Talk of the Town รอบบ้านเรา l กลุ่มประมงพื้นบ้านปากน้ำปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์

Talk of the Town รอบบ้านเรา
– ช่วงที่ 1 บทความพิเศษ ตอน ลุงขาวคนมือคว่ำ ที่มา/ หนังสือ ลุงขาวไขอาชีพ พิมพ์ครั้งที่ 4 : หนึ่งคนคิด หลายชีวิตเติบโต
– ช่วงที่ 2 ดร.วัชรพงษ์ พงษ์บริบูรณ์ ประธานมูลนิธิลงุขาวไขอาชีพ ซึ่งได้พูดถึงลุงขาวไขอาชีพไว้
– ช่วงที่ 3 บทสัมภาษณ์พิเศษ ของงบุคคล คุณจำลอง บุญรอด ประธานวิสาหกิจชุมชน กลุ่มประมงพื้นบ้านปากน้ำปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
– ช่วงที่ 4 อาหารไทยพื้นบ้านภาคเหนือ : ข้าวซอย
– ช่วงที่ 5 สัมผัสวิถีชีวิต ชมตลาดโบราณ ชุมชนเก่าหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ
– ช่วงที่ 6 ข่าวประชาสัมพันธ์ เรื่อง สมัครด่วน ! “นักท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” เที่ยวฟรี 4 เดือน ถึง 14 พ.ค.66

.
ดำเนินรายการโดย คุณ จีระสุข ฃินะโชติ
.
ออกอากาศ 3 พฤษภาคม 2566
ติดตามรับฟังได้ทาง #วิทยุราชมงคลธัญบุรี #RmuttRadio #รอบบ้านเรา #ลุงขาวไขอาชีพ #ททท #หัวตะเข้ #ตลาดโบราณ #ของดี #สถานที่ท่องเที่ยว #ประจวบคีรีขันธ์ #ปากน้ำปราณบุรี #ข้าวซอย
—————————————————————————————————————————————–
ช่วงที่ 1 / บทความพิเศษ ตอน ลุงขาวคนมือคว่ำ ที่มา/ หนังสือ ลุงขาวไขอาชีพ พิมพ์ครั้งที่ 4 : หนึ่งคนคิด หลายชีวิตเติบโต
ช่วงที่ 2 / ติดตามมุมมองของ ดร.วัชรพงษ์ พงษ์บริบูรณ์ ประธานมูลนิธิลงุขาวไขอาชีพ ซึ่งได้พูดถึงลุงขาวไขอาชีพไว้ พอสังเขปดังนี้………………..
ช่วงที่ 3 / บทสัมภาษณ์พิเศษ ของงบุคคล คุณจำลอง บุญรอด ประธานวิสาหกิจชุมชน กลุ่มประมงพื้นบ้านปากน้ำปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.………..

ช่วงที่ 4 / ตอน : อาหารไทยพื้นบ้านภาคเหนือ : ข้าวซอย
อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของประเทศไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด
อาหารไทยดั้งเดิมแบ่งออก เป็นสี่ประเภท: ต้ม, ยำ, ตำ และแกง ส่วนการทำอาหารแบบทอด ผัด และนึ่ง มีที่มาจากการทำอาหารแบบจีน, ใน พ.ศ. 2560 มีอาหารไทยบางส่วนถูกบรรจุลงไปใน “50 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลก” ซึ่งเป็นโพลออนไลน์จากผู้คนทั่วโลกโดยซีเอ็นเอ็นแทรเวิล ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดหลายอันดับ ได้แก่ ต้มยำกุ้ง (อันดับที่ 4), ผัดไทย (อันดับที่ 5), ส้มตำ (อันดับที่ 6), แกงมัสมั่น (อันดับที่ 10), แกงเขียวหวาน (อันดับที่ 19), ข้าวผัดไทย (อันดับที่ 24) และน้ำตกหมู (อันดับที่ 36)

