Talk of the Town รอบบ้านเรา l ย้อนตำนาน “ลุงขาวไขอาชีพ” ที่พึ่งคนยาก สอนอาชีพง่ายๆ โดยไม่คิดเงิน ตอนที่ 2

Talk of the Town รอบบ้านเรา l คำประพันธ์ เนื่องในโอกาสวันครูแห่งชาติ
– ย้อนตำนาน “ลุงขาวไขอาชีพ” ที่พึ่งคนยาก สอนอาชีพง่ายๆ โดยไม่คิดเงิน (ตอนที่ 2)
– งานหนาวนี้ที่ชะแล ปีที่ 6 วันที่ 21 – 23 มกราคม 2566 ณ ไร่ปรารถนา หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งนางครวญ ต.ชะแล อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
-บทสัมภาษณ์พิเศษ Special Interview สัมภาษณ์บุคคล คุณสรียา บุญมาก ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานกาญจนบุรี
-การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กับโครงการ “THE MICHELIN EXPERIENCE @ ISAN มิชลินถิ่นอีสาน” ต่อยอด Soft Power of Thailand
.
ดำเนินรายการโดย คุณ จีระสุข ฃินะโชติ
.
ออกอากาศ 25 มกราคม 2566
ติดตามรับฟังได้ทาง #วิทยุราชมงคลธัญบุรี #RmuttRadio #รอบบ้านเรา #กาญจนบุรี #มิชลินถิ่นอีสาน #ลุงขาวไขอาชีพ #ททท #งานหนาวนี้ที่ชะแล

———————————————————————————-
สวัสดีค่ะขอต้อนรับท่านผู้ฟังเข้าสู่รายการรอบบ้านเรา (Talk of the Town ) สถานีวิทยุราชมงคลธัญบุรี พบกับจีระสุข ชินะโชติ ดำเนินรายการ ติดตามรายละเอียดดังนี้
ช่วงที่ 1 คำประพันธ์ เนื่องในโอกาสวันครูแห่งชาติ
กายจิตน้อมพร้อมคิดลิขิตสาร คำคมกานท์กิเลสวิเศษหมาย
พร้อมบูชาศรัทธาครูไม่รู้วาย ศิษย์หญิงชายหมายมั่นกตัญญู
คำสอนสั่งพลังครูคู่ศาสตร์ศิลป์ สอนเสร็จสิ้นสงสัยจิตหมายรู้
มุมปัญญาศรัทธาเชื่อเรือคือครู ดังก้องหูคู่ประสาทไม่ขาดไป
มีขีดเขียนเรียน ก กาพาคิดเลข สอนพิเศษเสกมนตราผ่านิสัย
ขัดเกลาจิตศิษย์รักประจักษ์ใจ คำสอนไหนไม่คู่ควรไม่ชวนทำ
ถึงสิบหกมกราคมก้มขีดเขียน จิตเสถียรเทียนธูปแพชะแง้ซ้ำ
ร้อยอักษรสะท้อนจิตเพ่งพิศคำ ความสุขล้ำนำสู่ครูคู่บทเรียน
พระคุณครูผู้ยิ่งใหญ่ในฟากฟ้า ชนทั่วหล้าบูชาศรัทธาเสถียร
มีต้นแบบแนบยิ้มพิมพ์จำเนียร มีแสงเทียนเวียนสว่างสู่ทางชัย
ศิษย์รุ่นก่อนจรจากฝากรุ่นหลัง ครูคาดหวังพลังศิษย์ทุกจิตใส
เคารพครูผู้พร่ำสอนทุกตอนไป เกษมใจลาภยศปรากฏเทอญ
ประพันธ์โดย “โจอี้ หัดเขียนกวี” วัดสนามนอก บางกรวย นนทบุรี
๑๖ มกราคม ๒๕๖๖
.
2.ย้อนตำนาน “ลุงขาวไขอาชีพ” ที่พึ่งคนยาก สอนอาชีพง่ายๆ โดยไม่คิดเงิน (ตอนที่ 2)
คุณวราพงษ์ พงษ์บริบูรณ์ หรือที่ใครๆ รู้จักในชื่อ “ลุงขาวไขอาชีพ” นักธุรกิจ นักประชาสัมพันธ์ นักพูด นักประดิษฐ์ นักสังคมสงเคราะห์ และนักเขียนชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2471 เป็นลูกชายคนสุดท้องในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 5 คน เรามาติดตามเรื่องราวของ ขาวละออเภสัช ได้ที่ เปิดตำนานยาสมุนไพร 90 ปี “ขาวละออเภสัช” ยืนหยัดด้วยคุณภาพ สู่งานวิจัย “ขาวละออ เมาท์เจล”
.
