเป็น “ชมรมสัมมาอาชีพวิทยาทาน” ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ชมรมลุงขาวไขอาชีพ” และ “มูลนิธิลุงขาวไขอาชีพ” ตามลำดับ
.
สำหรับ วิชาที่เปิดสอนในช่วงแรกนั้นแม้จะยังไม่มาก แต่มีอยู่หลายสิบวิชา เช่น การประกอบอาหารประเภทต่างๆ ทั้งอาหารไทย อาหารเทศ ของคาว ของหวาน ขนม รวมทั้งป่าท่องโก๋ ซึ่งเป็นวิชาเลื่องชื่อ เพราะวิทยากรผู้สอนนั้นได้ปรับปรุงสูตรจนมีรสชาติโดดเด่น อร่อย ไม่เหมือนใคร
.
นอกจากนั้นยังมีสอนอาชีพ ประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง ถักไหมพรม ตัดเย็บเสื้อผ้าบุรุษ-สตรี ตัดผม เสริมสวย ซ่อมรองเท้า ชุบทอง และอีกหลายวิชาอาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาชีพที่เรียนรู้ได้ง่าย ใช้เวลาไม่มาก
นับตั้งแต่มีการสอนมา มีคนมาเรียนไม่ต่ำกว่าล้านคน กระทั่งในปี พ.ศ. 2551 ลุงขาวได้เสียชีวิตอย่างสงบ แต่มูลนิธิลุงขาวไขอาชีพยังคงอยู่ โดยคุณบุญเรือน พงษ์บริบูรณ์ ภรรยาของลุงขาวรับเป็นประธานมูลนิธิ
.
ในปี พ.ศ. 2557 คุณบุญเรือน พงษ์บริบูรณ์ เสียชีวิตลง มูลนิธิยังคงสืบสานเจตนารณ์ของลุงขาวต่อไป โดย คุณวัชรพงษ์ พงษ์บริบูรณ์ ผู้เป็นบุตรชายเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธินับแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน
.
ช่วงที่ 2 “หรอยแรงแหล่งใต้” เที่ยว14จังหวัดภาคใต้ 365วันมหัศจรรย์เที่ยวใต้ พร้อมเสริฟ์ 14เมนูประสบการณ์ท่องเที่ยวเด็ดๆที่มีอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ในแต่ละจังหวัดภาคใต้ เที่ยวได้ตลอดทั้งปี 365วัน “โมเมนต์ที่ใช่ สร้างได้ไม่ต้องรอ”
นายสมชาย ชมภูน้อย ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคภาคใต้ (ภาคใต้) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ให้ข่าวว่า การท่องเที่ยวภาคใต้ขณะนี้คึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ททท.ภูมิภาคภาคใต้ ได้เปิดเกมส์รุกในเชิงการตลาดโดยได้รวบรวมจุดขายเก่าและใหม่ของการท่องเที่ยวภาคใต้14จังหวัด มานำเสนอเป็นหมวดหมู่ง่ายต่อการจดจำเสมือนนำเสนอเป็นเมนูท่องเที่ยวมุมมองใหม่เที่ยวใต้พร้อมเสริฟ์กับประสบการณ์14เมนูใน14จังหวัดภาคใต้ให้นักท่องเที่ยวออกไปท่องเที่ยวค้นหาประสบการณ์ที่สามารถต่อยอดในเชิงคุณค่า เพิ่มมูลค่าและทางเลือกให้กับการท่องเที่ยวภาคใต้ได้ “365วันมหัศจรรย์เที่ยวใต้” กับ “หรอยแรงแหล่งใต้” 14จังหวัดภาคใต้เที่ยวได้ตลอดปี2566 กับ 14 เมนูพร้อมเสริฟ์เที่ยว365วัน12เดือนตลอด 1 ปี เที่ยวใต้ “โมเมนต์ที่ใช่สร้างได้ไม่ต้องรอ” ดังนี้
.
