Talk of the Town รอบบ้านเรา l เรียนรู้เรื่อง Mindset กับ อาจารย์ณัฐนัย โล่ห์สุวรรณ

Talk of the Town รอบบ้านเรา
– ช่วงที่ 1 หนังสือ ลุงขาวไขอาชีพ พิมพ์ครั้งที่ 4 : หนึ่งคนคิด หลายชีวิตเติบโต ติดตามการให้สัมภาษณ์พิเศษ อาจารย์ ยุพา เอี่ยมปิ่น
– ช่วงที่ 2 สัมภาษณ์พิเศษบุคคล พบกับ อาจารย์ณัฐนัย โล่ห์สุวรรณ ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด
– ช่วงที่ 3 “วัดหนองนกไข่” ชุมชนบ้านหนองนกไข่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
– ช่วงที่ 4 วิถีรีวิว…..แกงหมูชะมวง อร่อยๆ หารับประทานยาก

.
ดำเนินรายการโดย คุณ จีระสุข ฃินะโชติ
.
ออกอากาศ 10 พฤษภาคม 2566
ติดตามรับฟังได้ทาง #วิทยุราชมงคลธัญบุรี #RmuttRadio #รอบบ้านเรา #ลุงขาวไขอาชีพ #ททท #ตราด #วัดหนองนกไข่ #ของดี #สถานที่ท่องเที่ยว #แกงหมูชะมวง #กระทุ่มแบน #สมุทรสาคร
——————————————————————————————–
ช่วงที่ 1 ( ตอนที่ …. )
ที่มา// หนังสือ ลุงขาวไขอาชีพ พิมพ์ครั้งที่ 4 : หนึ่งคนคิด หลายชีวิตเติบโต ติดตามการให้สัมภาษณ์พิเศษ อาจารย์ ยุพา เอี่ยมปิ่น
เกี่ยวกับประสบการณ์ด้านวิชาชีพการตัดเย็บเสื้อผ้า ของนิธิลงุขาวไขอาชีพ ไว้ดังนี้………………
.
ช่วงที่ 2 / สัมภาษณ์พิเศษบุคคล พบกับ อาจารย์ณัฐนัย โล่ห์สุวรรณ ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด , ประธานผู้ก่อตั้ง สถาบันพัฒนาศักยภาพการสื่อสาร WLDC และวิทยากรด้านการสื่อสารและพัฒนาบุคลิกภาพ ได้เล่าเกี่ยวกับประสบการณ์ทำงานของท่านในอดีตและงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน,ประสบการณ์การทำงานด้านธุรกิจท่องเที่ยว ทำไมท่านจึงสนใจเรื่อง Mindset ,บุคคลในสาขาอาชีพต่างๆ กับการเรียนรู้เรื่อง Mindset, Mindset คืออะไร มีกี่ประเภทอะไรบ้าง ,มีวิธีการพัฒนา Mindset อย่างไร ,การนำความรู้เรื่อง Mindset นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอาชีพต่างๆ ,การทำงานกับบทบาทในการสร้างอาชีพ….สร้างสังคม ชุมชนเข้มแข็ง
เป็นต้น
.
ช่วงที่ 3 / พาท่านผู้ฟังเดินทางไปเส้นทางตลาดเก่าอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เราไปกันที่ “วัดหนองนกไข่” ชุมชนบ้านหนองนกไข่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
“วัดหนองนกไข่” หาโอกาสไปเที่ยวสักครั้งหนึ่ง!!! เมื่อได้ลอดผ่านซุ้มประตูวัดหนองนกไข่แล้วก็หาที่จอดรถเพื่อเข้าวิหารกราบบูชาขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ภายในวิหาร โดยเฉพาะ “องค์พระแม่กวนอิมพันมือ” คาดว่าน่าจะหล่อด้วยทองผสมผสานสำริดมีชาวประชาชนทั้งหลายมาปิดทองกันมากจริง ๆ แล้วกราบบูชาขอพรในเรื่องต่างๆ เช่น การค้า การลงทุนในธุรกิจให้เจริญรุ่งเรือง หรือ ขอเรื่องโชคลาภร่ำรวยเงินทอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีองค์เทพเจ้าต่าง ๆ ประดิษฐานอยู่ด้วย เช่น องค์พระพิฆเนศ องค์พระแม่อุมาเทวี องค์พระวิษณุ องค์อิศวรและองค์พระพรหมสี่หน้า หรือ ท้าวมหาพรหมมีสี่พักตร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งสวรรค์มีความเมตตาสูงและถือว่าเป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลก ดังนั้น ท่านผู้ฟังทุกท่าน จะเข้ากราบบูชาขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ทุกวัน เริ่มตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. ภายในวิหารตกแต่งคล้าย ๆ ศาลเจ้าของชาวจีนเพราะมีเสาพญามังกร ดูมีพลังมนต์ขลังน่าประทับใจมากนะคะ เมื่อได้นั่งสงบนิ่งอธิษฐานจิตขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล
.