ชีวิตส่วนตัวคุณวราพงษ์ จบการศึกษาจากโรงเรียนพณิชยการพระนคร ในปี พ.ศ. 2490 ภายหลังได้สมรสกับ คุณบุญเรือน พงษ์บริบูรณ์ บุตรสาวของ หมอหลง ขาวละออ ผู้ก่อตั้งขาวละออโอสถ ปัจจุบันคือ บริษัท ขาวละออเภสัช จำกัด
ชื่อ “ลุงขาวไขอาชีพ” เริ่มขึ้นเมื่อคุณวราพงษ์ได้เข้าทำงานที่ห้างขายยาขาวละออโอสถ ด้วยมีแนวคิดนำยาไปขายยังต่างจังหวัด จึงได้ออกตระเวนฉายหนังพร้อมขายยาไปทั่วประเทศในนามห้างขายยาขาวละออโอสถ ชาวบ้านจึงเรียกติดปากว่า ลุงขาว
ระหว่างเดินทาง ลุงขาวได้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านที่มีเทวดาฟ้าฝนเป็นที่พึ่ง มีทั้งคนว่างงาน และคนด้อยโอกาส ลุงขาวจึงนำความรู้ด้านวิชาชีพที่สั่งสมมาจากการเดินทางจากถิ่นหนึ่งไปสอนให้ชาวบ้านอีกถิ่นหนึ่งโดยไม่คิดเงิน โดยอาชีพที่ลุงขาวนำไปสอน ก็เป็นอาชีพง่ายๆ เช่น ทำโอ่งเก็บน้ำฝน หน้าแล้งจะได้มีน้ำใช้ หรือจะเป็นการทำลูกอม ให้เด็กๆ ในหมู่บ้านมีขนมกิน ทำขนมเค้ก และซ่อมจักรยาน เป็นต้น
.
ในปี พ.ศ. 2508 ลุงขาวเริ่มก้าวเข้าสู่สื่อโทรทัศน์ จัดรายการแรกคือ “กระจกเงาเยาวชน” ซึ่งเป็นรายการเด็ก ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “รายการลุงขาวไขอาชีพ” ซึ่งมีเนื้อหาคล้ายรายการวิทยุ “ชีวิตนี้ยังมีหวัง” ที่ลุงขาวจัดผ่านสถานีวิทยุ จส.4 หรือยานเกราะ ออกอากาศราวตี 5 ของทุกวัน ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ นำเสนอประสบการณ์เมื่อครั้งออกเดินทางไปสอนอาชีพให้ชาวบ้าน จากนั้นรายการลุงขาวไขอาชีพได้ย้ายไปอยู่ช่อง 4 บางขุนพรหม ในปี พ.ศ. 2509
รายการลุงขาวไขอาชีพได้รับความนิยมจากผู้ฟังจำนวนมากจนได้รับการเรียกร้องจากผู้ฟังให้ไปสอนอาชีพ ลุงขาวได้เปิดให้ผู้ที่สนใจ มีอุดมการณ์เดียวกันคือ มีจิตใจเสียสละ ไม่หวงวิชา มาร่วมกันเป็นอาจารย์ เดินทางไปสอนอาชีพจริงๆ ในที่ต่างๆ ให้ฟรี ทำเช่นนี้อยู่ 4-5 ปี
.
ในปี พ.ศ. 2512 จอมพล ประภาส จารุเสถียร ศรัทธาในตัวลุงขาว ให้ คุณเชาวน์วัศ สุดลาภา เลขานุการของท่าน เตรียมสถานที่สันนิบาตเสรีชน อยู่ตรงข้ามโรงเรียนมาแตร์เดอี ให้ลุงขาวเปิดโรงเรียนสอนอาชีพแก่ประชาชน โดยได้ประกาศรับอาสาสมัคร วิทยากร ผู้สอนวิชาชีพต่างๆ มาร่วมกันเป็นอาจารย์โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน เปิดสอนอาชีพทุกวันเสาร์-อาทิตย์ มีผู้สนใจมาเรียนครั้งหนึ่ง ราวๆ 300-500 คน แรกเริ่มใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสัมมาอาชีพวิทยาทาน” จากนั้นเปลี่ยนเป็น “ชมรมสัมมาอาชีพวิทยาทาน” ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ชมรมลุงขาวไขอาชีพ” และ “มูลนิธิลุงขาวไขอาชีพ” ตามลำดับ
.