จุดเด่นของอาหารไทย / คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยนิยมกัน 2 ชนิดคือ ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า คนไทยภาคอีสานและภาคเหนือนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่วนคนไทยภาคกลางและภาคใต้นิยมกินข้าวเจ้าเป็นหลัก ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่ผูกพันกับสายน้ำมาช้านาน ทำให้อาหารประจำครัวไทยประกอบด้วยปลาเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้ง ปลาย่าง ปลาปิ้ง จิ้มน้ำพริก กินกับผักสดที่หาได้ตามหนองน้ำ ชายป่า หากกินปลาไม่หมดก็สามารถนำมาแปรรูปให้เก็บไว้ได้นาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นปลาแห้ง ปลาเค็ม ปลาร้า ปลาเจ่า ส่วนอาหารรสเผ็ดที่ได้จากพริกนั้น ไทยได้รับนำมาเป็นเครื่องปรุงจากบาทหลวงชาวโปรตุเกสในสมัยพระนารายณ์ ส่วนอาหารประเภทผัดไฟแรง ได้รับมาจากชาวจีนที่อพยพมาอยู่ในเมืองไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อมีการเลี้ยงสัตว์ขายเป็นอาชีพและมีโรงฆ่าสัตว์ ทำให้มีการหาเนื้อสัตว์มารับประทานมากขึ้น มีการใช้เครื่องเทศหลากชนิดเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อที่นำมาปรุงเป็นอาหาร เครื่องเทศที่คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหารประเภทนี้เช่น ขิง กระชาย ที่ใช้ดับกลิ่นคาวปลามานาน ก็นำมาประยุกต์กับเนื้อสัตว์ประเภท วัว ควาย เป็นสูตรใหม่ของคนไทยได้อีกด้วย
อาหารไทยภาคเหนือจากร้านอาหารในเชียงใหม่
ภาคเหนือรวม 17 จังหวัดประกอบด้วยภูมินิเวศน์ที่หลากหลายพร้อมด้วยชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ราบลุ่ม ที่ดอน และที่ภูเขาสูงในการดำรงชีพ การตั้งถิ่นฐานของชาวไทยพื้นราบซึ่งเป็นชาติพันธุ์ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ที่พื้นที่ลุ่มบริเวณแม่น้ำสายใหญ่ เช่น ปิง วัง ยม น่าน และของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน และ อิง ลาว ของลุ่มน้ำโขง มีวิถีชีวิตผูกพันกับวัฒนธรรมการปลูกข้าวโดยชาวไทยพื้นราบภาคเหนือตอนบน 9 จังหวัด (เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน) มีวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก ตามด้วยข้าวเจ้า
อาหารของคนเหนือจะมีความงดงาม ประณีต เพราะด้วยนิสัยคนเหนือจะมีกริยาที่แช่มช้อย จึงส่งผลต่ออาหาร โดยมากมักจะเป็นผัก มีการใช้เครื่องเทศที่หลากหลาย
อาหารส่วนใหญ่รสชาติไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร ความหวานจะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้น ๆ เช่น ผัก ปลา และนิยมใช้ถั่วเน่าในการปรุงอาหาร คนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผักนึ่ง ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ที่มีเครื่องปรุงสำคัญคือดอกงิ้วซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง ถือเป็นเครื่องเทศพื้นบ้านที่มีกลิ่นหอม; ตำขนุน และแกงขนุน ที่มีส่วนผสมเป็นผักชนิดอื่น เช่น ใบชะพลู ชะอม มะเขือเทศ นอกจากนี้ยังมีอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากชนชาติอื่นด้วย เช่น แกงฮังเล ได้รับอิทธิพลมาจากชาวพม่า ข้าวซอย ได้รับอิทธิพลมาจากชาวจีน