ส่วนอีกด้านหนึ่งคือ “พระอุโบสถ” มีตราฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พุทธศักราช 2539 ช่วงเวลาแสงตะวันอ่อน ๆ ถ่ายภาพได้สวยงามมากๆทีเดียว
สำหรับจุดสุดท้ายต้องแวะซึ่งก็คือ วิหารประดิษฐาน “พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงดาบ” ในทุกวันชาวประชาชนทั้งหลายมากราบบูชาขอพรและปิดทองพระองค์ท่าน ด้วยเชื่อถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ หรือเพื่อขอพรให้ประสบผลสำเร็จ เรื่องหน้าที่การงานให้ก้าวหน้าเจริญเติบโต ขอความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินหรือเรื่องโชคลาภร่ำรวยเงินทอง เป็นต้น
.
ท่านผู้ฟังคะ “วัดหนองนกไข่” อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จากการเดินทางไปในครั้งนี้ พวกเราได้พูดคุยกันกับผู้ที่มาแก้บน ซึ่งจะนำพวงมาลัยดอกไม้ มาถวายกัน หรือปัจจัยทำบุญเพื่อสร้างบวรของพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปนานแสนนาน ขอเชิญร่วมอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ขอให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญด้วยบุญกุศลตามที่ทำกันไว้ค่ะ ” เที่ยวเมืองไทยไม่ไปไม่รู้ ถ้าอยากรู้ต้องออกเดินทางไป…ด้วยกัน ” อย่าลืมติดตามฟังรายการ เล่าเรื่องเมืองไทย ของเรากันต่อไปทั้งเรื่องราวท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ วิถีชุมชน วัฒนธรรมและอาหารถิ่นของชุมชนได้ตามที่อยู่ท้ายนี้
(ขอบคุณข้อมูล : พี่หนุ่ม-สุทน รุ่งธัญรัตน์ แฟนเพจเฟซบุ๊ค : https://www.facebook.com/sutonfm100.5/)
.
ช่วงที่ 4 วิถีรีวิว…..แกงหมูชะมวง อร่อยๆ หารับประทานยาก!
ท่านผู้ฟังคะ ชะมวง เป็นไม้ยืนต้น ท้องถิ่นของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ตามป่าดิบชื้นทั่วไป รวมทั้งพื้นที่ราบที่มีความชื้นสูง รวมทั้งพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 600 เมตร ขึ้นไป สำหรับประเทศไทยพบมากทางภาคตะวันออก ภาคใต้ ส่วนภาคอื่นๆก็พอมีแต่มักจะขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่มีความชื้นเช่น ในสวน หรือ ชายป่าที่มีอยู่ริมน้ำ ริมหนอง คลอง บึง
.
ชะมวง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Cowa มีชื่อ วิทยาศาสตร์ Garcinia Cowa อยู่ในวงศ์ GUTTIFERAE- CLUSIACEAE อยู่ในวงศ์เดียวกับ มังคุด ส้มแขก ใบเดี่ยวมีผิวเป็นมัน เนื้อใบหนามีรสเปรี้ยว ดอกเป็นช่อขนาดเล็ก กลีบดอกแข็ง หนา ผลสดทรงกลม ผิวเรียบมีภูตื้นๆ ผลอ่อนสีเขียว อมเหลือง สุกแล้วมีสีส้มชชอบข้นในดินกร่อย ดินชายทะเล
ชะมวงมีฤทธิ์เป็นสมุนไพร ใบและผลมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาระบาย ใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง ทางภาคตะวันออกนำใบมาปรุงให้ได้รสเปรี้ยวในแกงหมูชะมวง ภาคใต้ก็นำใบชะมวงที่ให้รสเปรี้ยวมาต้มหมู หรือ เนื้อชะมวง ออกรสเปรี้ยวคล้ายต้มยำ
ว่ากันว่า “แกงหมูชะมวง” หากินยาก ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรมาติดตามกันต่อไป…..