นับตั้งแต่มีการสอนมา มีคนมาเรียนไม่ต่ำกว่าล้านคน กระทั่งในปี พ.ศ. 2551 ลุงขาวได้เสียชีวิตอย่างสงบ แต่มูลนิธิลุงขาวไขอาชีพยังคงอยู่ โดยคุณบุญเรือน พงษ์บริบูรณ์ ภรรยาของลุงขาวรับเป็นประธานมูลนิธิ
ในปี พ.ศ. 2557 คุณบุญเรือน พงษ์บริบูรณ์ เสียชีวิตลง มูลนิธิยังคงสืบสานเจตนารมณ์ของลุงขาวต่อไป โดย คุณวัชรพงษ์ พงษ์บริบูรณ์ ผู้เป็นบุตรชายเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธินับแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ มูลนิธิลุงขาวไขอาชีพ เป็นที่รวมของผู้มีจิตอาสา รวมตัวกันสอนอาชีพง่ายๆ แก่ประชาชนผู้ยากจนโดยไม่คิดมูลค่า แต่ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ว่า “ให้อาหารคุ้มไปนานแค่อิ่ม ให้เครื่องนุ่งห่มคุ้มไปนานแค่อายุผ้าขาด ให้เรือนหอ คุ้มไปนานแค่เรือนพัง ให้วิชาดีกว่า เลี้ยงตัวเค้าได้จนวันตาย”
(ที่มา/เครดิต/ มติชน เส้นทางเศรษฐี ออนไลน์ วันจันทร์ที่23 มกราคม 2566 )
.
3. งานหนาวนี้ที่ชะแล ปีที่ 6 วันที่ 21 – 23 มกราคม 2566 ณ ไร่ปรารถนา หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งนางครวญ ต.ชะแล อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนของตำบลชะแล กิจกรรมในงาน : เริ่มตั้งแต่ 9 โมงเช้า ถึง เที่ยงคืน ส่วนวันสุดท้ายจบที่เวลา 4 โมงเย็น มีการแสดงนิทรรศการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้าน ผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตร กิจกรรมของชนเผ่า ได้แก่ การยิงปีนผาหน้าไม้ โยนลูกช่วง ฟอร์มูล่าม้ง ประกวดร้องเพลง การแสดงทางวัฒนธรรมขอชาติพันธุ์ม้ง กะเหรี่ยง ไทยอีสานการแสดงแสงสีเสียง และต่อมา วันที่ 10 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 งาน Sunset Coffee Fest 2023 ที่โรงแรมเดอะไซ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี งานเทศกาลกาแฟร้านที่มีความพิเศษเฉพาะตัวจากกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี และอิ่น ๆ สอนการชงกาแฟแบบต่าง ๆ
.
4. บทสัมภาษณ์พิเศษ Special Interview สัมภาษณ์บุคคล คุณสรียา บุญมาก ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานกาญจนบุรี
ประเด็น 1.เกี่ยวกับผลการจัดงานกิจกรรม“River Kwai SUP Fun Fest 2022” 2.การจัดงานหนาวนี้ที่ชะแลขึ้นเป็นปีที่ 6 ระหว่างวันที่ 21 – 23 มกราคม 2566 3. งานนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆอย่างไรบ้าง 4. ผู้สนใจเข้าร่วมงานควรเตรียมตัวอย่างไร 5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานนี้ 6. ได้รับมอบนโยบายอะไรบ้างมาจากรัฐบาลเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวชาวไทย/ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในงานนี้ 7. งานนี้มีบทบาทอย่างไรในมิติของ การสร้างอาชีพ สร้างสังคม ชุมชนเข้มแข็ง อย่างไร 8.จังหวัดกาญจนบุรียังมีการจัดงานอื่นอะไรบ้างที่นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมได้ 9. แนะนำแหล่งท่องเที่ยว เมืองกาญจนบุรี ที่น่าสนใจ ฯลฯ
.
5. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กับโครงการ “THE MICHELIN EXPERIENCE @ ISAN มิชลินถิ่นอีสาน” ต่อยอด Soft Power of Thailand สู่ High Value Tourism (‘มิชลินถิ่นอีสาน’ปักหมุดร้านอาหารชั้นยอด)
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เปิดโครงการ “THE MICHELIN EXPERIENCE @ ISAN มิชลินถิ่นอีสาน” ต่อยอด Soft Power of Thailand สู่ High Value Tourism โดยมีนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นประธานแถลง โดยกล่าวว่า ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย ททท.ได้สนับสนุนโครงการ The MICHELIN Guide Thailand ต่อเนื่องเป็นระยะที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ. 2565-2569 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ผลักดัน Soft Power ในด้านอาหาร (F-Food) หรือการท่องเที่ยวเชิงอาหาร(Gastronomy Tourism) ของประเทศไทยที่มีความโดดเด่นและแข็งแกร่ง โดยปีนี้ได้จัดทำหนังสือคู่มือปีที่ 6 ขยายพื้นที่สำรวจครอบคลุมสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด คือ จังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่นและนครราชสีมา
.
ททท.ยังได้มอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีกับธุรกิจร้านอาหารที่ได้รับการจัดอันดับในคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับปี2566 ซึ่งเป็นฉบับที่ 6 ของไทย 9 ร้านอยู่ใน จังหวัดนครราชสีมา, 11 ร้าน ในจังหวัดขอนแก่น, 6 ร้าน ในจังหวัดอุบลราชธานี และ 7 ร้าน ในจังหวัดอุดรธานี
.
พร้อมกับ ชวนสัมผัสเสน่ห์ของวัฒนธรรมอาหารอีสานด้วยการจัดเสิร์ฟเมนูอาหารเลิศรสจาก 7 ร้านมิชลินในจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย แหนมเนืองและพันหอม จากร้าน VT แหนมเนือง เมี่ยงทอดมัจฉาและปลาทับทิมอกแตก จากสวนอาหารมัจฉาผาสุข ปลาส้มทอด แกงคั่วหอยขม และข้าวเหนียวห่อใบตอง จากครัวคุณนิด ก๋วยเตี๋ยวเป็ดตุ๋นและข้าวหน้าเป็ด จากร้านเป้งก๋วยเตี๋ยวเป็ด ขนมปังสามสหายและสตูซี่โครงหมู จากร้านมาดามพาเท่ห์ 2515 เมี่ยงทอดและแหนมคลุก จากร้านอรุณีแหนมเนือง แซลมอนแช่น้ำปลาร้า และพวงนมทอดกระเทียม จากร้านลาบนัว
.
ความสำเร็จของร้านอาหารมิชลิน ถือเป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญ สะท้อนคุณภาพและศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ผลการดำเนินโครงการ The MICHELIN Guide Thailand ประจำปี 2560 – 2563 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดทำวิจัยและสำรวจ จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 โดย บริษัท เคเนติกส์ คอนซัลติ้ง จำกัด และครั้งที่ 2 โดย Erst & Young (EY) พบว่า โครงการ The MICHELIN Guide Thailandสร้างมูลค่าส่วนเพิ่มด้านอาหารของไทย ด้านการท่องเที่ยวมากถึง 842.40 ล้านบาท เกิดการจ้างงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมากกว่า 4,800 ตำแหน่ง รวมถึงสามารถดึงดูดเชฟชั้นนำชาวต่างชาติให้เข้ามาทำงานและลงทุนเปิดร้านอาหารระดับ Hi- End ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
.
ปี 2565 ททท.ได้ทำการประเมินผลการท่องเที่ยวด้านอาหารและโครงการ The MICHELIN Guide Thailand ปี 2565 จำนวน1 ครั้ง โดย บริษัท เคเนติกส์ คอนซัลติ้ง จำกัด พบว่านักต่างชาติ ร้อยละ 98 ที่เคยได้รับประทานอาหารมิชลินแล้ว จะแนะนำต่อ และร้อยละ 94 ที่เคยได้รับประทานอาหารมิชลินแล้ว จะเดินทางไปลองทานอาหารที่ร้านอาหารมิชลินอื่นๆ ในประเทศไทยด้วยททท. ยังให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์รางวัลดาวมิชลินรักษ์โลก (The MICHELIN Green Star) มอบแก่ร้านอาหารที่ส่งมอบประสบการณ์การรับประทานอาหารที่ยอดเยี่ยม โดยคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์ ประเทศไทย 2566’ ประกอบด้วย 3 ร้าน ได้แก่ ร้าน PRU (พรุ) จ.ภูเก็ต ร้านจำปา จ.ภูเก็ต ร้าน Haoma กรุงเทพฯ
.
จีระสุข ชินะโชติ ดำเนินรายการ ขอบคุณและสวัสดีค่ะ