ข้าวซอย คืออาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย เดิมเรียกว่า “ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ” เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวจีนยูนนาน หรือ ฮ่อ มีลักษณะคล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน มีเครื่องเคียง ได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง ยำกะหล่ำปลีและมีเครื่องปรุงรส เช่น พริกผัดน้ำมัน น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาล ในตำรับดั้งเดิมเนื้อที่ใช้เป็นเนื้อไก่หรือเนื้อวัว แต่ในปัจจุบันร้านอาหารหลายแห่งได้มีการใช้เนื้อหมูแทน ซึ่งมีทั้งข้าวซอยกุ้ง ข้าวซอยไก่ ข้าวซอยเนื้อ เป็นต้นบางแห่งอาจเพิ่มอาหารทะเลหรือเต้าหู้เป็นส่วนประกอบ
ข้าวซอยมีต้นกำเนิดจากชาวจีนมุสลิม ที่อพยพมาจาก มณฑลยูนนาน ประเทศจีน มาอยู่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว แต่เดิมข้าวซอยไม่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ เรียกว่า “ข้าวซอยน้ำใส” ต่อมาได้มีการเพิ่มกะทิเข้าไปจนเป็นที่นิยมอย่างมากและกลายมาเป็นลักษณะข้าวซอยที่รู้จักกันในปัจจุบัน ข้าวซอยจึงเป็นผลลัพธ์ของการผสมผสานระหว่างอาหารจีน อาหารตะวันออกกลางและอาหารเอเชียอาคเนย์
ที่มาของชื่อข้าวซอย /เส้นข้าวซอยทำจากแป้งข้าวสาลีผสมน้ำ และไข่ แล้วนวดจนได้เนื้อเนียน รีดเป็นแผ่น แล้วซอยเป็นเส้นแบนๆ บางๆ จึงถูกเรียกว่า ‘ข้าวซอย’
ข้าวซอยแต่ละแบบ
ข้าวซอยแบบชาวจีนยูนนานดั้งเดิม
ข้าวซอยแบบดั้งเดิมของชาวจีนยูนนานหรือจีนฮ่อมีลักษณะเหมือน ปาปาซือ, ปาปาซอยหรือเออร์ (Erkuai) ซึ่งเป็นเส้นเอกลักษณ์ของชาวจีนยูนนานคือมีลักษณะเป็นเส้นที่ทำจากข้าวเหนียว ซึ่งชาวไทใหญ่เรียกเส้นชนิดนี้ว่า “ข้าวซอยหนาก” ข้าวซอยดั้งเดิมมีน้ำซุปใสไม่ใส่น้ำกะทิ น้ำซุปได้จากการเคี่ยวกระดูกวัวหรือไก่ มีเนื้อวัวหรือไก่สับละเอี่ยดผัดกับผักกาดดอง กินแนมกับผักกาดดองแบบยูนนาน แต่ข้าวซอยชนิดไม่ค่อยได้รับความนิยม ชาวจีนยูนนานชื่อ นายม้าฝ่าเม้ย พ่อค้าชาวจีนยูนนานมุสลิมที่ซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในเชียงใหม่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 เขาได้ปรับสูตรให้มีความเข้มข้นขึ้นโดยใช้นมวัวและนมแพะมาทำน้ำแกง แต่ก็ไม่ได้รับความนิยม อีกทั้งวัตถุดิบอย่างนมวัวและนมแพะในสมัยนั้นราคาแพงและหายาก จึงประยุกต์มาใช้กะทิผสมกับพริกแกงกะหรี่แทน ส่วนเส้นก็ใช้แป้งสาลีทำเป็นแผ่นบางๆแล้วใช้มีดหั่น จนเรียกต่อๆมาว่า “ข้าวซอย”
ข้าวซอยแบบเชียงใหม่/ มีลักษณะเข้มข้นหอมกลิ่นเครื่องเทศ เช่นเดียวกับแบบ ลำพูนและลำปาง ทานคูกับผักกาดดองแบบยูนนาน ส่วนข้าวซอยแบบอำเภอฝาง เป็นข้าวซอยน้ำใสแต่ใช้เส้นเหมือนเส้นบะหมี่ไม่ได้ใช้เส้นปาปาซอยหรือเออร์เหมือนข้าวซอยน้ำใสแบบในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ใส่ยอดถั่วลันเตาอ่อนและทานคู่กับยำกะหล่ำปลี
ข้าวซอยแบบลำปาง