เมนูที่ 1.เที่ยวใต้รูปแบบ “ทะเล ชายหาด หมู่เกาะ และดำน้ำ”
(14 จังหวัดภาคใต้มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลให้เที่ยวค้นหาประสบการณ์แตกต่างกันทุกจังหวัดไม่ว่าจะเป็น ทะเลอันดามัน ทะเลอ่าวไทย และ ทะเลหมอก เป็นต้น)
เมนูที่ 2.เที่ยวใต้รูปแบบ “กิจกรรม เทศกาลและงานประเพณี”
(14 จังหวัดภาคใต้มีกิจกรรม เทศกาล และงานประเพณี ใหญ่น้อยแตกต่างกันไปสามารถช่วยกระตุ้นสร้างจุดขายชวนท่องเที่ยวภาคใต้รายเดือน ตลอดทั้ง 12 เดือน ตลอด365วันได้)
เมนูที่ 3.เที่ยวใต้รูปแบบ “สายกิน อาหารถิ่นกินแบบใต้ และสุดยอดอาหารทะเล”
(เที่ยวสายกิน…ต้องมาเยือนถิ่นภาคใต้เพราะเรามีวัตถุดิบอาหารทะเลสดใหม่ เครื่องเทศ สมุนไพรสูตรเมนูอาหารถิ่นรสจัดแบบบ้านๆ มีร้านอาหารแนะนำแต่ละจังหวัดที่ต้อง…ห้ามพลาด (โดยเฉพาะร้านอาหาร มิชลินไกด์ ที่ภูเก็ต พังงา กระบี่ เป็นต้น))
เมนูที่ 4.เที่ยวใต้รูปแบบ “ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ”
(เที่ยวสายชุมชน…ต้นแบบเรามีแหล่งท่องเที่ยวชุมชน”การท่องเที่ยวโดยชุมชน” ที่มีความเข้มแข็งมากมายหลากหลายสไตล์ใน14จังหวัดภาคใต้ โดยได้คัดสรรเป็น “ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ” สำหรับการท่องเที่ยวศึกษาเรียนรู้ดูงานเป็นหมู่คณะได้)
เมนูที่ 5.เที่ยวใต้รูปแบบ “เสน่ห์วันวานย่านเมืองเก่า”
(เที่ยวสายเรียนรู้ สัมผัส ประวัติศาสตร์ เรื่องราว เรื่องเล่า วิถีชีวิต วัฒนธรรม แต่ละท้องถิ่นที่ยังมีการอนุรักษ์เอาไว้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในย่านนั้นๆ (ยกตัวอย่างเช่น ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ย่านเมืองเก่าสงขลา ย่านเมืองเก่าตะกั่วป่า@พังงา ย่านเมืองเก่าปากพนัง@นครศรีธรรมราช ย่านเมืองเก่าเมืองระนอง ย่านเมืองเก่าปัตตานี ฯลฯ)
เมนูที่ 6.เที่ยวใต้รูปแบบ “ช้อปปิ้งของฝากห้ามพลาด”
(เที่ยวสายช้อป ต้องภาคใต้ 14 จังหวัด เต็มไปด้วยของฝาก ของที่ระลึก สินค้าผลิตภัณฑ์OTOP ที่มีเอกลักษณ์จุดขาย จุดเด่น เอกลักษณ์ ต่างกันในแต่ละพื้นที่)
เมนูที่ 7.เที่ยวใต้รูปแบบ “เชิงศาสนา ตามความเชื่อ และศรัทธา”
(เที่ยวสายศรัทธา ความเชื่อนำทาง เส้นทางนำเที่ยว 14 ภาคใต้ ก็มีพร้อมเสนอการสร้างสรรค์สินค้าการท่องเที่ยวเพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมและความสนใจของนักท่องเที่ยว เชิงศาสนา ตามความเชื่อ และศรัทธา ยกตัวอย่างเช่น มานะมานครมหาศัทธา สายมูห้ามพลาดเที่ยวได้ทุกเดือนมีจุดขายต่างกัน)
