คำแนะนำและการรับมือกับปัญหาน้ำประปาเค็ม ที่มากับภัยแล้ง

RMUT TALK I คำแนะนำและการรับมือกับปัญหาน้ำประปาเค็ม ที่มากับภัยแล้ง

สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร.จีมา ศรลัมพ์
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

สถานการณ์น้ำประปาเค็ม หรือ’กร่อย’ ผู้บริโภคจะต้องทำอย่างไร เรื่องนี้มีคำแนะนำในการใช้น้ำและการบริโภคต้องมีระดับโซเดียมเท่าไร สำหรับคนปกติ WHO ไม่มีมาตรฐานความเป็นอันตรายในน้ำดื่ม คนทั่วไปเริ่มรับรสความเค็มเมื่อค่าความเค็ม (salinity) มากกว่า 250 มิลลิกรัม/ลิตร แต่มีข้อแนะนำว่าแต่ละวันคนที่ต้องระวังเรื่องเกลือไม่ควรกินเกลือมากกว่าวันละ 2000 มิลลิกรัม/วัน
เมื่อน้ำประปาเค็มค่าสูงๆมีค่าประมาณ 500 มิลลิกรัม/วัน แปลว่าหากกินน้ำวันละ 2 ลิตร จะได้เกลือ 1000 มิลลิกรัม ก็ยังไม่อันตราย ถ้าเปรียบเทียบกับการกินขนมกรุบกรอบเพียง 1 ถุง รับเกลือไป 2000 มิลลิกรัม รัฐบาลจึงมีแนวคิดการเก็บภาษีความเค็มกับขนมถุงนั่นเอง สำหรับคนที่ไม่ควรได้รับเกลือ เช่นความดันสูง เป็นโรคไต ควรเว้นการกินน้ำกร่อย

ทางวิทยุราขชมงคลธัญบุรี FM 89.5MHZ