มทร.สุวรรณภูมิ นอกจากการจัดการศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ยังส่งเสริมการให้บริการแก่ชุมชนสังคมบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยนำนวัตกรรมในถ่ายทอดสู่ชุมชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศโดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ การพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน และความทนทานของผลิตภัณฑ์กระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลด้านเกษตรอุตสาหกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะถูกนำมาใช้พัฒนาวิถีการทำการเกษตร การอำนวยความสะดวกให้กับชีวิต ของเกษตรกรยุคใหม่ (Smart Farmer) แทบทุกด้านนวัตกรรมเครื่องจักรกลเกษตร จึงมีบทบาทที่สำคัญ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรเลือกใช้งานและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น . ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ชัยยง ศิริพรมงคลชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เปิดเผยว่า เครื่องยนต์เล็กดีเซลเพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่เกษตรกรนิยมใช้ในการทำเกษตรกรรม โดยจะใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสามารถใช้เป็นเครื่องยนต์ต้นกำลังขับเคลื่อนยานพาหนะ รถไถนา เครื่องสูบน้ำ และประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม ปัจจุบันน้ำมันดีเซลมีราคาสูงขึ้น ...
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เดชา พลเสน คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มทร.สุวรรณภูมิ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) เป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Engine of Growth) ของประเทศ มีเป้าหมายการผลิตและการใช้ EV ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือกันระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองการผลิตในประเทศด้วย และนอกจากมหาวิทยาลัยได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาวิชาชีพ ภายใต้ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม โดยมีการจัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองนโยบายตามรัฐบาล ไทยแลนด์ ๔.๐ ซึ่งเป็นโมเดลพัฒนา เศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ Value – ...
ดร.สุธิษา เละเซ็น อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี ทำลงพื้นที่เกาะเกร็ดเพื่อทำงานวิจัย และทำการวิเคราะห์พฤกษเคมีของต้นหน่อกะลา หน่อกะลา ผักพื้นบ้านของเกาะเกร็ด หลายคนรู้จักในฐานะวัตถุดิบในการนำมาเป็นส่วนผสมของ ทอดมันหน่อกะลา อาหารขึ้นชื่อของหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดนนทบุรี และนอกจากนำมาทำอาหารได้แล้ว หน่อกะลาก็ยังมีประโยชน์มากมาย อาทิ มีสรรพคุณช่วยขับลม ใช้แก้อาการท้องอืด แน่นเฟ้อ จุกเสียด และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่สูงมาก การที่เป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ประจำเกาะเกร็ด และเป็นพืชอนุรักษ์ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องจากเป็นพืชประจำถิ่นของเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี . ทีมวิจัยได้มีการร่วมพูดคุยกับทางชุมชนเกาะเกร็ด แนะนำให้นำต้นหน่อกะลามาตากแห้งเพื่อทำเป็นชาสมุนไพร ถือเป็นการแปรรูปพืชพื้นบ้านให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดิม โดยได้มีการสร้างแบรนด์ในชื่อ “อัลพินิ” ซึ่งเป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ของต้นหน่อกะลา และได้มีการร่วมมือกับนักศึกษาสาขาออกแบบบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ออกแบบตัวบรรจุภัณฑ์เหมือนกาน้ำชา ...
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ร่วมกับ เทศบาลตำบลอรัญญิก ส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี ในโครงการสาธิตการจำลองกิจกรรมนักเล่าเรื่อง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ในช่วงโควิด ส่งเสริมรายได้และเศรษฐกิจให้กับชุมชน โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ร่วมกับ เทศบาลตำบลอรัญญิก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ร่วมกันบูรณาการและส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี ในโครงการสาธิตการจำลองกิจกรรมนักเล่าเรื่อง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ในช่วงโควิด โดยมีดร.ธารนี นวัสนธี ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ ดร.ธาริดา สกุลรัตน์ และ นายสุขุม คงดิษฐ์ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มทร.สุวรรณภูมิ ร่วมให้ความรู้และแนะนำเทคนิคการเตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาเที่ยวในชุมชน . ทั้งนี้ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ร่วมสำรวจและหาข้อมูลเพื่อสนับสนุน พัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้มีมูลค่า น่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยทาง มทร.สุวรรณภูมิ ต้องการส่งเสริมรายได้และเศรษฐกิจให้กับชุมชน ...
ผศ.ดร.ทัศนีย์ นลวชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เปิดเผยว่า ปัจจุบันการจ้างงานของเอกชนมีจำกัดและน้อยลง การทำงานในส่วนราชการก็หายากและอัตราการบรรจุน้อยการสร้างอาชีพอิสระและเป็นเจ้าของกิจการยุคนี้จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ซึ่งการศึกษานับได้ว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา และส่งผลให้นักศึกษาที่เรียนจบไปสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้นำไปพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ . ด้าน ดร.วิญญู บุญประเสริฐชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง กล่าวว่า ล่าสุดได้ส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพให้นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง ฝึกเป็นผู้ประกอบการส่งเสริมนักศึกษาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำปลายน้ำ โดยล่าสุดได้จัดกิจกรรมตลาดนัดชาวประมง (Fisheries Market) ให้นักศึกษานำผลงานมาจำหน่าย . ณัฐพล ดีอุต วิทยุราชมงคลธัญบุรี เรียบเรียง/รายงาน ...
