ENERGY SAVING l การสูบน้ำระบบไฮบริด (Hybrid)

ผศ.ดร.วิรชัย โรยนรินทร์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ และประธานที่ปรึกษาสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งในประเทศไทย มีหลายปัจจัยที่มีความเกี่ยวกัน เช่น การบริหารจัดการน้ำ สภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของประชาชน รวมถึงผลผลิตทางการเกษตร

ในส่วนของเกษตรกร หากจะต้องใช้น้ำเพื่อการเกษตรต้องมีค่าใช้จ่ายสูง ในการจัดหาน้ำ การสูบน้ำ เพื่อให้เพียงพอต่อการเพาะปลูก เนื่องจากบางพื้นที่อยู่ห่างไกลจากแม่น้ำขนาดใหญ่

สำหรับการสูบน้ำ จะเห็นได้ว่ามีปริมาณการใช้น้ำมันที่สูง คิดเป็น 20-30 % ในยุคหนึ่ง มีการไฟฟ้าเข้ามาทดแทน แต่ก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับการปักลากสาย

พื้นที่ทางการเกษตรที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำสายหลัก เช่น ปิง วัง ยม น่าน แล้วมารวมเป็นแม่น้ำสายใหญ่ ก็ยังพอมีปริมาณเพื่อใช้อุปโภคบริโภค ปัญหาคือ เราจะใช้แนวทางในการสูบน้ำเพื่อมาสู่คลองย่อยต่างๆ จะพบว่า ต้องงบประมาณที่สูง

ตัวอย่างเช่น ที่คลองหก จังหวัดปทุมธานี ถ้าสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่คลองย่อยในเขตปทุมธานี ก็น่าจะสามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐ กำลังส่งเสริมการใช้พลังงงานทดแทน เพื่อมาใช้ โดยอาจใช้เป็นแบบระบบไฮบริด คือการนำพลังงานทดแทนหลากหลายวิธีมาผสมผสานกัน อาทิ “กังหันลมก็ทำการผลิตไฟฟ้า” เอาไฟฟ้าเข้าระบบควบคุม ปริมาณการสูบน้ำก็มากน้อยตามปริมาณกระแสลม ซึ่งจะอาศัยชุดควบคุมปรับชุดมอเตอร์ให้เหมาะสม

อีกแบบหนึ่งคือ การนำระบบไฮบริด (โซล่าลอยน้ำ นำมาไฮบริด) กังหันลม นำมาไฮบริดกัน อาจจะทำให้การสูบน้ำได้มากกว่า เนื่องจากมีกระแสไฟฟ้าที่มากเพียงพอ (เป็นการจูนออฟติไมร์ซ) การผสมผสาน ให้กระแสไฟฟ้าต่อเนื่องและคงที่

ดังนั้น การสูบน้ำลักษณะนี้ ประหยัดค่าใช้จ่าย ถ้าหากลงทุนแบบน้ำมัน ระบบไฮบริดนี้ จะถูกว่า 3-4 เท่า มีความคุ้มทุน 10-15 ปี

ดังนั้น ทางสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย จึงได้นำเสนอ และติดตั้งใช้งานที่อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อเป็นต้นแบบการสูบน้ำไฮบริด โดยใช้กังหันลมและโซล่าเซลล์ลอยน้ำ คาดว่า ต้นเดือนเมษายน 2563 สามารถเดินระบบเพื่อทำงานได้ ส่วนในพื้นที่ของจังหวัดปทุมธานี ได้ทดลองติดตั้งวางระบบต้นแบบไว้ที่ศูนย์วิจัยและบริการพลังงาน มทร.ธัญบุรี ไปก่อนหน้านี้แล้ว

การวางระบบการสูบน้ำระบบไฮบริดนี้ จะเป็นต้นแบบให้พี่น้องเกษตรกร ได้นำไปขยายผล เราวางแผนไว้ว่า จะเป็นงานวิจัย ของประเทศในการนำระบบไฮบริดสู่การเกษตร เพราะว่า การใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือไฟฟ้า เป็นต้นทุนที่มีมูลค่าสูง

ชนิดของการสูบน้ำระบบไฮบริด มีการออกแบบไว้ 3 แบบ คือ
1. ขนาด 10 กิโลวัตต์ คือ ใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้า 5 กิโลวัตต์ และใช้โซล่าเซลล์ลอยน้ำ ผลิตไฟฟ้า 5 กิโลวัตต์
2. ขนาด 20 กิโลวัตต์ คือ ใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้า 10 กิโลวัตต์ และใช้โซล่าเซลล์ลอยน้ำ ผลิตไฟฟ้า 10 กิโลวัตต์
3. ขนาด 200 กิโลวัตต์ คือ ใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้า 100 กิโลวัตต์ และใช้โซล่าเซลล์ลอยน้ำ ผลิตไฟฟ้า 100 กิโลวัตต์

การใช้งานแต่ละขนาดกำลังการผลิตก็แตกต่างกันออกไปตามขนาดพื้นที่ และความต้องการ

ดังนั้น การลงทุนในลักษณะแบบไฮบริด เป็นการลงทุนแบบคราวเดียว และรัฐบาลไม่จำเป็นต้องซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง หรือปักเสาลากไฟไฟ้า เนื่องจากระบบสามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม จะได้มีการนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์สมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย www.reca.or.th

ดำเนินรายการโดย ปิยะพงษ์ เคนทวาย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรชัย โรยนรินทร์ ประธานที่ปรึกษาสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

(ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2563)
ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM 89.5 Mhz