ท่านผู้ฟังคะ เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า ชะมวง พืชชะมวง ไม้ยืนต้นอยู่ในป่าเขตร้อนชื้นหรือพื้นที่ชื้นแถวเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ในเมืองไทยมีมากทางภาคใต้ ภาคตะวันออก โดยเฉพาะทางภาคตะวันออก โดยนำใบที่ให้รสเปรี้ยวปรุงลงในแกงเผ็ดโดยใส่หมู หรือกระดูกหมูอ่อน รู้จักกันทั่วไปว่า “แกงหมูชะมวง” จนเป็นเอกลักษณ์ของภาคตะวันออก โดยเฉพาะ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดตราด ซึ่งก็มีแกงชะมวงแบบเดียวกับที่ จังหวัดจันทบุรีเหมือนกัน แต่ดูเหมือนว่าแกงหมูชะมวงเป็นแกงเฉพาะถิ่นจันทบุรี ใครไปเที่ยว จังหวัดจันทบุรีก็เป็นต้องถามหาแกงหมูชะมวงกันทั้งนั้น อย่ากระนั้นเลย เข้าครัวไปด้วยอีกสักประเดี๋ยวเรามาทำแกงหมูชะมวงกันดีกว่าไหม ท่านผู้ฟังเรามาเริ่มกันที่
เครื่องปรุงพริกแกง ประกอบด้วย
1. พริกชี้ฟ้าแห้งแกะเมล็ดออก 10 เม็ด 2. พริกขี้หนูแห้งแกะเมล็ดออก 8 เม็ด 3.ตะไคร้หั่นซอย 6 ช้อนโต๊ะ 4.หอมแดงหั่นซอย 5 ช้อนโต๊ะ 5.กระเทียมหั่นซอย 4 ช้อนโต๊ะ 6.ข่าหั่นซอย 2 ช้อนโต๊ะ 7.ผิวมะกรูดหั่นซอย 1ช้อนโต๊ 8. เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ 9.กะปิห่อใบตองรนไฟให้หอม 1.5 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำเครื่องพริกแกง
นำเครื่องพริกแกงลงกะทะ คั่ว ไฟอ่อนๆ จนได้กลิ่นหอมสังเกตที่พริกถ้าพริกเริ่มแห้งใกล้ไหม้ ให้ตักเครื่องพริกแกงทั้งหมดลงครก พร้อมใส่เกลือป่น จากนั้นค่อยๆ โขลกเครื่องพริกแกงทั้งหมดจนละเอียดสังเกตได้ เมื่อเครื่องพริกแกงทั้งหมดเหนียวเริ่มจับกันเป็นก้อน จากนั้นใส่กะปิ แล้วโขลกต่อให้กะปิเข้ากับเครื่องพริกแกงทั้งหมด เครื่องพริกแกงจะเกาะกันเป็นก้อนกลม เราจะได้เครื่องพริกแกง หมูชะมวงพร้อมแกง
การเตรียมเนื้อหมู
.
แกงหมูชะมวง จะใช้เนื้อหมูส่วนที่เป็นสันคอ หั่นเป็นชิ้นใหญ่ ( เป็นก้อนๆ ) ขนาด 3 – 4 เซ็นติเมตร หรือ จะใช้กระดูกหมูอ่อนก็ได้หั่นเป็นชิ้นตามร่องกระดูก กระดูกอ่อนเคี้ยวได้อร่อยปากกว่า หรือจะใช้หมูสามชั้นก็ได้เลือกที่มีมันน้อยหน่อยจะได้ไม่เลี่ยน โดยหั่นเป็นชิ้นแบบเดียวกับหั่นสันคอ เนื้อหมู หรือกระดูกหมู ล้างทำความสะอาดก่อนหั่นเป็นชิ้น ในที่นี้ใช้ปริมาณ 1 กิโลกรัม
จากนั้น นำหมูที่ต้องการ หมักด้วยซีอิ้วเห็ดหอม 5 ช้อนโต๊ะ เกลือป่น 1ช้อนโต๊ะ คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา1ชั่วโมง
แกงหมูชะมวง เป็นแกงที่ให้รสหวาน อมเปรี้ยว โดยใช้น้ำตาล ใช้น้ำมะขามเปียก กับรสเปรี้ยวของใบชะมวง ส่วนรสเค็มใช้เกลือหรือน้ำปลาเพียงเล็กน้อย
.
