ENERGY SAVING l พลังงานทดแทนจะนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลง

ENERGY SAVING l พลังงานทดแทนจะนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลง

ผศ.ดร.วิรชัย โรยนรินทร์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ และนายกสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า พลังงานทดแทนจะนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลง การใช้พลังงานทดแทนมีผลเช่นเดียวกัน จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ทำให้วงการพลังงานทดแทนชะงัก เมื่อหยุดการใช้พลังงานไฟฟ้า ประเทศไทยผลิตพลังงานจากฟอสซิล 80% เนื่องจากฟอสซิล มีราคาถูกกว่าพลังงานทดแทน โดยในช่วง 3 เดือนนี้ จะเห็นได้ว่าความมั่นคง จากพลังงานฟอสซิล กลับมามีบทบาทอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม การประหยัดพลังงาน ก็ยังคงเป็นประเด็นที่ยังคงต้องทำต่อไป ส่วนหนึ่งที่ไทยมีการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งเราสามารถช่วยลดการใช้พลังงานได้เช่น การปิดไฟ หรือลดการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้รัฐบาลจะลดค่าไฟฟ้าให้ แต่เนื่องจากสถานการณ์การกักตัวที่บ้านทำให้ประชาชนมีการใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

ในมุมมองของผมเอง ฟอสซิล จะมีการปรับลดลงไปอีกประมาณ 20% ราคาพลังงานทดแทนก็จะมีราคาสูง ดังนั้น นักลงทุนมีโอกาสที่จะชะลอการลงทุน

แต่การสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน ก็จะเน้นไปที่กลุ่มเกษตรกร เนื่องจากต้องพึ่งพาตนเอง แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงก็จะมีบทบาทกระตุ้นให้เกษตรกรเห็นความสำคัญมากขึ้น ซึ่งการนำพลังงานทดแทนไปใช้นั้น เช่น การใช้โซล่าเซลล์สูบน้ำ

เกษตรอินทรีย์ ก็ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า พลังงานทดแทน เช่น การปลูกพืช ต่อไปจะต้องมีการใช้นวัตกรรมของพืชที่จะต้องฆ่าเชื้อ เช่นการปลูก ผักบุ้ง กะหล่ำ อาจจะต้องมีการฆ่าเชื้อก่อนนำส่งสู่ตลาด

เพราะฉะนั้น ภาพรวมๆ ของพลังงานทดแทนจะมีการนำไปใช้ด้านการเกษตรมากขึ้น จะใช้ในการลดปริมาณเชื้อโรคในเกษตรสมัยใหม่ จึงคิดว่าน่าจะมีนวัตกรรมชุดเคลื่อนที่สำหรับการผลิตแสดงอุลตร้าไวโอเลท

สิ่งนี้เป็นสิ่งที่กลุ่มเกษตรกรมีความวิตกกังวลว่า อาหาร ผัก ผลไม้ ในตลาดต่างๆ มีมาตรฐานที่ควบคุมอย่างไร เห็นหลายๆ แห่งมีการคัดกรองผู้เข้าไปในตลาดสด มีการสวมหน้ากาก ใช้เจลแอลกอฮอล์

ในส่วนของภาคการใช้พลังงาน โชคดีอย่างหนึ่ง คือ อุณหภูมิลดลง ทำให้มีการใช้เครื่องปรับอากาศน้อยลง

สิ่งหนึ่งที่ประชาชน ต้องมาใส่ใจ คือ ต้องคำนึงถึงการขาดแคลนเชื้อเพลิงขึ้นมา อาจจะมาจากการกักตุนเชื้อเพลิง ในช่วง 3-4 เดือน ที่อาจจะนำเข้ามาไม่ได้ ดังกนั้น การเตรียมความพร้อมในการเตรียมแบตเตอรี่สำหรับสำรองไฟฟ้า

หากการระบาดของโควิด-19 ยาวนาน อาจจะมีวิกฤตเกิดขึ้น ประชาชนก็ต้องเตรียมความพร้อม แต่ไม่ใช่การกักตุนอาหาร ต้องพิจารณาว่า เช่น การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ไว้ เอาไว้ในยามวิกฤต หรือเลวร้ายคือการออกจากบ้านเรือนไม่ได้ ฉะนั้น จะต้องคำนึงว่าจะทำอย่างไรให้คนในครอบครัวมีอาหารการกินได้ คิดว่าน่าจะดูแลประคองครอบครัว ในการดูแลตัวเองมากขึ้น

ซึ่งในภาพรวมๆ นี้ มองว่าจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

ดำเนินรายการโดย ปิยะพงษ์ เคนทวาย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรชัย โรยนรินทร์ ประธานที่ปรึกษาสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

(ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม 2563)ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM 89.5 Mhz