เมนูที่ 8.เที่ยวใต้รูปแบบ “วัฒนธรรม และทำดีเพื่อสังคม”
(เที่ยวใต้ให้ถึงแก่น วัฒนธรรมท้องถิ่น ทำดีเพื่อสังคม เที่ยวไปใส่ในสิ่งแวดล้อมกับกิจกรรมทำความดีๆ CSR ฯลฯ)
เมนูที่ 9.เที่ยวใต้รูปแบบ “สันทนาการ กีฬา และบันเทิง”
(เที่ยวใต้สายกีฬา ดนตรี บันเทิง และกิจกรรมพิเศษมากมาย เช่น ตีกอล์ฟข้ามเกาะ(จากภูเก็ตไปสมุย) ปั่นจักรยานข้าม3ทะเล(จากอันดามันสู่ทะเลน้อยและทะเลอ่าวไทย) วิจิตรสีสันเมืองใต้ ฟูลมูนปาร์ตี้ ฯลฯ)
เมนูที่ 10.เที่ยวใต้รูปแบบ “เชิงธรรมชาติ”
(เที่ยวสายธรรมชาติ กับ ธรรมชาติแดนใต้ ทะเล(ฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งทะเลอ่าวไทย) ทะเลหมอก สายลม แสงแดด ดอกไม้ น้ำตก ป่าไม้ ภูเขา มีให้สัมผัสตามฤดูกาล)
เมนูที่ 11.เที่ยวใต้รูปแบบ “เที่ยวได้เงิน…เที่ยวไปทำงานไป (Workation)”
(WORK + VACATION เที่ยวได้&ทำงานได้ทุกที่…เทรนด์ใหม่ของการท่องเที่ยวหลังจากสถานการณ์ Covid-19 กลุ่มนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ “ดิจิทัล โนแมด” (Digital Nomad) ทำงานผ่าน Online สามารถเลือกจุดหมายปลายทางการทำงานและเที่ยวไปพักผ่อนไปในตัว ซึ่งภาคใต้ 14 จังหวัดตอบโจทย์นั่นเหมาะสมทั้งการเดินทาง สถานที่และสัญญาณ Wifi )
เมนูที่ 12.เที่ยวใต้รูปแบบ “วันธรรมดาที่ไม่ธรรมดา”
(เที่ยวใต้สายโปร…โปรโมชั่น ต้องภาคใต้ เรามีโปรชั่นร่วมกับพันธมิตร หลายเครือข่าย หลายโปร…ตอบโจทย์ สำหรับการท่องเที่ยววันธรรมดาที่ไม่ธรรมดาแน่นอนตลอดทั้งปี)
เมนูที่ 13.เที่ยวใต้รูปแบบ “สไตล์เมืองนอก”
(เที่ยวกินหรูอยู่สบาย…ต้องเที่ยวใต้ ตามสถานที่ท่องเที่ยวและสถานบริการ ได้มาตรฐานระดับสากลที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกพูดถึงและเป็นจุดหมายปลายทางเพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวนานาชาติ เที่ยวใต้ สไตล์เมืองนอก เช่น เกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า เกาะพีพี เกาะหลีเป๊ะ กระบี่ พังงา ฯลฯ)
เมนูที่ 14.เที่ยวใต้รูปแบบ “Unseenจุดขาย มุมมองใหม่14จังหวัดภาคใต้”
(Unseenเที่ยวใต้มุมมองใหม่ จุดขายใหม่ นักท่องเที่ยวขาเที่ยวต้องห้ามพลาดต้องไปปักหมุดค้นหา&เช็คอินสถานที่ท่องเที่ยวให้ครบ 14จังหวัดภาคใต้…ต้องห้าม…พลาด)
.
ช่วงที่ 3. ติดตามเรื่องราวเกี่ยวบทสัมภาษณ์พิเศษSpecial Interview สัมภาษณ์บุคคล
คำถามสัมภาษณ์ นายสมชาย ชมภูน้อย ผู้อำนวยการภูมิภาค ภาคใต้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
1.ตามที่ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับงาน“หรอยแรง แหล่งใต้ Expo” ในรายการตอนก่อนหน้านี้ ผลการจัดงานดังกล่าวเป็นอย่างไรบ้าง 2. ได้ทราบว่า ปีนี้จะมีการจัดงาน”หรอยแรงแหล่งใต้” เที่ยว 14 จังหวัดภาคใต้ 365 วันมหัศจรรย์เที่ยวใต้ พร้อมเสิร์ฟ 14 เมนูประสบการณ์ท่องเที่ยวเด็ดๆที่มีอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ในแต่ละจังหวัดภาคใต้ เที่ยวได้ตลอดทั้งปี 365 วัน “โมเมนต์ที่ใช่ สร้างได้ไม่ต้องรอ”กรุณาเล่าเกี่ยวกับงานนี้ ว่า มีความเป็นมาและวัตถุประสงค์อะไรบ้าง 3. งานนี้มีกิจกรรมพิเศษอะไรบ้างที่แตกต่างจากปีที่แล้ว 4.นโยบายที่ททท. ภูมิภาค ภาคใต้ ได้รับมอบมาจากรัฐบาลเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในงานนี้มีอะไรบ้าง 5.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานมีอะไรบ้าง 6.งานนี้มีบทบาทอย่างไรต่อการสร้างอาชีพ สร้างสังคม ชุมชนเข้มแข็งให้กับจังหวัดภาคใต้บ้าง 7. กรุณาแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในภาคใต้ที่น่าสนใจและงานเทศกาลอื่นๆที่สามารถเที่ยวได้ในช่วงนี้ 8. จะมีกิจกรรมต่อเนื่องอะไรบ้างหลังจากกิจกรรมนี้
.
ช่วงที่ 4 . สำนักงานการวิจัยแหงชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขอเชิญทุกท่านร่วมงาน วันนักประดิษฐ์ 2566 Thailand Inventors’Day 2023 ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2566 ณ Event Hall 100-102 | ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
.
พบกับนิทรรศการผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมมากกว่า 1,000 ผลงาน ,นิทรรศการ “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ,นิทรรศการรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ,นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมจากหน่วยงานเครือข่ายในประเทศและต่างประเทศ ,นิทรรศการการประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ IPITEx 2023 ,นิทรรศการการประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน Thailand New Gen Inventors Award 2023 : I-New Gen Award 2023, นิทรรศการ Highlight , ขุมทรัพย์ป่าชายเลน Mangrove Treasure, ขบวนการผู้พิทักษ์ป่าไม้ GUARDIANS OF THE FOREST, พื้นที่เรียนรู้กับนวัตกรรมโดรนFUNARIUM SKY DRONE จากสิ่งประดิษฐ์สู่นวัตกรรม MAKER SPACE: FROM MAKER TO INNOVATOR, นักประดิษฐ์วิจิตรศิลป์ ,THE ART OF INVENTION, U2T, จุดเริ่มต้นเล็กๆ …สู่ก้าวที่ยิ่งใหญ่ Youth in Charge
.
ขอเชิญลงทะเบียนเข้าร่วมงานในรูปแบบ Onsite และ Online ในภาคการเสวนา การอบรมและภาคนิทรรศการได้ที่
https://inventorsdayregis.com และสามารถดาวน์โหลดเอกสารประชาสัมพันธ์เผยแพร่ได้ที่ : https://nrct.go.th/_brochure/inventorsday2023/index.html ,Onsite ภายในวันที่ 31 มกราคม 2566 และOnline ภายในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 #อว. #MHESI#วช. #NRCT #วันนักประดิษฐ์ #ThailandInventors’Day2023