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐ แก้วสกุล ผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา มทร.ธัญบุรี เข้าร่วมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำนักศึกษา “นวัตกรจิตอาสา เครือข่ายราชมงคล” จัดขึ้นโดย มทร.สุวรรณภูมิ ณ หอประชุมพระพิรุณ มทร.สุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา โดยจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 3-5 ก.พ.2565 มีผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จาก 8 แห่งทั่วประเทศ เข้าร่วม . สำหรับ “นวัตกรจิตอาสา เครือข่ายราชมงคล” เป็นการรวมตัวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ...
นายธีรพล ขุนเมือง กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ มทร.สุวรรณภูมิ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และระดมความคิด ความรู้ ความสามารถ วางแผนและพัฒนางานด้านการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ โดยมีคณะกรรมการจากภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก สื่อมวลชน และประชาสัมพันธ์จังหวัด ๓ จังหวัด เข้าประชุม ณ ห้องประชุมรับรองอธิการบดี ชั้น ๔ อาคารบูรณมงคล มทร.สุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา และประชุมออนไลน์ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านโปรแกรม Google Meet . ธนัชพร ปานเนาว์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ รายงาน ...
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพศาล บุรินทร์วัฒนา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีนโยบายคุณภาพ ในการปฏิบัติงานตามภาระกิจทุกด้านโดยใช้ระบบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาผ่านระบบเว็บไซต์กองส่งเสริมคุณภาพ และให้ถือเป็นหน้าที่ของทุกหน่วยงานในการพัฒนาระบบ ให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการภายในหน่วยงาน มีการวางระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เพื่อกำหนดแนวทาง กำหนดมาตรการการดำเนินงาน ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ดูแล ติดตามผลการดำเนินการประกันคุณภาพให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ นำผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรและคณะ ที่ผ่านการพิจารณาของกรรมการระดับสถาบันเสนอสภาสถาบันเพื่อพิจารณา และนำมาปรับปรุงและทำแผนพัฒนาให้มีคุณภาพดีขึ้น โดยมหาวิทยาลัยได้รายงานผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2563 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐานได้ระดับคะแนน 4.33 อยู่ในระดับดี จากเกณฑ์การประเมินเต็ม 5 คะแนน ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งแห่งความภาคภูมิใจ ของเราชาวราชมงคลสุวรรณภูมิ ทุกคน ท่ีมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ในการร่วมสร้างสรรค์ แต่สิ่งดีงาม ในแนวทางคุณธรรม พัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ . ธนัชพร ...
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาขวัญ ทองรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP โดยเครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัดปราจีนบุรี เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำน้ำสมุนไพรสูตรลดพิษ ชากระชายไมยราบยักษ์ และปลาส้ม ให้กับผู้ประกอบการกลุ่มแปรรูปอาหารในจังหวัดปราจีนบุรี ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting . ธนัชพร ปานเนาว์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ รายงาน ...
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาขวัญ ทองรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ(มทร.สุวรรณภูมิ) หัวหน้าโครงการหมู่บ้านวิถีวิทย์กุ้งองครักษ์ พร้อมทีมงานได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาสิ่งที่เกษตรกรประสบ คือ ปัญหาหนี้สิน จากการขาดทุนสะสม ต้นทุนการเลี้ยงสูงและได้รับราคากุ้งที่ไม่เป็นธรรม ด้วยการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมไปปรับใช้ในการเลี้ยงกุ้งให้โตเร็ว ปลอดโรค ลดต้นทุนการผลิต พร้อมกับการแปรรูปเพิ่มมูลค่ากุ้งที่มีขนาดเล็กและเสียหายระหว่างการเลี้ยง และการจำหน่าย โดยการแปรรูปเป็นน้ำพริกกุ้งเมืองเหน่อ น้ำพริกเผาผัดกุ้ง น้ำพริกกุ้งสมุนไพร . ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาขวัญ ทองรักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา เกษตรกรมีเงินหมุนเวียนในระบบการซื้อขายกุ้งของกลุ่มเพิ่มขึ้น มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกุ้ง มีแบรนด์สินค้า บรรจุภัณฑ์เหมาะสม สร้างรายได้เพิ่ม ลดหนี้สิน ทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขมากขึ้น ล่าสุดตนและทีมงานได้ลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ปรับปรุงผลิตภัณฑ์น้ำพริกนรกกุ้งและกุ้งอบกรอบสมุนไพรหรือแสน็คกุ้งกรอบ มีการปรับขนาดของบรรจุภัณฑ์ รสชาติ และชิ้นผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปวิเคราะห์ และขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ...