SME CHAMPION : สุตรลัดสู่ความสำเร็จถอดสูตรความสำเร็จจากคู่แข่ง (Reverse Engineering)

วิศวกรรมย้อนรอย (Reverse engineering) ปกติเป็นโมเดลธุรกิจที่รู้จักกันดีในมุมหนึ่งในวงการอุตสาหกรรมของแวดวงการวิจัยและพัฒนา (Research & Development : R&D) ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่หลายคนจะคุ้นแน่นอน บอกได้เลยว่าเรื่องนี้ทุกคนจะต้องเซอร์ไพรส์

Reverse Engineer จะใช้เทคนิคแงะอุปกรณ์หรือฟังก์ชันของเป้าหมาย เพื่อศึกษาแล้วสร้างใหม่ให้มีความสามารถเหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม หากแปลง่ายๆ ก็คือ ‘การแกะสูตร’

ในวงการวิศกรรมเทคนิคนี้นิยมมาก โดยเฉพาะการในหมู่แวดวงโจมตีแบบ Zero-day ของ Hacker ที่จะดูว่าซอฟแวร์ของเป้าหมายที่จะโจ้มตีมีช่องโหว่ที่ใดบ้าง จากนั้นก็ใช้ช่องโหว่นั้นโจมตีเครื่องที่ไม่ได้มีการอัพเดตซอฟแวร์ หรือแม้แต่กรณีของสมาร์ทโฟนอย่าง Apple ที่เพิ่งจะวางจำหน่ายได้เพียงแค่ 1 วันก็โดน จีน Reverse engineering เครื่องที่ออกมากหน้าตาและซอฟแวร์เหมือนกันเป๊ะ จนบางครั้งถึงกับขนานนามเทคนิคนี้ว่า Copy and Development โดยไม่จำเป็นต้องพัฒนาให้เหมือนต้นแบบ แค่แกะสูตรแล้วพัฒนาจากของที่ทำสำเร็จมาแล้ว

แต่! อย่าเพิ่งมองวิศวกรรมย้อนรอยแง่ลบเกินไป เพราะการกระทำแบบ Reverse Engineering นี่แหละที่ทำให้เกาหลีพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกรณีที่ Samsung เคยรับจ้างผลิต Microprocessor ให้ Apple จากนั้นก็ลองแกะรูปแบบวิศวกรรมย้อนรอย เพื่อผลิตชิปเป็นของตัวเอง

อย่างไรก็ตาม คอนเซปต์วิศกรรมย้อนรอย ตอนนี้ไม่ได้จำกัดแค่ในวงการวิศวะเท่านั้น เพราะมันยังแพร่หลายในวงการวิทยาศาสตร์อาหาร (Food Science) ที่นำอาหารมาแกะสูตรดูว่าใช้วัตถุดิบอะไร สัดส่วนเท่าไร แปรรูปวิธีไหน หรือแม้กระทั่งในวงการดีไซเนอร์ที่มีการนำชุดมาแกะแพทเทิร์น เพื่อดูว่าแบรนด์คู่แข่งใช้เทคนิคการตัดเย็บและใช้วัสดุอะไรบ้าง

นอกจากนี้ อาจจะรวมไปถึงภาพรวมทั้งหมดของบริษัทก็เป็นไปได้ ประโยชน์ของการทำวิศวกรรมย้อนกลับคือการที่เราสามารถที่จะทิ้งส่วนประกอบที่ฟุ่มเฟือยออกไปแล้วแทนที่ด้วยส่วนประกอบที่มีราคาถูกลงมาแทน และสามารถนำสินค้าและบริการที่พัฒนาแล้วไปวางขายให้กับลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่ไม่เคยใช้สินค้าและบริการนั้นเพราะราคาสูงมาก่อน จุดประสงค์หลักของการทำธุรกิจแบบนี้ไม่ได้ต้องการเป็นได้เปรียบจากการเข้าสู่ตลาดเป็นรายแรก แต่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสินค้าที่มีอยู่แล้ว

ซึ่งการทำธุรกิจแบบนี้ ก็มีข้อถกเถียงกันไม่น้อยในเชิงวิชาการว่า อาจเข้าข่ายละเมิดต้นแบบหรือสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา หรือไม่ และกลายเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจดสิทธิบัตรและใบอนุญาต เพื่อให้มั่นใจได้ว่ายังอยู่ในภายใต้ขอบเขตของข้อกฎหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงการดำเนินคดีที่จะทำให้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย รวมไปถึงวันที่สิทธิบัตรหมดอายุด้วย โดยตัวอย่างที่เคยมีก็คือ อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศจีน ที่มีบริษัทหนึ่งเคยทำ Joint Venture หรือทำสัญญาลงทุนกันกับ BMW มาก่อน แต่ในภายหลังได้ผลิตรถยนต์ของตัวเองออกมา ซึ่งดีไซน์ต่างๆ นั้นได้แรงบันดาลใจมาจาก BMW ทำให้บริษัทนี้สามารถขายรถยนต์ได้ในราคาที่น่าสนใจ เพราะแทบจะไม่ต้องทำการวิจัยและพัฒนา ทำให้ต้นทุนต่ำลง สินค้าที่ผลิตออกมานั้นเลยมีมูลค่าที่ถูกกว่าแบรนด์ต้นแบบ ทำให้หลายๆ บริษัทใช้วิธีนี้เพื่อเป็นการลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย และลดเวลาในการทำวิจัยและพัฒนา

 

Read more at: https://www.digitalbusinessconsult.as… โดย ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร และ ปิยะพงษ์ เคนทวาย