ข้าวซอยลำปาง /จะใส่เครื่องเทศที่ชื่อว่า ชะโกหรือกระวานดำ (Black Cardamom) ชาวจีนยูนนานเรียก เฉ่าโกวหรือเฉ่าโกวมี่ (草果) มาทำเครื่องแกง ซึ่งชะโกเป็นเครื่องเทศที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวจีนยูนนานและยังมีการใส่ขิงและลูกผักชีด้วย เครื่องแกงของชาวลำปางจึงว่าถือเป็นเครื่องแกงแบบดั้งเดิมของข้าวซอยยูนนานที่ไม่ได้ถูกดัดแปลง เพราะปัจจุบันร้านที่ทำข้าวซอยขายส่วนมากมักจะใช้เครื่องแกงเผ็ดมาทำน้ำแกง
ข้าวซอยแบบเชียงราย /ข้าวซอยเชียงรายน้ำแกงจะไม่ข้นกะทิ น้ำแกงจะเป็นสีขาวจากสีของกะทิ รสชาติหอมอ่อนๆไม่เข้มข้นมากนัก
ข้าวซอยแบบพม่า/ พม่าเรียกข้าวซอยว่า อนโน เขาสเว (Ohn no khao swe) มีลักษณะเหมือนข้าวซอยทุกอย่างแต่ไม่ใช่ใช้พริกแกง ซึ่งข้าวซอยของพม่าได้รับอิทธิพลมาจากชาวจีนยูนนานหรือจีนฮ่อที่เป็นมุสลิมเช่นเดียวกับข้าวซอยของชาวไทยภาคเหนือ และข้าวซอยแบบอื่นๆ / ข้าวซอยในทางภาคเหนือของลาว สิบสองพันนา และเชียงตุงเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งคล้ายกับก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ เป็นต้น
ช่วงที่ 5 / ตอน สัมผัสวิถีชีวิต ชมตลาดโบราณ ชุมชนเก่าหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ
ขอบคุณข้อมูล หนุ่ม สุทน รุ่งธัญรัตน์ www.facebook.com/sutonfm100.5/ ขอบคุณข้อมูลวิกิพิเดีย และ ฯลฯ

ช่วงที่ 6 / ข่าวประชาสัมพันธ์ เรื่อง สมัครด่วน ! “นักท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” เที่ยวฟรี 4 เดือน ถึง 14 พ.ค.66
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ชวนคนไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป ที่รักในการท่องเที่ยว มีความสามารถในการสร้างสรรค์สื่อเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย และสามารถเดินทางท่องเที่ยวตามปฏิทินท่องเที่ยวของ ททท. ได้ สมัครเป็น “นักท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” ตั้งแต่บัดนี้ – 14 พ.ค.66
วิธีสมัคร
– จัดทำเรซูเม่ และแฟ้มผลงานเกี่ยวกับการทำคอนเทนต์ด้านการท่องเที่ยว
– กรอกข้อมูล จัดส่งเรซูเม่ และแฟ้มผลงาน ทางเว็บไซต์ https://amazingthailand365.tourismthailand.org/register…
– ผู้ผ่านการคัดเลือก จะได้เซ็นสัญญาการทำงาน
รางวัล – ผู้ได้รับคัดเลือกเป็น “นักท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” 1 ราย รับเงินสนับสนุนการท่องเที่ยว 504,000 บาท (๕แสนสี่หมื่นบาท) สำหรับ 4 เดือน (เดือนละ 126,000 บาท หนึ่งแสนสองหมื่นหกพันบาท) พร้อม Voucher ท่องเที่ยวและของรางวัลอื่น ๆ
– ผู้ผ่านเข้าสู่รอบสัมภาษณ์ แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก จะได้รับ Voucher ท่องเที่ยว
หน้าที่ คือ – เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ – ทำคอนเทนต์ แบบบทความและรูปภาพ หรือ วิดีโอ ส่งให้ ททท. วันละอย่างน้อย 1 คอนเทนต์ โดย รวบรวมส่งเป็นรายสัปดาห์ เป็นเวลา 4 เดือน – เผยแพร่คอนเทนต์ที่จัดทำลงบนโซเชียลมีเดียของตนเอง
ที่มา #ไทยคู่ฟ้า #สื่อสารรัฐบาลไทย
ช่วงที่ 7 ติดตามรับฟังบทเพลงเพราะๆจากทางรายการ เพลงโยสลัม ครูเอื้อ สุนทรสนานฯ
จีระสุข ชินะโชติ ดำเนินรายการ ขอบคุณและสวัสดีค่ะ