เครื่องปรุงรส มีดังนี้
1.น้ำตาลมะพร้าว 3 ช้อนโต๊ะ 2.น้ำตาลอ้อยป่น 3 ช้อนโต๊ะ 3.น้ำตาลจากต้นตาลป่น 3 ช้อนโต๊ะ 4.น้ำปลาดี 1 ช้อนโต๊ะ 5. น้ำมะขามเปียก 7 ช้อนโต๊ะ 6. ใบชะมวงกลางอ่อน กลางแก่ เด็ดก้านกลางออกซอยเป็นชิ้นเล็กขนาดประมาณ1เซนติเมตร3ถ้วยตวงหรือประมาณ 120 กรัม
.
วิธีทำ
นำกะทะตั้งไฟ ใส่น้ำมัน 3 ช้อนโต๊ะ (ถ้าใช้น้ำมันหมูจะหอมและอร่อยกว่า) พอกะทะเริ่มร้อนนำพริกแกง ลงผัดให้แตกกลิ่นหอม ระวังอย่าให้กะทะไหม้ พอพริกแกงร้อนและหอมได้ที่ ให้ใส่เนื้อหมูลงผัดกับพริกแกง หากแห้งไปให้เติมน้ำได้เพื่อไม่ให้กะทะไหม้ ผัดต่อไปให้ทั่ว จนหมูเริ่มสุก หรือ สุกราวๆ 70 เปอร์เซนต์ เติมน้ำได้อีกพอขลุกขลิก ผัดต่อให้ทั่ว ให้เห็นว่าหมูกับพริกแกงเช้ากันดี จากนั้นให้เติมน้ำเสมอชิ้นหมู เร่งไฟให้แรงได้นิดหน่อย พอเดือดหรี่ไฟลงเล็กน้อย เคี่ยวต่ออีกราวครึ่งชั่วโมง ตักทั้งหมดลงใส่หม้อ แล้วเคี่ยวไฟรุม รุม ต่ออีกครึ่งชั่วโมง จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำตาล ทั้ง 3 อย่าง พร้อมน้ำมะขามเปียก น้ำปลา และใบชะมวงที่หั่นซอยไว้ เคี่ยวต่ออีกเล็กน้อยชิมรส ให้รสหวาน รสเปรี้ยว คลอๆกัน รสเค็มตามห่างๆ บางคนอาจชอบรสเปรี้ยวนำรสหวานเล็กน้อยก็ได้ หรือหวานนำเล็กน้อยก็ได้เช่นกัน แล้วแต่จะพอใจ แต่แกงหมูชะมวง รสหวาน รสเปรี้ยวจะเสมอกัน แล้วเคี่ยวต่ออีกเล็กน้อย เสร็จแล้วยกลง ปล่อยให้แกงเย็นตัวเอง บางรายพอปรุงรสเสร็จก็ยกลงใส่หม้ออบไร้สาย (หม้ออบที่ไม่ใช้ไฟฟ้า) ปล่อยทิ้งไว้ 4 ชั่วโมง หมูหรือกระดูกหมูเปื่อยพอดี น้ำแกงก็เข้าชิ้นหมูพอดีด้วยเช่นกัน เสร็จแล้วพร้อมตักลงชามพร้อมเสริฟ รับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ
.
ท่านผู้ฟังคะ แกงหมูชะมวง แม้ว่าจะมีขั้นตอนมากหน่อย แต่ตามสูตรนี้ ก็ท่านได้แกงหมูชะมวง แกงที่ใช้ใบไม้พื้นบ้านอยู่ตามป่า หรือชายป่า มาประกอบเป็นอาหารรสเลิศเป็นภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยภาคตะวันออก โดยเฉพาะ จังหวัดจันทบุรี หากสะดวกที่จะทำรับประทานกันในครอบครัวก็ทำได้ตามที่นำเสนอมานี้นะคะ และยังมีอาหารอื่นๆที่ปรุงจากใบชะมวงอีก จะเรียนมานำเสนอในโอกาสต่อไป