ENERGY SAVING l ทิศทางการวิจัยด้านพลังงานในประเทศไทย

ENERGY SAVING l ทิศทางการวิจัยด้านพลังงานในประเทศไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรชัย โรยนรินทร์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ และนายกสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้มีแขกรับเชิญสัปดาห์นี้ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์​ ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช ที่ปรึกษาสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมวิศวกรรมเครื่องกลไทย

โดย ผศ.ดร.วิรชัย เปิดประเด็นคำถามแรกว่า “ทิศทางของประเทศ และประเทศควรจะมีการส่งเสริมไปสู่ภาคการใช้งานจริง ท่านคิดเห็นประการใด ในการนำงานไปสู่การใช้งาน มุมมองอย่างไรบ้าง?”

ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ กล่าวว่า ในฐานะนักวิชาการ และเป็นผู้ดูแลในโหมดด้านพลังงาน จริงๆ แล้ว ก็ไปในทิศทางของโลก ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน อยู่ 4 เรื่อง คือ
-พลังงาน
-อาหาร
-สิ่งแวดล้อม
-สังคมผู้สูงอายุ
ดังนั้น พลังงานเป็นหนึ่งในสี่ของเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องขับเคลื่อน ทั้งนี้ พลังงาน มีความเกี่ยวข้องกันในทุกๆ เรื่อง ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าในการผลักดันที่เน้นทั้งพลังงานหลัก จากฟอสซิล (ปัจจุบันมีทุนส่งเสริมการวิจัย ในลักษณะให้ระบบมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น) ประเทศไทย ก็เหมือนกับประเทศไทย ทิศทางทั่วโลกมองว่า อยากให้พลังงานฟอสซิล กับพลังงานหมุนเวียน มีสัดส่วนที่เท่าๆ กัน
แต่ภาวะในปัจจุบัน พลังงานฟอสซิลก็ทิ้งไม่ได้

ส่วนเรื่องของเทศโนโลยีโซลาเซลล์ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าต้นทุนต่อหน่วย ลดลงต่ำอย่างมาก จนสามารถแข่งขันกับฟอสซิลได้ หรืออย่างเช่น พลังงานจากลม ก็สามารถเข้าสู่เชิงพาณิชย์แล้ว ดังนั้น ก็เป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากพลังงานฟอสซิล แม้จะมีราคาจะถูกแต่ส่ิงที่ได้มาอีกอย่างหนึ่งคือ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากรัฐบาลเข้ามาช่วยสนับสนุน จะทำให้พลังงานหมุนเวียนจะมีโอกาสเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

นอกจากนี้ ในเรื่องของทุนวิจัยต่างๆ หน่วยงานต่างๆ ก็พยายามเข้ามาส่งเสริม ในการดัดแปลง ปรับปรุง อีกส่วนหนึ่งที่เป็นทุนการสนับสนุน คือ การจัดเก็บพลังงาน เช่น แบตเตอร์รี่สำหรับเก็บพลังงาน ซึ่งก็มีทุนวิจัยให้มากพอสมควร หรือแม้กระทั่ง ทุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ผศ.ดร.วิรชัย เสริมประเด็นคำถามต่อว่า “ประเด็นของสิ่งแวดล้อม ตัวของฟอสซิล เรื่องการคืนทุน /มูลค่าการบำบัดน้ำ อากาศ ฝุ่นละออง น้ำเสีย คือจริงๆ แล้ว เราเองก็ไม่ได้คิดเป็นตัวเลขที่ชัดเจน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดเพื่อให้ครอบคลุมในส่วนนี้อย่างไรบ้าง?”

ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ กล่าวว่า ทิศทางไม่ค่อยชัดเจนในนโยบายสำหรับการบุรณาการงานส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางการนำศาสตร์ด้านต่างๆ เข้ามาบูรณาการเพื่อศึกษาวิจัยเข้าด้วยกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ โซลาเซลล์ การใช้ในระยะยาว 5-10 ปี ก็ไม่มีผลงานวิจัยที่เป็นผลกระทบในระยะยาว เรื่องนี้ ก็สามารถนำมาวิจัยได้ การวิจัยที่แท้จริงควรจะมีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญของนักวิชาการ สุดท้ายการนำผลงานวิจัยจะเป็นสิ่งที่จะช่วยยกระดับผลงานวิชาการ

ผศ.ดร.วิรชัย เสริมในคำถามต่อว่า อาจารย์ก็ยังมั่นใจอย่างไรบ้างว่า รัฐบาล หรือผู้ให้ทุนการวิจัย จะเข้าใจกระบวนการวิจัย เมื่อไหร่การแปรเปลี่ยนไปตามงบประมาณในการศึกษาวิจัย จะส่งผลต่อความเชี่ยวชาญของนักวิจัย เราจะต้องทำอย่างไร ให้นักวิจัยมีเครือข่ายที่จะช่วยเกิดการวิจัยที่สร้างประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม มีทุนลักษณะนี้ไหม?

ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ กล่าวว่า ในประเทศเริ่มมี 2-3 ปีที่ผ่านมา จะเริ่มเห็นการวิจัยร่วมกันของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ผ่านทาง วช. แต่ก็มีประเด็นเช่นเดียวกัน คือ เมื่อขอทุนวิจัยไปแล้ว 2-3 ปี ปรากฎว่า ทุนที่ได้รับมาอาจจะไม่การันตีในระหว่างการวิจัย ทำให้ยังมีผลต่อการประเมินการวิจัยเป็นรายปี ในกระทรวง อว.​ ก็มีการปรับเปลี่ยนมุมมองการวิจัยเป็นแบบกองทุนฯ​ ทั้งนี้ ก็ยังมีการประเมินเป็นรายปีเช่นเดิม

===========================================
ดำเนินรายการโดย ปิยะพงษ์ เคนทวาย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรชัย โรยนรินทร์ ประธานที่ปรึกษาสมาคมพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

(ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม 2563)ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM 89.5 Mhz